นิรันดร์ นาเมืองรักษ์
นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ | |
---|---|
![]() | |
ผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กันยายน พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2552 | |
ถัดไป | ปลอดประสพ สุรัสวดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มีนาคม พ.ศ. 2492 (70 ปี) จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | มะลิวัลย์ นาเมืองรักษ์ |
ศาสนา | พุทธ |
นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย
ประวัติ[แก้]
นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ สมรสกับมะลิวัลย์ นาเมืองรักษ์ มีบุตร 3 คน คือ หนึ่งฤทัย นันทภรณ์ และนรากร นาเมืองรักษ์[2]
งานการเมือง[แก้]
นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ในสังกัดพรรคกิจสังคม แต่ในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[3] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้กลับเข้ามาสู่งานการเมืองอีกครั้ง กระทั่งเมื่อมีการยุบพรรคความหวังใหม่เข้ารวมกับพรรคไทยรักไทย จึงได้ลงสมัครในสังกัดในนามพรรคไทยรักไทย ต่อมาได้ย้ายเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย อันเนื่องมาจากการยุบพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน แต่การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคเพื่อแผ่นดิน รวมถึงการเลือกตั้งซ่อมในเวลาต่อมาอีกด้วย[4]
นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเป็นประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2544 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประวัติบุคคลสำคัญหรือที่น่าสนใจเว็บไซต์ เสลภูมิ
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ได้รับเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดร้อยเอ็ด
- ↑ รัชนี เพื่อแผ่นดินคว้าชัยเลือกตั้งซ่อมร้อยเอ็ด
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกีรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นสายสะพาย ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2492
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดร้อยเอ็ด
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
- พรรคกิจสังคม
- พรรคชาติไทย
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.