สมชัย อัศวชัยโสภณ
สมชัย อัศวชัยโสภณ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2491 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | กรชวัล อัศวชัยโสภณ |
สมชัย อัศวชัยโสภณ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา 2 สมัย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 สังกัดพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเกรียง กัลป์ตินันท์)
ประวัติ
[แก้]สมชัย อัศวชัยโสภณ หรือ เฮียเน้า[1] เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา เขาสมรสกับ นาง กรชวัล อัศวชัยโสภณ มีบุตรได้แก่ พงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
สมชัย อัศวชัยโสภณ จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต รัฐศาสตร์ (การปกครอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และศิลปศาสตรบัณฑิต จากสถาบันราชภัฏราชนครินทร์ รวมทั้งปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะ) จากสถาบันราชภัฎสวนดุสิต
การทำงาน
[แก้]สมชัย อัศวชัยโสภณ เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทราครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชาชน คู่กับ อิทธิ ศิริลัทธยากร แต่ได้รับคะแนนมาเป็นลำดับที่ 3 ได้ 49,940 คะแนน น้อยกว่าพิเชษฐ์ ตันเจริญ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน และนายอิทธิ จากพรรคเดียวกัน ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ก็ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย และเอาชนะนายณัฐพล ตันเจริญ จากพรรคภูมิใจไทยไปได้ และเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24
ในปี 2562 นายสมชัย ลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดฉะเชิงเทรา เขตเลือกตั้งที่ 2 ในระหว่างการเลือกตั้งเกิดกรณีการโจมตีทางสังคมออนไลน์ จนกระทั่งเจ้าตัวต้องออกมาแถลงข่าวยืนยัน[2] แต่ท้ายที่สุดผลการเลือกตั้งเขาแพ้ให้กับ ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ จากพรรคพลังประชารัฐ
นายสมชัย เป็นนักการเมืองที่มีความใกล้ชิดกับยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยเมื่อปี 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยเดินทางไปร่วมงานเลี้ยงวันเกิดของนายสมชัยที่บ้านพักในอำเภอพนมสารคาม[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฉลองสังสรรค์ ‘72 ปี เฮียเน้า’ สมชัย อัศวชัยโสภณ อดีต ส.ส.และนายก อบจ.ฉะเชิงเทรา
- ↑ ดิ้นสู้กระแส ผู้สมัครเพื่อไทยตั้งโต๊ะแถลงหลังถูกสงครามโซเชียลโจมตี
- ↑ นายกฯปู เยี่ยมบ้าน เฮียเน้า ส.ส.คนดังแห่งพนมสารคาม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอพนมสารคาม
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย