ไพจิต ศรีวรขาน
ไพจิต ศรีวรขาน | |
---|---|
ไพจิต ใน พ.ศ. 2553 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (34 ปี 239 วัน) | |
ก่อนหน้า | ไขแสง สุกใส |
ถัดไป | อลงกต มณีกาศ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ราษฎร (2531–2535) ความหวังใหม่ (2535–2545) ไทยรักไทย (2545–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2552–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สุจินดา ศรีวรขาน |
ไพจิต ศรีวรขาน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2490) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และเป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา[1]
ประวัติ
[แก้]ไพจิต ศรีวรขาน เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายอุย กับนางผาง ศรีวรขาน เกิดที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สมรสกับนางสุจินดา ศรีวรขาน (สกุลเดิม แสนคำ)
นายไพจิต สำเร็จการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรการศึกษา (ป.กศ.) จากโรงเรียนฝึกหัดครูสกลนคร ระดับปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การทำงาน
[แก้]ไพจิต ศรีวรขาน เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครพนม ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งเรื่อยมา พ.ศ. 2535/1 พ.ศ. 2535/2 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24 ได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
บทบาทในพรรคการเมือง นายไพจิต เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ และเป็นแกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา มีบทบาทสำคัญร่วมกับ ศักดา คงเพชร และ ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ในการเปิดเผยเรื่องอำนาจของแก๊งออฟโฟร์[2] ซึ่งประกอบด้วย เนวิน ชิดชอบ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สมัคร สุนทรเวช และธีรพล นพรัมภา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘ไพจิต ศรีวรขาน’ ประกาศสู้ศึกเลือกตั้งนครพนม ลั่นพร้อมตายกับ ‘เพื่อไทย’ มั่นใจชนะทุกเขต
- ↑ เปิดประวัติรมต.ใหม่ ครม. "ยิ่งลักษณ์ 2"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๘ ตุลาคม ๒๕๑๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2490
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอธาตุพนม
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม
- พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529)
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
- บุคคลจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- บุคคลจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.