มาลินี อินฉัตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาลินี อินฉัตร
ไฟล์:มาลินี อินฉัตร.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 เมษายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
จังหวัดศรีสะเกษ
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคไทยรักไทย (2544-2549)
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (2550-2552)
พรรคเพื่อชาติ (2561-2564)
พรรคเพื่อไทย (2552-2561 ,2564-ปัจจุบัน)

นางสาวมาลินี อินฉัตร เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นอดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] สังกัดพรรคไทยรักไทย

ประวัติ[แก้]

มาลินี อินฉัตร เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2502 เป็นชาวอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรสาวของนายจำลอง กับนางสุนีย์ อินฉัตร อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดศรีสะเกษ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ และปริญญาโท สาขาศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน[แก้]

มาลินี อินฉัตร เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เคยได้รับแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เข้าสู่สนามเลือกตั้งระดับชาติในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย แต่แพ้ให้กับร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย[2] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับร้อยโทกุเทพ ใสกระจ่าง อีกครั้ง ต่อมาได้มีการเลือกตั้งซ่อมแทน ร.ท.กุเทพ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 แต่นางสาวมาลินีก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางสาวจิรวดี จึงวรานนท์ จากพรรคประชาราช จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 71[3] สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[4] และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ (เลื่อนแทนนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[5]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เธอได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 102[6]

ในปี 2562 เธอลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และกลับมาสังกัดพรรคเพื่อไทยอีกครั้งในปี 2564 และวางตัววิลดา อินฉัตร ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. http://web.parliament.go.th/member22/member-list.php?id=267&no=267[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-02. สืบค้นเมื่อ 2012-05-22.
  5. เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นางสาวมาลินี อินฉัตร)[ลิงก์เสีย]
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  7. 150ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ เด็กจตุพร-ยงยุทธเพียบ
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๘๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๔๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔