กิตติกร โล่ห์สุนทร
กิตติกร โล่ห์สุนทร | |
---|---|
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | พัชรียา โล่ห์สุนทร |
กิตติกร โล่ห์สุนทร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (ประจำนายสมศักดิ์ เทพสุทิน) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตประธานคณะกรรมาธิการการพลังงานในสภาผู้แทนราษฎร[1] สมาชิกบ้านเลขที่ 109 และเป็นบุตรชายของไพโรจน์ โล่ห์สุนทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ประวัติ
[แก้]กิตติกร โล่ห์สุนทร ชื่อเล่น กร[2] เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร กับนางรำไพ โล่ห์สุนทร มีพี่น้องรวม 5 คน คือ ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร กิตติกร โล่ห์สุนทร ศรินทร โล่ห์สุนทร ณฐาพร โล่ห์สุนทร และนายธนาธร โล่ห์สุนทร[3] จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมอุตสาหการ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2534 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาจนสำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (MBA) จาก Drake University และปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก Iowa State University
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับพัชรียา (สกุลเดิม: อภินันท์รัตนกุล) เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554
การทำงาน
[แก้]หลังจากจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เขาได้ทำงานเป็นวิศวกร ประจำบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ เวนเจอร์ อินเตอร์เนชันแนล (SVI) จากนั้นได้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2538 ได้กลับมาทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจประจำการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้เข้าทำงานประจำในโครงการท่อส่งก๊าซฯ และโรงแยกก๊าซไทย–มาเลเซีย กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 จึงได้ลาออกมาทำงานการเมือง
นายกิตติกร เข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง สังกัดพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของนายจินดา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยการสนับสนุนของนายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร และนายบุญชู ตรีทอง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ ""กิตติกร โล่ห์สุนทร" ดาวดวงใหม่จากลำปาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-03-12.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2512
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองลำปาง
- สกุลโล่ห์สุนทร
- วิศวกรชาวไทย
- พนักงานรัฐวิสาหกิจชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดลำปาง
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.