สมศักดิ์ พันธ์เกษม
สมศักดิ์ พันธ์เกษม | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2501 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2565—ปัจจุบัน) |
สมศักดิ์ พันธ์เกษม (เกิด 31 ธันวาคม พ.ศ. 2501) เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร สถาบันการเงินและตลาดการเงินในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[1] ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาครั้งแรกในปี 2538 ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ
[แก้]สมศักดิ์ พันธ์เกษม หรือ เสี่ยเบี้ยว เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2501 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา จบชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[2]
การทำงาน
[แก้]สมศักดิ์ พันธ์เกษม เป็นนักการเมืองชาวนครราชสีมา เข้าสู่งานการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ในการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก
ต่อมาได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคชาติพัฒนาเช่นเดิม จนกระทั่งมีการยุบพรรคไปรวมกับพรรคไทยรักไทย. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เขาจึงลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 4 ในนามพรรคไทยรักไทย
สมศักดิ์ ว่างเว้นจากงานการเมือง โดยในปี 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่แพ้ให้กับประนอม โพธิ์คำ[3] จนกระทั่งในปี 2562 จึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 5
เขาได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร สถาบันการเงินและตลาดการเงิน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25[4]
ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เขาเข้าร่วมกับพรรคภูมิใจไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]สมศักดิ์ พันธ์เกษม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535) → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมศักดิ์ พันธ์เกษม สส.พปชร. นำทีมให้ความรู้ประชาชนแก้ปัญหาแหล่งทุน
- ↑ “สมศักดิ์ พันธ์เกษม” หนังหน้าไฟเจอพิษ “88การ์มองเต้”
- ↑ จี้สอบทุจริตเลือกตั้งโคราชเขต12
- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- พรรคพลังประชารัฐ
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา
- บุคคลจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.