อารีย์ วงศ์อารยะ
อารีย์ วงศ์อารยะ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | คงศักดิ์ วันทนา |
ถัดไป | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
คู่สมรส | สุมนา วงศ์อารยะ |
อารีย์ วงศ์อารยะ (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล จังหวัดสระบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นรองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้"[1]
ประวัติ
[แก้]นายอารีย์ วงศ์อารยะ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478[2] สมรสกับนางสุมนา วงศ์อารยะ มีบุตรธิดา 3 คน คือ นายเอกพจน์ วงศ์อารยะ นางสาวอภิรดี วงศ์อารยะ และนางสาวนวรัตน์ วงศ์อารยะ
สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาจาก โรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาโท M.S. (Community Development) มหาวิทยาลัยแห่งประเทศฟิลิปปินส์ และ M.S. (Public Administration) มหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]นายอารีย์ วงศ์อารยะ รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล สระบุรี ปราจีนบุรี สุพรรณบุรี รองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมที่ดิน ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2538 และปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งสุดท้าย ก่อนจะเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2539
อารีย์ เข้าร่วมงานการเมืองกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ สังกัดพรรคไทยรักไทย[3][4] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ ทักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2547 ต่อมาในการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[5] และได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา เนื่องจากปัญหาการถือครองหุ้นเกินกว่าร้อยละ 5
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]อารีย์ วงศ์อารยะ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ เมื่อ พ.ศ.2549 [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[9]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[10]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "อารีย์ วงศ์อารยะ"ตรวจเยี่ยมครอบครัวอุปถัมภ์ "สานใจไทย สู่ใจใต้"
- ↑ 85 ปี’อารีย์ วงศ์อารยะ’บารมียังล้น-สุขภาพแข็งแรง แจ่มใส ความจำดีเยี่ยม
- ↑ ประชาธิปัตย์ ค้านตั้ง "อารีย์" นั่งเก้าอี้ "มท.1"
- ↑ ทำไม "อารีย์" รมต.สีเทา ขั้วอำนาจเก่า กอดเก้าอี้แน่น ??
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๙, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ ๓๑๙, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2478
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย
- มุสลิมชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- อธิบดีกรมที่ดิน
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี
- ปลัดกระทรวงมหาดไทยไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์