ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 (57 ปี) อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
ศาสนา | พุทธ |
ชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ หรือชื่อที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า ชูวิทย์ กุ่ย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขต 7 สังกัดพรรคเพื่อไทย เจ้าของธุรกิจสวนเสือตระการ[1] ประธานสโมสรฟุตบอลอุบล ไทเกอร์ และเขาเป็นอดีตแกนนำกลุ่มชักธงรบของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ในจังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติ[แก้]
นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี[2] บิดาชื่อ นายคิมหมง แซ่เต็ง ส่วนมารดาชื่อ นางเสี่ยมเค็ง แซ่เต็ง จบการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ กรุงเทพมหานคร ระดับชั้นประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สูง) วิชาเอกอุตสาหกรรมศิลป์ จากวิทยาลัยครูอุบลราชธานี ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
การทำงาน[แก้]
เขาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว เรื่อยมากระทั่งในปี พ.ศ. 2538 จึงได้หันเข้ามาสู่งานการเมืองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และในปี พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย (ตามลำดับ)
เขาเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง ได้แก่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (เสนาะ เทียนทอง) ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ชูชีพ หาญสวัสดิ์) รองประธานกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ทำหน้าที่เลขานุการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) และในปี พ.ศ. 2545 เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
ต่อมา เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกหมายเรียกเนื่องจากอาจมีส่วนรู้เห็นกับการเผาศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเป็นแกนนำของกลุ่มร่วมกับสุพล ฟองงาม แต่ท้ายที่สุดก็ได้มีการตัดสินคดีลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมาย[3] โดยมิได้เกี่ยวข้องกับเขาแต่อย่างใด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋ว
- บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี