สุรพล เกียรติไชยากร
สุรพล เกียรติไชยากร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรค | สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2538 - 2544) ไทยรักไทย(2544 – 2550) พลังประชาชน (2550 – 2551) เพื่อไทย (2551 – ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เพ็ญพร เกียรติไชยากร |
สุรพล เกียรติไชยากร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 เป็นนักการเมืองชาวเชียงใหม่ที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด และเป็นพี่ชายของ ดร.ถาวร เกียรติไชยากร อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติ[แก้]
นายสุรพล เกียรติไชยากร เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาสังคม จากมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยพะเยา) และได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการท่องเที่ยว รวมถึงปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สุรพล สมรสกับนางเพ็ญพร เกียรติไชยากร (สกุลเดิม ตันตรานนท์) พี่สาวของนายวัชระ ตันตรานนท์ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา[1]
งานการเมือง[แก้]
สุรพล เกียรติไชยากร เริ่มต้นงานการเมืองในปี พ.ศ. 2535 โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในพื้นที่โซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องมาหลายสมัย ได้แก่ กันยายน พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554
โดยมีการเลือกตั้งเพียง 2 สมัยที่นายสุรพล เกียรติไชยากร ไม่ได้รับเลือกตั้ง คือ พ.ศ. 2539 ได้รับคะแนน 90,555 เป็นลำดับที่ 5[2] ในการเลือกตั้งแบบเขตเดียว 3 คน และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ซึ่งนายสุรพลได้รับคะแนนสูงสุด แต่ กกต. เห็นว่า พฤติการณ์ของนายสุรพล เข้าข่ายผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มาตรา 73(2) ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิวัด สถานศึกษา สถานสงเคราะห์ จึงมีมติสั่งเพิกถอนสิทธิสมัคร นายสุรพล เกียรติไชยากร ว่าที่ส.ส.เขต 8 เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ไว้เป็นการชั่วคราว (1 ปี)[3] อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ศาลสั่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งชดใช้เงินแก่เขาจำนวน 70 ล้านบาท เป็นค่าเสียหายและเยียวยาฐานทำให้เสียชื่อเสียงจากการถูกแจกใบส้ม ภายหลังศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องคดีบูชาเทียนว่าไม่ใช่การซื้อเสียง[4]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]
นายสุรพล เกียรติไชยากร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 7 สมัย ได้แก่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 13 กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคชาติพัฒนา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย[5]
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคพลังประชาชน (ต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
งานด้านการศึกษา[แก้]
นายสุรพล ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2548 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2527 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[9]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายวัชระ ตันตรานนท์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "จากเว็บไซต์รายงานผลการเลือกตั้งกรมการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
- ↑ แจกใบส้มเพื่อไทยเชียงใหม่ "สุรพล" เกียรติไชยากร"
- ↑ "ศาลสั่ง กกต.ชดใช้ "อดีต ส.ส.เชียงใหม่ พท." รวม 70 ล้าน เหตุแจกใบส้มไม่รอบคอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 20 April 2022. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
- ↑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544
- ↑ การจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๗ จากเว็บไซต์ thaiscouts
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอจอมทอง
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- พรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนจอมทอง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยพะเยา
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์