ข้ามไปเนื้อหา

สุวัฒน์ วรรณศิริกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุวัฒน์ วรรณศิริกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
เสียชีวิต31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (78 ปี)
พรรคการเมืองประชากรไทย (2522–2543)
ไทยรักไทย (2543–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
คู่สมรสมะลิ วรรณศิริกุล

สุวัฒน์ วรรณศิริกุล (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555) อดีตรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน อดีตประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานภาคกรุงเทพมหานคร พรรคพลังประชาชน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครหลายสมัย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 ในสังกัดพรรคประชากรไทย และสังกัดพรรคพลังประชาชน เป็นพรรคสุดท้าย

ประวัติ

[แก้]

นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ที่บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ปากคลองบางปะแก้ว จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันเป็น แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรของนายสมหวัง และนางทองอยู่ วรรณศิริกุล มีพี่น้อง 8 คน

นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล สำเร็จการศึกษาจากอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามคำแหง และประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า

สมรสกับนางมะลิ วรรณศิริกุล (นามสกุลเดิม:จ่างตระกูล-ถึงแก่กรรม 3 มกราคม พ.ศ. 2538) อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 2528-2532 กลุ่มพัฒนาราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ มีบุตรธิดา 7 คน คือ

  1. นางสาวนพสรัญ วรรณศิริกุล อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย พ.ศ. 2554 เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2554-2557
  2. นางสุวิชชา วิเศษศิริ
  3. นางอลิสา วรรณศิริกุล
  4. นายสุเมธี วรรณศิริกุล อดีตสมาชิกสภาเขตเขตราษฎร์บูรณะ ประชากรไทย พ.ศ. 2537-2541 อดีตผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตราษฎร์บูรณะ เพื่อไทย พ.ศ. 2553
  5. นางสุรัตนา วรรณศิริกุล
  6. นายสุวรวิทย์ วรรณศิริกุล อดีตสมาชิกสภาเขตเขตทุ่งครุ พ.ศ. 2545-2548 พรรคไทยรักไทย อดีตผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตทุ่งครุ เพื่อไทย พ.ศ. 2553
  7. นางสาวสุพัตรา วรรณศิริกุล

งานการเมือง

[แก้]

นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล อดีตดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ จังหวัดธนบุรี ต่อมาเป็นแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร โดยดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเป็นเวลา 27 ปี เป็นที่รู้จักทั่วไปอย่างกว้างขวางในนามของผู้ใหญ่เล็ก ได้รับรางวัลผู้ใหญ่บ้านดีเด่นแหนบทองคำ กระทรวงมหาดไทย และต่อมาได้เป็นกำนันแขวงบางปะกอกในระยะสั้น จึงเลื่อนขึ้นมาลงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล เริ่มต้นสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งในสังกัดพรรคพลังประชาชน และดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ประธาน ส.ส. ภาคกรุงเทพมหานคร และประธาน ส.ส. พรรคพลังประชาชน กระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ในยุบพรรคพลังประชาชน พร้อมกับบ้านเลขที่ 109

อนึ่ง นายสุวัฒน์เคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา และผู้ช่วยเลขารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2529, 2531) ประธานคณะกรรมาธิการการสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2538) ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข (พ.ศ. 2544) และประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง (พ.ศ. 2550)

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

สุวัฒน์ วรรณศิริกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวม 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชากรไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'สภา'เปิด ประชุมนัดพิเศษทันที". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]