สุรชาติ ชำนาญศิลป์
สุรชาติ ชำนาญศิลป์ เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 6 สมัย และเคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ประวัติ[แก้]
สุรชาติ ชำนาญศิลป์ หรือกำนันหนวดหิน เป็นชาวจังหวัดชัยนาท แต่มาทำงานที่จังหวัดอุดรธานี จึงอาศัยอยู่ที่อุดรธานี[1] จนได้เป็นกำนันในตำบลนายูง[2] สุรชาติ เกิดเมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 จบการศึกษา วท.บ. (เทคโนโลยีการเกษตร) จากวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร[3] และ รัฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[4]
การทำงาน[แก้]
สุรชาติ ชำนาญศิลป์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานีครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเว้นวรรคไปในช่วงการเมืองปี 2535
สุรชาติ กลับมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 รวมทั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในนามพรรคเสรีธรรม ซึ่งต่อมาพรรคเสรีธรรมยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ในปี 2544 เขาจึงได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กระทั่งมีการยุบพรรคไทยรักไทย
หลังการยุบพรรคไทยรักไทย เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อแผ่นดิน นำโดย สุวิทย์ คุณกิตติ และนายสุรชาติ ได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค แต่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่แพ้ให้กับเทียบจุฑา ขาวขำ จากพรรคเพื่อไทย กระทั่งในปี 2555 เขาจึงตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2555 แข่งขันกับ วิเชียร ขาวขำ ซึ่งสนับสนุนโดยพรรคเพื่อไทย ในขณะที่เขาเองก็ยังเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยอยู่ด้วย[5] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
สุรชาติ ชำนาญศิลป์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคปอด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2543 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ “สุรชาติ ชำนาญศิลป์”โรคปอดคร่า ปิดตำนาน ส.ส.ดังเมืองอุดรฯ-กำนันหนวดหิน7สมัย
- ↑ นักอนุรักษ์น้ำตกยูงทอง จ.อุดรธานี
- ↑ 3.0 3.1 โรคปอดคร่าชีวิต สุรชาติ ชำนาญศิลป์
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2548
- ↑ กำนัน “สุรชาติ” ลงสมัครชิงนายก อบจ.อุดรฯ คนสุดท้าย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- บุคคลจากจังหวัดชัยนาท
- บุคคลจากจังหวัดอุดรธานี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี
- พรรคกิจสังคม
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคเพื่อแผ่นดิน
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.