ข้ามไปเนื้อหา

ธานี ยี่สาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธานี ยี่สาร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าพิเชษฐ์ สถิรชวาล
ถัดไปอภิชาติ สุภาแพ่ง
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 27 กันยายน พ.ศ. 2539
ก่อนหน้าภิมุข อังกินันทน์
ถัดไปพิเชษฐ์ สถิรชวาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 กันยายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย
คู่สมรสทัศนาวดี ยี่สาร

ธานี ยี่สาร (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2497) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี เคยเป็นแกนนำกลุ่ม 16[1] และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (บ้านเลขที่ 111)

ประวัติ

[แก้]

ธานี ยี่สาร เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายพิน กับนางเฉลา ยี่สาร เขาเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนท่ายางประชาสรรค์ ชั้นมัธยมที่โรงเรียนอรุณประดิษฐ จนได้เรียนต่อปริญญาตรีทางด้านรัฐศาสตร์ และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ธานี ยี่สาร สมรสกับนางทัศนาวดี ยี่สาร (สกุลเดิม บริสุทธิ์) ไม่มีบุตร[2]

การทำงาน

[แก้]

ธานี ยี่สาร เริ่มทำงานการเมืองท้องถิ่นในปี 2523 โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) จนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 เขาจึงได้เข้าร่วมกับพรรคสามัคคีธรรม โดยการชักชวนของพลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล[2] และได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมัยแรก

จากนั้นเขาจึงได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา และรวมกลุ่ม ส.ส.เป็นกลุ่ม 16 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 และย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 แต่ในปี 2539 เขาตัดสินใจไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหลีกทางให้กับ พิเชษฐ สถิรชวาล ซึ่งเคยเป็นผู้สมัครพรรคเดียวกันแต่สอบตกในครั้งก่อน[2]

ธานี ยี่สาร เข้าร่วมงานการเมืองอีกครั้งในปี 2544 กับพรรคไทยรักไทย และเป็นกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีก 2 สมัย คือ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548[3] จนกระทั่งเกิดการรัฐประการในปี 2549 และยุบพรรคไทยรักไทย

ธานี ยี่สาร เป็นนักการเมืองมากบารมีคนหนึ่ง เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (สมพงษ์ อมรวิวัฒน์) เลขานุการรัฐมนตรีฯ (สรอรรถ กลิ่นประทุม)[2]

หลังถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เขาก็ยังมีบทบาทในการจัดวางตัวผู้สมัคร ส.ส.ให้กับพรรคเพื่อไทย[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เปิดตำนานกลุ่ม 16 เช็คชื่อใครเป็นใคร? - มติชนออนไลน์
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 นักการเมืองถิ่นจังหวัดเพชรบุรี
  3. สิ้นยุค "เดอะแป๋ง" "อังกินันทน์" ต้องไปต่อ?
  4. ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.2 พรรคใหญ่เมืองเพชรเริ่มออกหาเสียง
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔