ข้ามไปเนื้อหา

เปรมศักดิ์ เพียยุระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปรมศักดิ์ เพียยุระ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
พรรคการเมืองความหวังใหม่ (2538–2545)
ไทยรักไทย (2545–2549)
ชาติไทย (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–2561)
พลังประชารัฐ (2561)
พลังท้องถิ่นไท (2561–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–2567)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดร.นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ หรือ พระเปรมศักดิ์ เปมสกฺโก (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508) สมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น อดีตนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่[1]

การศึกษา

[แก้]

ดร.นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโทพุทธศาสนามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

งานการเมือง

[แก้]

เปรมศักดิ์ เพียยุระ เริ่มงานการเมืองโดยเป็น ส.ส.ขอนแก่น ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เมื่อพรรคความใหม่ควบรวมกับพรรคไทยรักไทย นายแพทย์เปรมศักดิ์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ[ต้องการอ้างอิง]

การอุปสมบทในระหว่างการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549

[แก้]

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 นายแพทย์เปรมศักดิ์ได้ยื่นใบลาออกจากสมาชิกพรรคพรรคไทยรักไทยอย่างกะทันหัน และเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพิกุลทอง จากนั้นได้เดินทางไปจำวัดที่วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีพระพยอม กัลยาโณ เป็นเจ้าอาวาส[ต้องการอ้างอิง]

การลาออกของนายแพทย์เปรมศักดิ์ ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยมี ส.ส.บัญชีรายชื่อ เหลือเพียง 99 คน เมื่อรวมกับ ส.ส.ระบบเขตอีก 400 คน เป็น 499 คน ไม่ครบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 98 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีคำวิพากษ์วิจารณ์ว่า เมื่อจำนวน ส.ส.ไม่ครบที่จะเป็นองค์ประกอบของสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่สามารถประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร [2] และไม่สามารถประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อคัดเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและนายกรัฐมนตรีได้[ต้องการอ้างอิง]

การเมืองหลังรัฐประหาร

[แก้]

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล) โดยมอบหมายให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรและผู้ยากจนทั่วประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาเพื่อเสนอแนะรัฐมนตรีโดยตรง[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมานายแพทย์เปรมศักดิ์ เพียยุระ เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[3]ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

จากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[ต้องการอ้างอิง] แต่ในเวลาต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท[4] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังท้องถิ่นไท แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมานายแพทย์เปรมศักดิ์ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคพลังท้องถิ่นไท กระทั่งวันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายแพทย์เปรมศักดิ์ได้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 11 จังหวัดขอนแก่น พรรครวมไทยสร้างชาติ[6] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ปีต่อมาเขาลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกเข้ามาในกลุ่มที่ 4 ในอันดับที่ 8[7]

คดีความ

[แก้]

เขาถูกสื่อมวลชนแจ้งความตามความผิดประมวลกฎหมายอาญา กักขัง หน่วงเหนี่ยว[8] และเขาแจ้งความสื่อมวลชนด้วยเช่นเดียวกัน ฐานบุกรุกและละเมิดสิทธิ์[9]

ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการเผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 พักงานนายแพทย์เปรมศักดิ์ในฐานะนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองบ้านไผ่ โดยไม่พ้นจากตำแหน่งจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงพร้อมกับ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ถูกพักงานในฐานะ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร [10]

วันที่ 21 มิถุนายน 2561 ศาลจังหวัดพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่สื่อมวลชน จังหวัดขอนแก่น 5 คน เป็นโจทก์ฟ้อง นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีตนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ จำเลยที่ 1 และ ว่าที่ร้อยตรี บัวทอง โลขันธ์ อดีตเลขานุการนายกรัศมนตรีเมืองบ้านไผ่ จำเลยที่ 2 ในข้อกล่าวหากระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัน จับผู้สื่อข่าวผู้ชายแก้ผ้า ขณะเข้าไปสอบถามหลังมีภาพภายในห้องปฏิบัติราชการนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่นโดยทางศาล ได้มีคำพิพากษาจำคุก นพ.เปรมศักดิ์ และ ร.ต.โพธิ์ทอง คนละ 2 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ภายหลังศาลได้ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสองด้วยหลักทรัพย์คนละ 120,000 บาท โดยทนายได้นำหลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินยื่นประกันตัว โดยทั้งนี้ ศาลได้ให้โจทก์สามารถยื่นอุทธรณ์ได้[11]

ทนายความฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า ศาลจังหวัดพล จ.ขอนแก่น ได้ส่งหนังสือมายังฝ่ายโจทก์ โดยแจ้งว่า นพ.เปรมศักดิ์ จำเลยที่ 1 และ ร.ต.บัวทอง ที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอรับสารภาพผิดตามฟ้องตลอดข้อกล่าวหา และให้ยกเลิกหมายนัดการฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 โดยการรับสารภาพผิดตามฟ้องเป็นการรับสารภาพในชั้นอุทธรณ์[12]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 'พลังท้องถิ่นไท' โหวต 'ชัช เตาปูน' หัวหน้าพรรค ลั่นพร้อมเป็นนายก
  2. "'หมอเปรม'บวชผ่าทางตัน!ทรท.ระส่ำกลัวสภาไม่500". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2021-09-02.
  3. เปรมศักดิ์ เพียยุระย้ายพรรคภูมิใจไทย[ลิงก์เสีย]
  4. 'ฟิล์ม รัฐภูมิ' ถูกซื้อตัว30ล้าน เชื่อ 'เปรมศักดิ์' ได้เป็นส.ส.แน่
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "รวมไทยสร้างชาติ"เปิดตัว"หมอเปรม-วุฒิพงศ์"ลงส.ส.ขอนแก่น ชูนโยบาย"กองทุนฉุกเฉิน-กองทุนสร้างชาติ"แก้หนี้สินปชช.
  7. "เปิดรายชื่อ 200 สว. "สมชาย" ตกรอบ "ศรีวราห์-ทนายตั้ม" ติดสำรอง". ไทยพีบีเอส.
  8. 5 นักข่าว จ่อแจ้งความ 'หมอเปรม'-ส.สื่อขอนแก่นประณาม โหดร้าย-ป่าเถื่อน
  9. 'หมอเปรม' แจ้งความนักข่าวบุกรุกห้องทำงาน บีบคั้นกดดัน ละเมิดสิทธิ
  10. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 188 ง พิเศษ หน้า 17 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559
  11. ข้อกล่าวหากระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัน จับผู้สื่อข่าวแก้ผ้า[ลิงก์เสีย]
  12. เลื่อนอีก! ตัดสินอุทธรณ์คดี “หมอเปรม” แก้ผ้านักข่าว เจ้าตัวยื่นคำร้องรับสารภาพผิดตามฟ้อง
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]