ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดสระบุรี

พิกัด: 14°32′N 100°53′E / 14.53°N 100.88°E / 14.53; 100.88
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สระบุรี)
จังหวัดสระบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Saraburi
(ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย) วัดพระพุทธบาท สัญลักษณ์ประจำจังหวัด, สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย สถานีรถไฟหลักของจังหวัด, กะหรี่ปั๊บ ของดีประจำจังหวัด, ถนนมิตรภาพบริเวณมวกเหล็ก, ย่านการค้าเก่ามวกเหล็ก, น้ำตกเจ็ดสาวน้อย
คำขวัญ: 
พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว
หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม
เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสระบุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสระบุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสระบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ บัญชา เชาวรินทร์[1]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด3,576.486 ตร.กม. (1,380.889 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 56
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[3]
 • ทั้งหมด638,826 คน
 • อันดับอันดับที่ 39
 • ความหนาแน่น178.62 คน/ตร.กม. (462.6 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 17
รหัส ISO 3166TH-19
ชื่อไทยอื่น ๆหระรี, ปากเพรียว, เมืองเพรียว
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ตะแบกนา
 • ดอกไม้สุพรรณิการ์
 • สัตว์น้ำปูน้ำตกสระบุรี
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี เลขที่ 123 หมู่ที่ 6 ตำบลตะกุด อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
เว็บไซต์http://www.saraburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สระบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย

สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม

ประวัติศาสตร์

[แก้]

สระบุรีเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งแต่โบราณ สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2092 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ การตั้งเมืองนี้สันนิษฐานว่า พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเขตพื้นที่บางส่วนของเมืองลพบุรี เมืองนครนายก และเมืองนครราชสีมา มารวมกันตั้งขึ้นเป็นเมืองสระบุรี ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นศูนย์ระดมพลเมืองในยามศึกสงคราม เพราะฉะนั้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา จึงมักพบเรื่องราวของจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับการศึกสงครามอยู่เสมอ

ชื่อจังหวัด

[แก้]

สำหรับที่มาของคำว่า "สระบุรี" สันนิษฐานว่า เพราะเหตุที่ทำเลที่ตั้งครั้งแรกมีบึงอยู่ใกล้ คือ "บึงหนองโง้ง" เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงได้นำเอาคำว่า "สระ" มารวมเข้ากันกับคำว่า "บุรี" เป็นชื่อเมือง "สระบุรี"

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะ ดังนี้ ตอนเหนือ ตะวันออก และตอนกลางของจังหวัดเป็นป่ามีเนินเขาสลับที่ราบสูง ซึ่งเหมาะในการปลูกพืชไร่ ตอนใต้และตะวันตกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเหมาะในการทำนา แม่น้ำที่สำคัญมีเพียงสายเดียว คือ แม่น้ำป่าสัก ซึ่งนับว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัดสระบุรี โดยอาศัยน้ำใช้ในการเกษตร และประโยชน์อย่างอื่น แม่น้ำป่าสักไหลผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเสาไห้ ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คิดเป็นความยาวประมาณ 105 กิโลเมตร นอกจากนั้นสระบุรียังมีคลองที่สำคัญ ๆ หลายสาย เช่น คลองรพีพัฒน์ คลองเริงราง คลองวิหารแดง และคลองเพรียว เป็นต้น

ภูมิอากาศ

[แก้]

สภาพโดยทั่วไปมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และยังได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันและพายุไต้ฝุ่นอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 28.3 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละประมาณ 1147.6 มิลลิเมตร มีฤดูต่าง ๆ 3 ฤดูคือ

  1. ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง
  2. ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม อากาศจะชุ่มชื้นในเดือนกันยายน
  3. ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวเย็นสลับกับอากาศร้อน

อุทยานแห่งชาติ

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]
ธงประจำจังหวัดสระบุรี พื้นธงแถบสี แดง-ขาว-แดง ยาวเท่ากันทุกแถบ ตรากลางเป็นตราประจำจังหวัดสระบุรี

การเมืองการปกครอง

[แก้]

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดสระบุรี

การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 111 ตำบล 965 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

จังหวัดสระบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนทั้งสิ้น 109 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี, เทศบาลเมือง 4 แห่ง, เทศบาลตำบล 34 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 71 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามพื้นที่ดังนี้

ประชากร

[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดสระบุรี
ปีประชากร±%
2553 617,384—    
2554 620,454+0.5%
2555 625,689+0.8%
2556 629,261+0.6%
2557 633,460+0.7%
2558 637,673+0.7%
2559 640,065+0.4%
2560 642,040+0.3%
2561 645,024+0.5%
2562 645,911+0.1%
2563 643,828−0.3%
2564 643,963+0.0%
2565 638,582−0.8%
2566 638,826+0.0%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

การศึกษา

[แก้]
ระดับอุดมศึกษา

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
น้ำตกเจ็ดสาวน้อย อำเภอมวกเหล็ก

การขนส่ง

[แก้]

เส้นทางคมนาคมทางถนนที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี คือ

จากกรุงเทพมหานครมีรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศของ บริษัท ขนส่ง จำกัด ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 วันละ 28 เที่ยว

ส่วนการขนส่งทางราง จากสถานีรถไฟกรุงเทพ มีบริการเดินรถไฟไปจังหวัดสระบุรีทุกวัน วันละหลายขบวน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง และบางขบวนยังสามารถแวะลงได้ที่สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย และสถานีรถไฟมวกเหล็กได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมีทางรถไฟสายเหนือผ่านที่อำเภอบ้านหมอและอำเภอหนองโดนด้วยอีกเช่นกัน

บุคคลที่มีชื่อเสียง

[แก้]
ด้านศาสนา
ด้านวงการบันเทิง
ด้านกีฬา
ด้านการเมือง

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอนพิเศษ 245 ง หน้า 4 วันที่ 2 ตุลาคม 2566
  2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  3. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ พ.ศ. 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf 2566. สืบค้น 30 มีนาคม 2567.
  4. "สถานที่ตั้งสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°32′N 100°53′E / 14.53°N 100.88°E / 14.53; 100.88