ปิติพงศ์ เต็มเจริญ
ปิติพงศ์ เต็มเจริญ | |
---|---|
หัวหน้าพรรคเป็นธรรม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน พ.ศ. 2563 (3 ปี 358 วัน) | |
ก่อนหน้า | ชุมพล ครุฑแก้ว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 อำเภอหนองจอก จังหวัดพระนคร |
พรรคการเมือง | ประชากรไทย (2538–2544) ไทยรักไทย (2544–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2562) เสรีรวมไทย (2562–2565) เป็นธรรม (2565–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | ดุ่ย[1] |
ปิติพงศ์ เต็มเจริญ เป็นนักการเมืองชาวไทย ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 (ปดิพัทธ์ สันติภาดา) หัวหน้าพรรคเป็นธรรม อดีตโฆษกพรรคเสรีรวมไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร 3 สมัย ในช่วงปี 2538 และ 2544-2549 มีฉายาว่า "ทายาทเจ้าพ่อรถทัวร์สายใต้"[2]
ประวัติ
[แก้]ปิติพงศ์ เต็มเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2511[3] จบการศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท 3 สาขาได้แแก่ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฏหมายธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยอเมริกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
การทำงาน
[แก้]ปิติพงศ์ เต็มเจริญ เริ่มทำงานการเมืองตั้งแต่การเลือกตั้งในปี 2538 ลงสมัคร ส.ส.สมัยแรก ในนามพรรคประชากรไทย ได้เป็นส.ส.สมัยแรก โดยได้เป็น ส.ส.กทม. เขต 10 (บางกอกน้อย,ตลิ่งชัน และบางพลัด) และในการเลือกตั้งปี 2544 และ 2548 ดร.ปิติพงศ์ ได้เป็น ส.ส.กทม.ต่อเนื่องกัน 2 สมัย ในสังกัดพรรคไทยรักไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชาชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย แต่แพ้ให้กับชนินทร์ รุ่งแสง จากพรรคประชาธิปัตย์
ปิติพงศ์ เต็มเจริญ เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ชัยเกษม นิติสิริ) ในปี 2556[4]
ในปี 2562 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเสรีรวมไทยและรับตำแหน่งโฆษกพรรค แต่ได้ลาออกในเวลาต่อมา[5] และแยกออกมาทำงานในพรรคการเมืองในปี 2565 ชื่อว่า "พรรคเป็นธรรม" โดยเขารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค[6]
โดยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ปิติพงศ์ได้ลงสมัคร ส.ส.กทม. เขต 31 สังกัดพรรคเป็นธรรม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[7][8] ต่อมาหลังจากที่ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ซึ่งถูกขับออกจากพรรคก้าวไกล ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคเป็นธรรมแล้ว เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ปิติพงศ์จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์ข่าวภาคใต้ (2023-05-19). "รู้จัก "พรรคเป็นธรรม" - เบอร์ 3 สู่ทำเนียบฯ". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ รู้จัก "ดร.ปิติพงศ์ เต็มเจริญ" หัวหน้า "พรรคเป็นธรรม"
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2548
- ↑ คำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ ๒๙๖ /๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง
- ↑ แพร่ประกาศนายทะเบียน ‘ปิติพงศ์ เต็มเจริญ’ ลาออกจากสมาชิกพรรคเสรีรวมไทย
- ↑ พรรคเป็นธรรมประชุม กก.บห. เลือก ‘ปิติพงศ์ เต็มเจริญ’ นั่ง หน.พรรค มั่นใจได้ 15 ที่นั่ง
- ↑ พรรคเป็นธรรมคือใคร ทำไม “พิธา” อยากจับมือจัดตั้งรัฐบาลด้วย
- ↑ ทำความรู้จัก ‘พรรคเป็นธรรม’ ส่องความเป็นมาที่ทำ ‘พิธา’ ชวนร่วมรัฐบาล!... สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/2336034/
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ปิติพงศ์ เต็มเจริญ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ก่อตั้งพรรค | หัวหน้าพรรคเป็นธรรม (27 กันยายน พ.ศ. 2565) |
ยังดำรงตำแหน่ง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2511
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- พรรคประชากรไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคเสรีรวมไทย
- พรรคเป็นธรรม
- นักธุรกิจชาวไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.