ชยุต ภุมมะกาญจนะ
ชยุต ภุมมะกาญจนะ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | วรวุฒิ ภุมมะกาญจนะ[1] 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย |
ชยุต ภุมมะกาญจนะ (เกิด 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506) เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[2]
ประวัติ
[แก้]ชยุต ภุมมะกาญจนะ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของ สมาน ภุมมะกาญจนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กับนางจิตรา ภุมมะกาญจนะ (นามสกุลเดิม: ภาวสิน) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การบริหารงานบุคคล) จากมหาวิทยาลัยเกริก และปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหารงานบุคคล) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงาน
[แก้]ชยุต ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ทั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในนามพรรคไทยรักไทย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ในนามพรรคพลังประชาชน หลังจากนั้นได้ย้ายมาสังกัดพรรคกิจสังคม ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค โดยมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตหัวหน้าพรรคได้นำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลับมาฟื้นฟูพรรคกิจสังคมอีกครั้ง โดยนายสุวิทย์ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค[3] และเข้าร่วมฝ่ายรัฐบาลซึ่งสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมา ชยุต ได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[4] และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่อง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคภูมิใจไทย[5]
และต่อมาในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจําสำนักนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล) ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2567
สภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ชยุต ภุมมะกาญจนะ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคพลังประชาชน --> พรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “ชวน” ลุยถิ่น ทรท.เก่าปราจีนบุรี - จวก “ระบอบแม้ว” สร้างปัญหาให้ประเทศ
- ↑ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ "สุวิทย์ โผล่นั่งประธานที่ปรึกษาพรรคกิจสังคม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2021-04-04.
- ↑ ชาติไทยพัฒนา ส่ง“ชยุต ภุมมะกาญจนะ” อดีต ส.ส.กิจสังคม รักษาฐานปราจีนบุรี
- ↑ เปิดโฉมหน้า !! ว่าที่ ส.ส.ปราจีนบุรี ชนะยกทีม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดปราจีนบุรี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.