ประเสริฐ บุญเรือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเสริฐ บุญเรือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กาฬสินธุ์ เขต 6
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544
(23 ปี 82 วัน)
คะแนนเสียง44,002 (49.55%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสบุญหนา บุญเรือง

นายประเสริฐ บุญเรือง (เกิด 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) ประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 6 สมัย

ประวัติ[แก้]

ประเสริฐ บุญเรือง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายคำพอ และนางจันใด บุญเรือง มีพี่น้อง 5 คน จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประเสริฐสมรสกับนางบุญหนา บุญเรือง ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกาฬสินธุ์ มีบุตรี 2 คน ได้แก่ นางสาววิภาวี บุญเรือง นายกเทศมนตรีตําบลกุดสิม และ นางสาวสัตบุษย์ บุญเรือง เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

งานการเมือง[แก้]

อดีตเคบเป็นกำนันตำบลกุดสิมคุ้มใหม่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2544 ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 6 สมัย

ในปี พ.ศ. 2555 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร แทนนายประเสริฐ จันทรรวงทอง ที่ลาออกเพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ประเสริฐ บุญเรือง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่พรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]