ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดสุรินทร์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544
(23 ปี 83 วัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 เมษายน พ.ศ. 2504
จังหวัดพัทลุง
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2544-2550)
เพื่อไทย (2554-ปัจจุบัน)

ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[1] หรือชื่อเดิม มานิตย์ สังข์พุ่ม (เกิด 26 เมษายน พ.ศ. 2504) ชาวจังหวัดพัทลุงโดยกำเนิด ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่จังหวัดสุรินทร์เมื่อปี พ.ศ.2529 เพื่อเรียนหนังสือเรียนมหาวิทยาลัย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์[2] สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐมนตรีเศรษฐา) สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม[3]ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

ประวัติ[แก้]

ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[4] เกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2504 ชาวจังหวัดพัทลุงโดยกำเนิด ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อปีพ.ศ.2529 เพื่อเรียนหนังสือเรียนมหาวิทยาลัย หลังจบการศึกษาจากวิทยาลัยพละจังหวัดชุมพร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต เอกสังคมศึกษา วิทยาลัยครูสุรินทร์ ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

การทำงาน[แก้]

ครูมานิตย์[5] เคยรับข้าราชการครูตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 6 โรงเรียนบ้านกะลัน หมู่ที่ 15 ถนนกะลัน - ตรึม บ้านกะลัน ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อมาทำงานการเมือง ในตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2542 และที่ปรึกษาประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2543 ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทยและพรรคเพื่อไทย ตามลำดับ ปี พ.ศ. 2556 เป็นรองโฆษกพรรคเพื่อไทยปี พ.ศ. 2566 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปฝ่ายรัฐบาลคณะรัฐมนตรีเศรษฐา) สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 เป็นประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม[6] ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. tpchannal. "สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา". www.tpchannel.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. http://www.tpd.in.th/person/dscper.php?id=000809&group=24&politicianID=004114สังกัด[[พรรคเพื่อไทย[ลิงก์เสีย]]]
  3. "รายนามกรรมาธิการ". web.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-17.
  5. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/74169
  6. "สนทช.รับนโยบาย รองนายกฯ ลงพื้นที่สุรินทร์ แก้ปัญหาพื้นที่น้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำซาก". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔