เรวัต สิรินุกุล
เรวัต สิรินุกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
เสียชีวิต | 26 กันยายน พ.ศ. 2564 (85 ปี) อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี |
พรรคการเมือง | เสรีรวมไทย (2561–2564) |
เรวัต สิรินุกุล (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 – 26 กันยายน พ.ศ. 2564) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 9 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
ประวัติ
[แก้]นายเรวัต สิรินุกุล (ชื่อเดิม : เรวัต ศิริศิลวัตนุกุล) เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของนายเองเฮา และนางกิมเฮง สิรินุกุล สำเร็จการศึกษาพาณิชยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เรวัต เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564 หลังเข้ารับการรักษาอาการติดเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลมะการักษ์ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี สิริอายุได้ 85 ปี
งานการเมือง
[แก้]อดีตเคยเป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ สาขาท่าเรือ[1] ก่อนที่จะลงรับสมัครเลือกตั้งและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 ในสังกัดพรรคกิจสังคม จนได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2550 รวม 10 สมัยในสังกัดพรรคต่างๆ อาทิ พรรคกิจประชาคม พรรคชาติไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนตามลำดับ [2] เขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคกิจประชาคม ในปี พ.ศ. 2529[3]
เรวัต ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 114 สังกัดพรรคเพื่อไทย เมื่อ พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]เรวัต สิรินุกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 10 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคกิจประชาคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน กลุ่มจังหวัดที่ 7 สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) (เลื่อนแทน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2528. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2528
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2479
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครสวรรค์
- บุคคลจากอำเภอท่ามะกา
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการธนาคารชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดนครสวรรค์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- พรรคกิจสังคม
- พรรคกิจประชาคม
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคเสรีรวมไทย
- บุคคลจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศไทย