วิชิต ปลั่งศรีสกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิชิต ปลั่งศรีสกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พรรคการเมือง

วิชิต ปลั่งศรีสกุล (เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494) ประธานยุทธศาสตร์พรรคเศรษฐกิจไทย รองหัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย อดีตรองประธานคณะอนุกรรมมาธิการฝ่ายค้าน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะทำงานของพรรคไทยรักไทย และเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง และทีมกฎหมายของพรรคไทยรักไทย และทนายความของ ทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นเลขาธิการมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย[1] และที่ปรึกษากฎหมายพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

วิชิต ปลั่งศรีสกุล เกิดวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม

งานการเมือง[แก้]

วิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค ในปี พ.ศ. 2548 เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง เช่น กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, เลขานุการคณะทำงานด้านกฎหมาย พรรคไทยรักไทย, กรรมาธิการการแรงงาน, ประธานอนุกรรมการวิปรัฐบาล ด้านกฎหมายอาญา, กรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค, ประธานอนุกรรมาธิการการแรงงาน ด้านกฎหมายแรงงาน, ประธานอนุกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, ผู้อำนวยการโครงการอาสาสมัครที่ปรึกษากฎหมายประจำเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย, เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล), ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) และประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร สภาผู้แทนราษฎร

วิชิต ปลั่งศรีสกุล ได้ทำกิจกรรมในด้านการสาธารณะกุศล และการอบรมให้ความรู้ประชาธิปไตยแก่บุคคลทั่วไปทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดโดยร่วมงานกับคณะผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตยของมูลนิธิ 111 ไทยรักไทย เคยเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ร่วมกับ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ที่เวทีสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 วิชิต ปลั่งศรีสกุลได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 79[2]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยและย้ายมาสังกัดพรรคเศรษฐกิจไทย[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้ง “มูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย”
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  3. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ฮือฮา! เศรษฐกิจไทยขนดาราลงส.ส. เปิดตัว'เมธี 'อดีตดาราแดงฮาร์ดคอร์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]