พายัพ ชินวัตร
พายัพ ชินวัตร | |
---|---|
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 9 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 200 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2554–2561, 2563–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
คู่สมรส | พอฤทัย ชินวัตร |
พายัพ ชินวัตร (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500) ผู้ดูแลภาคอีสานของพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้องชายของดร. ทักษิณ ชินวัตร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ประวัติ
[แก้]พายัพ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ที่ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรนายเลิศ นางยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่)[1] ด้านครอบครัวสมรสกับนางพอฤทัย ชินวัตร นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ[2] (สกุลเดิม: จันทรพันธ์) มีบุตร 4 คน คือ ฤภพ ชินวัตร, พิรุณ ชินวัตร, พอพงษ์ ชินวัตร และ พีรพัฒน์ ชินวัตร
การศึกษา
[แก้]สำเร็จชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (อุตสาหการ) จากมหาวิทยาลัยเท็กซัส อาร์ลิงตัน สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4414 (วปรอ. 4414) [3]
ธุรกิจ
[แก้]นายพายัพ เป็นผู้บริหาร บริษัท ชินวัตรไหมไทย จำกัด ดำรงตำแหน่งประธานบริษัท แต่ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ มีปัญหาขาดทุน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2544 เป็นเงินกว่า 600 ล้านบาท แต่หลังจากนั้น นายพายัพ กลับกลายเป็นนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ว่าจะลงทุนในหุ้นตัวไหน ราคาหุ้นตัวนั้นก็ขึ้นอย่างต่อเนื่อง [4] สร้างผลกำไรให้กับ สมาชิกพรรคไทยรักไทย ที่พากันซื้อหุ้นตามนายพายัพ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ นายพายัพยังสามารถขอเสนอลดหนี้บริษัทดังกล่าวจากสถาบันการเงิน เหลือเพียง ร้อยละ 5 จากยอดเงินกว่า 1,000 ล้านบาท แต่เจ้าหน้าที่ บสท.ไม่อนุมัติให้ตามที่นายพายัพเสนอ เพราะเกรงความผิดจากการสร้างความเสียหายแก่รัฐ[5]
การอุปสมบท
[แก้]พายัพ ชินวัตร ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ที่วัดป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยได้รับฉายาว่า "พระพายัพ เขมะคุโณ" ต่อมาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ให้เป็นพระฐานานุกรมในตำแหน่ง "พระครูปลัดสัมพิพัฒน์ญาณจารย์"[6] และเขาได้ลาสิกขาบทในวันที่ 11 มีนาคมของปีเดียวกัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สายโลหิตของเจ้านายฝ่ายเหนือที่เหลืออยู่
- ↑ ที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการและเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ
- ↑ www.thairath.co.th/people/view/pol/3932
- ↑ http://www.bangkokbizweek.com/20060201/cover/index.php?news=column_19788901.html
- ↑ http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000019327[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตั้ง"พระพายัพ"เป็นพระครูปลัดหลังบวช
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติจากเว็บไซต์ Thaiswatch.com[ลิงก์เสีย]
- บทสัมภาษณ์ จากเนชั่น สุดสัปดาห์ เก็บถาวร 2007-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.bangkokbizweek.com/20060603/cover/index.php?news=column_20776903.html
- http://www.pnac-2001.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=142059&Ntype=2 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9480000101352 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสันกำแพง
- สกุลชินวัตร
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อธรรม
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.