อำนวย คลังผา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำนวย คลังผา
ไฟล์:อำนวย คลังผา.jpg
ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2556 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าอุดมเดช รัตนเสถียร
ถัดไปวิรัช รัตนเศรษฐ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลพบุรี เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
พรรคการเมืองภูมิใจไทย
คู่สมรสละมัย คลังผา

อำนวย คลังผา (เกิด 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488) นักการเมืองชาวไทย ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวิปรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลพบุรี เขต 3 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ เคยสังกัดพรรคเพื่อไทย[1]

ประวัติ[แก้]

อำนวย คลังผา เกิดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายฉ่าง และนางเงิน คลังผา มีพี่น้อง 6 คน สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ศิลปศาสตรบัณฑิต และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก สมรสกับนางละมัย มีบุตร 4 คน

งานการเมือง[แก้]

ปี พ.ศ. 2539 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2544 ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่สองและสาม

พ.ศ. 2550 ลงสมัครในนามพรรคพลังประชาชน และพ.ศ. 2554 ในนามพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง

อนึ่ง นายอำนวยเคยเป็นเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายมารวย ผดุงสิทธิ์), เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี) และเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์)

ใน วันที่ 26 พ.ย. พ.ศ. 2561 อำนวย คลังผา ได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ

ภายหลังจากการแพ้เลือกตั้งปี 2562 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 อำนวย คลังผา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2]

ในการเลือกตั้งปีพ.ศ. 2566 ตนได้ส่งบุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

อำนวย คลังผา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคพลังประชาชน
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรี สังกัด พรรคพลังประชารัฐ ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU9EUTBORFU1Tnc9PQ==&sectionid=
  2. เลือกตั้งคราวหน้า ส่งลูกชาย นรินทร์ คลังผา นายก อบต.วังเพลิง ลงสนามพรรคภูมิใจไทย ทวงแชมป์คืน[1]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]