อาภาภรณ์ พุทธปวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาภาภรณ์ พุทธปวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561-ปัจจุบัน)
เพื่อแผ่นดิน (2550-2555)
ไทยรักไทย (2543-2550)

นางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน 2 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย

ประวัติ[แก้]

อาภาภรณ์ พุทธปวน เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2515[1] เป็นบุตรของนายศรีทร ใจใหญ่ กับนางอำพิน พุทธปวน จบการศึกษาชั้นมัธยมต้นจากโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2536[2] และการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

อาภาภรณ์ พุทธปวน มีศักดิ์เป็นหลาน (น้า) ของ รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่

การทำงาน[แก้]

อาภาภรณ์ พุทธปวน เคยเป็นพนักงานบริษทเอกชนในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เริ่มเข้าสู่การเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 32,004 คะแนน ต่อมาได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ในสังกัดพรรคไทยรักไทยเช่นเดิม และได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งมีการเลือกตั้งซ่อมแทนนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่ได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 3 ได้คะแนน 17,041 คะแนน แพ้ให้นายขยัน วิพรหมชัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้คะแนน 102,785 คะแนน และนายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล จากพรรคเพื่อไทย ที่ได้คะแนน 93,522 คะแนน[4]

นางสาวอาภาภรณ์ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น "ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี" ในปี พ.ศ. 2552 ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

อาภาภรณ์ พุทธปวน ได้รับเลือกตั้งมาแล้ว 2 สมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. "ระบบงานเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-06-13.
  3. จับตาเลขล็อก 4-5-9 ลำพูน ปชป.ส่อแทรก พปช. ซิวที่นั่ง ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  4. ข่าวรอบเมืองเหนือ[ลิงก์เสีย]
  5. หนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0401.2/1384 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552[ลิงก์เสีย]
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕