อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
อดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 (88 ปี) จังหวัดอุบลราชธานี |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย พลังประชารัฐ |
คู่สมรส | เกศสุดา โภคกุลกานนท์ |
นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานีหลายสมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
ประวัติ[แก้]
นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายลิบคือ กับนางพวง แซ่ก๊วย[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
การทำงาน[แก้]
นายอดิศักดิ์ เคยเป็นกำนันตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องมาหลายสมัย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย[2] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย นอกจากนั้นนายอดิศักดิ์ ยังเคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2548
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 95[3]
กระทั่ง พ.ศ. 2561 นายอดิศักดิ์ได้ย้ายมาร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับนาย สุพล ฟองงาม อดีตเลขาธิการ พรรคเพื่อไทย และนาย เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ผู้เป็นบุตรชายของนายอดิศักดิ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2538 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2474
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบสัดส่วน
- พรรคชาติไทย
- พรรคกิจสังคม
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.