วิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มีนาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ

วิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 5 สมัย ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ

ประวัติ[แก้]

วิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2494 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) จากประเทศฟิลิปปินส์ ระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) จากสหรัฐอเมริกา

วิทยา เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอยู่ในกลุ่ม 10 มกรา[1] ต่อมาได้ย้ายออกจากพรรคประชาธิปัตย์พร้อมกับสมาชิกในกลุ่ม 10 มกรา และจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อ พรรคประชาชน[2] แต่เขาไม่ได้รับเลือกตั้งในครั้งใน กระทั่งได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ในนามพรรคความหวังใหม่ ต่อมาพรรความหวังใหม่ยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย ในนามกลุ่มวังน้ำเย็น นายวิทยาจึงได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 4 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 นายวิทยาย้ายไปลงสมัครในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครในนามพรรคเสียงประชาชน[3] แต่การเลือกตั้งเป็นโฆษะ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครในนามพรรคพลังท้องถิ่นไท[4][5] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. บทเรียนสอนไม่จำ 32ปี กลุ่ม "10 มกรา" คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  3. http://www.khonthai.com/Election/ss24/Gen_Gen/46_xx.htm[ลิงก์เสีย]
  4. “ฟิลม์ รัฐภูมิ”นั่งรองโฆษกพลังท้องถิ่นไท
  5. ‘เกรียงไกร-วิทยา’รุกหนัก เร่งเครื่องหาเสียงโค้งสุดท้าย นำ‘พทท.’ทวงเก้าอี้กาฬสินธุ์
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๑, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๔