สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ
สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ | |
---|---|
ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2494 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 2 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ 1 สมัย อดีตประธานคณะกรรมาธิการการพลังงานในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 ปัจจุบันเป็นประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ[1][2]
ประวัติ
[แก้]สมชัย เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์[3] ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การทำงาน
[แก้]สมชัย เข้าทำงานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคชาติพัฒนา ได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยที่ 2 เมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ เขาจึงย้ายไปสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้รับเลือกเป็น ส.ส.สมัยที่ 3 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ซึ่งในปี 2551 เขาเป็น 1 ใน 3 ส.ส.ที่งดออกเสียงในการลงมติเลือกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี
สมชัย เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีประจำนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2548
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่แพ้ให้กับสุชาติ ภิญโญ จากพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 41[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2565 เขาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์[5]
นอกจากงานการเมืองแล้ว สมชัย ยังดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา เป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ไฟว์สตาร์[6] และเป็นเจ้าของโรงแรมปัญจดารา จังหวัดนครราชสีมา[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติให้กำลังใจ”ลุงตู่”
- ↑ "สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ" ยินดีให้ใช้ "โรงแรมปัญจดารา โคราช" เป็นรพ.ชั่วคราวรองรับผู้ป่วยโควิด-19
- ↑ "นักเรียนเก่าอำนวยศิลป์ รุ่น ๔๓ ให้รัฐบาลนำโรงแรม ไปปรับเป็นโรงพยาบาลเพื่อเตรียมรองรับผู้ป่วย COVID-19". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-05. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
- ↑ เปิดชื่อปาร์ตี้ลิสต์ภูมิใจไทย
- ↑ ‘ปชป.’ เปิดตัว 8 ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.โคราช มั่นใจปักธงได้แน่
- ↑ ได้ใจชาวโคราช “สมชัย พัฒนศิริ” เสนอ รร.ปัญจดาราเป็นรพ.ชั่วคราว 500 เตียงช่วยรองรับผู้ป่วยโควิด -19
- ↑ เปิดใจ! “สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ” ทำไมผมจึงยกโรงแรมให้รัฐใช้เป็น “รพ.สนาม” สู้โควิด-19
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดนครราชสีมา
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติพัฒนากล้า
- พรรคภูมิใจไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.