ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomson Walt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 602: บรรทัด 602:


==งานเทา-งามสัมพันธ์==
==งานเทา-งามสัมพันธ์==
กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] [[มหาวิทยาลัยบูรพา]] [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] [[มหาวิทยาลัยทักษิณ]] และ[[มหาวิทยาลัยนเรศวร]] แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก
กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย [[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] [[มหาวิทยาลัยบูรพา]] [[มหาวิทยาลัยนเรศวร]] [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] และ[[มหาวิทยาลัยทักษิณ]] แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก


ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้ง 5 มหาวิทยาลัย โดยอธิการบดีร่วมเล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้ง 5 มหาวิทยาลัย โดยอธิการบดีร่วมเล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:53, 30 เมษายน 2562

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
02msu color
ตราโรจนากร
ชื่อเดิมวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม (พ.ศ. 2510–2517)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม (พ.ศ. 2517–2537)
ชื่อย่อมมส / MSU
คติพจน์พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว
(ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน)
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐ
สถาปนา27 มีนาคม พ.ศ. 2511
(วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม)

9 ธันวาคม พ.ศ. 2537
(มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
อธิการบดีรองศาสตราจารย์เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส[1]
นายกสภามหาวิทยาลัยปัญญา ถนอมรอด[2]
อาจารย์1,270 (2561) [3]
เจ้าหน้าที่2,320 (2561) [3]
ปริญญาตรี41,000 (2561) [3]
บัณฑิตศึกษา1,780 (2561) [3]
740 (2561) [3]
ที่ตั้ง
เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่)
ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
เขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า)
ตำบลตลาด เมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
เขตพื้นที่นาสีนวล
ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

16°11′57.7″N 103°17′02.3″E / 16.199361°N 103.283972°E / 16.199361; 103.283972 (Mahasarakham University))
สี██ สีเหลือง
██ สีเทา
ฉายามอน้ำชี
มาสคอต
เสือดาว จามรี ภุมริน และมฤคมาศ
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ไฟล์:MSU Typo.png

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Mahasarakham University; อักษรย่อ: มมส – MSU) ตั้งอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม ก่อกำเนิดจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และได้รับการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2537 [4] นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีทั้งสิ้น 3 เขตพื้นที่ ได้แก่ เขตพื้นที่ขามเรียง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม, เขตพื้นที่ในเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง มหาสารคาม และเขตพื้นที่นาสีนวน ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีศูนย์กลางบริหารงานอยู่ที่เขตพื้นที่ขามเรียง ปัจจุบันเปิดการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น 177 สาขาวิชา [3]: 5  ใน 20 คณะหรือเทียบเท่า [3]: 69  และมีการขยายโอกาสทางการศึกษาโดยการจัดโครงการศึกษาที่ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดรธานี [3]: 7  นอกจากนี้ยังมีการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม [3]: 7 

ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหาสารคามกับประวัติศาสตร์ดินแดนอีสาน

ดินแดนอีสานได้ปรากฏมีความสัมพันธ์กับรัฐศูนย์กลางของคนไทยที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มาตามลำดับ ตั้งแต่สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ โดยภายหลังที่เมืองสุวรรณภูมิแยกจากการขึ้นตรงต่อจำปาศักดิ์มาขึ้นกับอยุธยา ซึ่งหัวเมืองต่าง ๆ ในอีสานต่างขึ้นกับสุวรรณภูมิต่อหนึ่ง[5] ภายหลังได้เปลี่ยนมาขึ้นกับโคราช [6] และต่อมาจึงได้ให้ทุกหัวเมืองของอีสานขึ้นกับกรุงเทพฯ หลังจากเกิดกรณีเจ้าอนุวงศ์ (พ.ศ. 2369-2371)[7] แต่ความสัมพันธ์ของหัวเมืองอีสานกับศูนย์กลางของรัฐไทย อยู่ในลักษณะเมืองขึ้นที่เพียงส่งส่วยบรรณาการและป้องกันภัยจากญวนเท่านั้น

กระทั่งความสำคัญของดินแดนและหัวเมืองอีสานได้ปรากฏชัดเจนในช่วงที่กระแสการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองต่อหัวเมืองแถบนี้ใหม่ รวมทั้งการปฏิรูปการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้คนในรัฐสยามสามารถอ่าน เขียน พูดและเรียนมาตรฐานความรู้อย่างเดียวกัน เพื่อสร้างความเป็น ‘รัฐชาติ’ (Nation State) ขึ้นมา ครั้นยุคจากการล่าอาณานิคมทางดินแดนสิ้นสุดลง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองโลกได้แบ่งขั้วการเมืองออกไปอีก ประเทศไทยได้มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอันเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก แผนพัฒนาประเทศทั้งทางการและไม่ทางการได้ทะยอยออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลตระหนักถึงและเข้าใจว่าการพัฒนาประเทศนั้น เครื่องมือที่สำคัญคือคน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญ ดังนั้นปัจจัยที่นำมาพัฒนาคนที่สำคัญคือ การศึกษา จึงเป็นการลงทุนที่เร่งด่วน รัฐบาลทุกยุคได้ให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์และความสนใจของผู้นำในช่วงต่าง ๆ

เมื่อพิจารณาจากบริบททางประวัติศาสตร์มหาวิทยามหาสารคามนั้นไม่ได้ยืนหยัดอยู่เพียงลำพัง แต่ได้มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกับชุมชนและสังคมตลอดช่วงเวลา ภาพของมหาวิทยาลัยในช่วงต่างๆ จึงสามารถสื่อสะท้อนความคิด โลกทัศน์ ชีวทัศน์ของคนในแต่ละช่วงเวลาได้พอสมควร รวมทั้งมหาวิทยาลัยยังเป็นผลผลิตของท้องถิ่นและชุมชน ซึ่งได้มีการสร้างสมมาหลายช่วงอายุคน โดยได้ตกผลึกจากการสั่งสมของสิ่งที่เรียกว่า ‘ตัวตน’ และได้เป็นลักษณะเฉพาะของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร

ไฟล์:สาโรช บัวศรี.JPG
ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช บัวศรี ผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา

แรกเริ่มก่อนที่จะมีการก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงนั้น วงการศึกษาของไทยประสบปัญหาในความล้าหลังของการศึกษาประชาชนส่วนใหญ่ยังมีมาตรฐานการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โดยเฉพาะบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้นั้นยังมีข้อจำกัดหลายประการ[8] และยังประสบปัญหาอื่นอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะพื้นที่ตั้งโรงเรียน ซึ่งต้องประสบกับการย้ายที่ตั้งอยู่เสมอ เช่น ในปี พ.ศ. 2484 เมื่อรัฐบาลได้สถาปนากระทรวงอุตสาหกรรม[9] ใช้พื้นที่ตั้งของโรงเรียนแห่งเดิม จึงจำเป็นต้องย้ายสถานที่ตั้งมาที่ใหม่[10]

ภายหลังได้มีผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาท่านหนึ่งจึงได้พยายามแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อก่อตั้งกิจการวิชาครู ให้เป็นหลักฐานมั่นคงสืบไป คือ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งมีความกังวลต่อสภาพการณ์ดังกล่าว จนสามารถมาได้พื้นที่บริเวณถนนประสานมิตร ริมคลองแสนแสบ[11] ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวนั้นเคยใช้เป็นฟาร์มเลี้ยงโค เพราะในระหว่างสงครามไม่มีนมเนยเข้ามาจากต่างประเทศ จึงได้ทำหนังสือราชการขอซื้อที่จากกระทรวงเกษตรทันที ในราคาวาละ 38 บาท รวมทั้งขอซื้อจากเจ้าของรายอื่นใกล้เคียงเพิ่มเติม[10][12][13]

จากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างอาคารและจัดให้มีการประชุมกัน ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2492 เพื่อกำหนดนัดหมายทำความเข้าใจ เรื่องคำสั่งเปิด โรงเรียน[10] และแต่งตั้งคณะกรรมการและระเบียบ ลงวันที่ 28 เมษายน 2492 จึงได้กำหนดวันดังกล่าวเป็นวันก่อตั้งโรงเรียน และมีการพิจารณาตั้งชื่อชั่วคราวว่า โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร[11][12][13]

วิทยาลัยวิชาการศึกษา

ต่อมาวงการศึกษาได้ประสบปัญหาเข้ามาอีกทั้งภาวะการขาดแคลนครูเป็นอันมากและวุฒิการศึกาษาครูสูงที่สุดคือ วุฒิ ป.ม.(ประกาศนียบัตรประโยคครูมัธยม) ซึ่งเทียบเท่ากับอนุปริญญาเท่านั้น ทำให้เกิดความล้าหลังในอาชีพครู[14] อีกทั้งครู ป.ม. บางคนเมื่อศึกษาเพิ่มเติมสูงขึ้นได้ปริญญาทางด้านอื่นแล้วต่างลาออกไปประกอบอาชีพใหม่ที่เข้าใจว่ามีความก้าวหน้ามากกว่า ผู้บริหารในวงการศึกษาจึงได้มีการปรึกษาหารือและดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาตามลำดับ แต่ความเข้าใจในเวลานั้นของผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบุคคลในพรรครัฐบาล จึงต้องใช้ความพยามยามอย่างมาก

ดร. สาโรช บัวศรี เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เข้าชี้แจงให้คณะรัฐบาลเข้าใจถึงเหตุและผลที่จะดำเนินการและสิ่งที่เกิดขึ้น หากให้สามารถเปิดสอนครูถึงระดับปริญญา และสามารถชี้แจงจนเข้าใจร่วมกันได้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมจึงได้มีมติยอมรับ และในที่สุดก็ผ่านพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ในปี พ.ศ. 2497 [15] แต่กว่าที่จะได้มีการยอมรับนั้นค่อนข้างพบอุปสรรคพอสมควร

อย่างไรก็ตามในที่สุดก็สามารถตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้สำเร็จ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497[14] ในระหว่างนั้น อาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 –2513) และเป็นคณะกรรมการร่วมของโครงการพัฒนาการศึกษาด้วย ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญกับงานฝึกหัดครูอย่างมาก จากแนวคิดในการดำเนินการขยายการฝึกหัดครูระดับปริญญาไปสู่ส่วนภูมิภาคนั้น จึงได้มีการขยายวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งขณะนั้นยังสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีความคล้ายคลึงทั้งในที่มา จุดประสงค์และการดำเนินการเพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพครู เหมือนกับกรมการฝึกหัดครู โดยแนวคิดของอาจารย์บุญถิ่น อัตถากรนั้น คือ[16][17]

หลังจากนั้นจึงได้มีการขยายวิทยาเขตไปสู่ภาคต่าง ๆ ทุกภาค โดยได้เปิดสอนแห่งเดียวในแต่ละภาค คือ ภาคเหนือเปิดที่พิษณุโลก (25 มกราคม 2510) ภาคใต้ที่สงขลา (1 ตุลาคม 2511) ภาคตะวันออกที่ชลบุรี (8 กรกฎาคม 2498) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มหาสารคาม และกรุงเทพมหานคร ที่บางเขน (27 มีนาคม 2512)[11]

วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม

ไฟล์:ตึกเรียนวิยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม.jpg
ตึกเรียนวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม พ.ศ. 2517

บุคคลที่มีคุณูปการต่อวงการศึกษาไทยท่านหนึ่ง คือ อาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 - 2513) อีกทั้งมีภูมิลำเนากำเนิดอยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม ท่านได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาในสมัยนั้น เรื่องความต้องการใช้การศึกษาช่วยพัฒนาชุมชนในชนบท จึงต้องรีบผลิตครูที่มีคุณภาพและจำนวนมากพอเพียงออกไปเป็นผู้นำ โดยการศึกษาฝึกหัดครูจะต้องเป็นขั้นๆ โดยลำดับจนถึงขั้นปริญญา ขณะเดียวกันก็ค่อยลดการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรลงจนเลิกไปในที่สุด และผลิตครูขั้นปริญญาเพิ่มขึ้นๆ และเมื่อถึงโอกาสอันสมควร สถานศึกษาฝึกหัดครู สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถาบันขั้นปริญญาต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกันและจังหวัดใกล้เคียง ก็จะรวมกันเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค ทั้งนี้อาจารย์บุญถิ่น ได้มีแนวคิดและเหตุผลที่เลือกจังหวัดมหาสารคามให้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัย “ครูปริญญา” ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นว่า[18]

ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคามนั้นต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานจากความไม่พร้อมในด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน จึงต้องอาศัยวิทยาลัยครูมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในปัจจุบัน) ในเบื้องต้นเกือบทั้งหมด ซึ่งช่วยสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงในช่วงก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาอื่นที่ไปตั้งในแต่ละภูมิภาคต่างก็ประสบในทำนองเดียวกันและช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว

หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษาแรก พ.ศ. 2511 มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาอังกฤษและชีววิทยา โดยสามารถเปิดรับนิสิตได้จำนวน 134 คน ซึ่งนิสิตที่มาเรียนในระยะแรก ปีการศึกษา 2511 – 2515 ได้รับการดเลือกจากผู้สมัครที่มีผลการเรียนดีจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศมาศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี

ในปีการศึกษา 2512 การก่อสร้างอาคารสถานที่ของวิทยาลัยเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งาน คือ อาคารเรียน 1, หอสมุด หอศิลป์ โรงอาหาร หอพักชาย และหอพักหญิง จากนั้นวิทยาลัยจึงได้มีการพัฒนามาตามลำดับ

ในปี 2514 ได้มีการดำเนินการขอพื้นที่ฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกองทัพอากาศ ซึ่งได้ใช้เป็นสนามแข่งม้าและสนามบินจากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักเพิ่มเติม

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม

ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา [19] ซึงเป็นการรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมด เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโอนสถานะไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย ยกเว้นวิทยาเขตพระนครให้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน

ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้นั้น ทางวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร เข้าดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเห็นว่าการบริหารงานของวิทยาลัยนั้นขาดความคล่องตัวอยู่มาก เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการจะเป็นปัญหาระยะยาวในการขยายผลด้านการศึกษาในอนาคตต่อไป ท่านจึงได้ร่างพระราชบัญญัติเพื่อขอยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยต่อสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยในระหว่างนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร|ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ ได้ออกเอกสารที่เรียกว่า 'เอกสารปกขาว' เพื่อชี้แจงหลักการและเหตุผลดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจรับทราบว่า

เมื่อได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามลำดับ โดยเป็นการดำเนินการตามวิธีที่ถูกต้องและขั้นตอนระเบียบแบบแผนของทางราชการ เริ่มตั้งแต่สภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สภาการศึกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี จากนั้นเรื่องได้หยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศที่ไม่เอื้อในเวลานั้น การดำเนินการจึงได้มายุติโดยการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515

จากการที่วิทยาลัยโดยความร่วมมือทั้งอาจารย์และนิสิตได้พยายามดำเนินการมาตามลำดับอย่างสม่ำเสมอและด้วยความจริงจัง กระทั่งในวันที่ 16 มกราคม 2517 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ กระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 [19]

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยให้เป็นมงคลนามและพระราชทานความหมายว่า " มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร " โดย ' วิโรฒ ' มาจาก ' วิรูฒ '(ภาษาสันสกฤต) ' วิรุฬห์ ' (ภาษาบาลี) ซึ่งแปลว่า " เจริญ , งอกงาม "

ภายหลังทางวิทยาลัยโดยความร่วมมือทั้งอาจารย์และนิสิต ได้พยายามดำเนินการมาตามลำดับ ทั้งนี้โดยตระหนักจากการพิจารณาองค์ ประกอบความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของวิทยาลัยและประโยชน์อันจะเกิดขึ้นต่อ วิทยาลัยและในวงกว้างทางการศึกษาและประเทศชาติต่อไป ทางวิทยาลัย จึงได้มีการชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้ดังนี้

  1. วิทยาลัยวิชาการศึกษามีความพร้อมโดยสมบูรณ์ที่จะเติบโต เป็นมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ทางวิทยาลัยมีความพร้อมของอุปกรณ์ประกอบการสอน อาจารย์ และอาคารสถานที่เพียงพอที่จะเปิดสอนสาขาอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น
  2. ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาลัยวิชาการศึกษา
  3. ความคล่องตัวในการบริหารงาน
  4. ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการความหลากหลายทางการศึกษาที่ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

หลังจากที่ได้ยกฐานะแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯได้นำวิธีสอบคัดเลือกนิสิต เข้าศึกษาใน 2 ระดับ คือชั้นปีที่ 1 และ 3 ซึ่งในปีการศึกษานี้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามยังคงรับนิสิตภาคปกติที่จบป.กศ. สูงเข้าศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยวิธีการสอบคัดเลือกเหมือนเดิม แต่ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ คือได้เปิดรับสมัครสอบนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเป็นปีแรกโดยใช้ วิธีการสอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย โดยรับทั้งสิ้น 63 คน สำหรับวิชาเอกที่เปิดในปีการศึกษา 2517 มีดังนี้ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา และการประถมศึกษาซึ่งได้ใช้วิธีการสอบแข่งขันในการคัดเลือกผู้มาเรียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนั้นยังได้ยกฐานะหน่วยงานสำคัญขึ้นมา 3 หน่วยงานใน ปีพ.ศ. 2529 พร้อมกับคณะเทคโนโลยี คือ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 พฤศจิกายน 2529 [20], สำนักวิทยบริการ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา [21] สิงหาคม 2529 และสถาบันวิจัยรุกขเวช ตามประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2536

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามได้มีพัฒนาการมาตามลำดับโดยอาศัยเงื่อนไขของเวลาในการสร้างความพร้อมต่าง ๆ กระทั่งสามารถดำเนินการแยกเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศสำเร็จภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา [4] นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย สำหรับแนวคิดในการแยกตัวเป็นเอกเทศนั้นได้เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 โดย ดร.ถวิล ลดาวัลย์รองอธิการบดีเวลานั้นได้มีแนวความคิดที่จะรวมสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลักๆของจังหวัดมหาสารคามเข้าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่แนวคิดดังกล่าวได้ติดขัดปัญหาบางประการจึงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่น ปัญหาของต้นสังกัดเดิมของแต่ละสถาบัน เป็นต้น ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2531 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยกาญจนะเป็นรองอธิการบดีจึงได้มีการเสนอให้แยกออกจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอีกครั้ง โดยให้ลักษณะเป็นสถาบันในนามของสถาบันบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท แต่ให้มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย หากแต่ไม่อาจดำเนินต่อไปให้สัมฤทธิ์ผลได้เช่นกัน

กระทั่งในปี พ.ศ. 2535 เมื่อรองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมีเป็นรองอธิการบดี จึงได้มีสืบสานแนวคิดที่จะแยกตัวออกอีกครั้ง และเริ่มปรากฏผลชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ประกอบกับในช่วงเวลานั้น นายสุเทพ อัตถากร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ให้สนใจและความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในการสนับสนุนแนวคิดที่จะให้มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานจึงได้เริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามและคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 จากนั้นจึงได้ดำเนินงานมาตามขั้นตอนจนสามารถยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้สำเร็จดังที่กล่าวข้างต้นในช่วงรองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ศรีสะอาด เป็นรองอธิการบดี ซึ่งได้สืบสานแนวคิดและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งบุคคลภายในและภายนอกในสายงานต่าง ๆ ในระหว่างที่มีการดำเนินการเพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศนั้นได้มีการทบทวนเรื่องชื่อของมหาวิทยาลัยเพื่อหาความเหมาะสมและเห็นพ้องต้องกันทุกฝ่าย โดยการดำเนินการสำรวจประชามติให้เป็นเอกฉันท์ ซึ่งชื่อที่เสนอในครั้งนั้นมีความหลากหลายของที่มาและแนวคิด ได้แก่ มหาวิทยาลัยอีสาน มหาวิทยาลัยภัทรินธร มหาวิทยาลัยศรีเจริญราชเดช มหาวิทยาลัยศรีมหาชัย มหาวิทยาลัยศรีมหาสารคาม จนกระทั่งได้มาเห็นชอบพร้อมกันต่อชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคามในเบื้องท้ายดังปรากฏในปัจจุบัน

ภายหลังได้มีการขยายพื้นที่มายัง ป่าโคกหนองไผ่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม บนเนื้อที่ประมาณ 1,300 ไร่ ขณะนั้นของรองศาสตราจารย์ ดร. ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามคนแรก (พ.ศ. 2538-2546) และได้ดำเนินการสร้างอาคารต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ภายหลังจึงได้ย้ายศูนย์กลางบริหารงานมา ณ ที่ทำการแห่งใหม่ในปีการศึกษา 2542 อีกทั้งยังได้มีการเปิดสาขาวิชาและคณะใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดบริการทางการศึกษาให้มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้เปิดสอนระดับประถมและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเปิดสอนในปีการศึกษา 2540 เป็นปีการศึกษาแรกและยังได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทไปยังจังหวัดนครพนม (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม แยกเป็นเอกเทศในชื่อ มหาวิทยาลัยนครพนม) และศูนย์พัฒนาการศึกษาอุดรธานี โดยใช้สอน ระบบทางไกลผ่านดาวเทียม

โดยสรุปแล้ว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะขยายการศึกษาชั้นสูงไปสู่ภูมิภาค ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้แยกเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศในชื่อ "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ตามพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา [4] นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย [22] ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม บนพื้นที่ 197 ไร่

สัญลักษณ์

ดอกคูณ หรือดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ตราโรจนากร คือ ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีความหมายว่า สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา ภายในมีภาพขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิตซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี โดยแต่ละส่วนของตราโรจนากรนี้ มีความหมายดังนี้

พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว คือ ปรัชญาของมหาวิทยาลัย มีหมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน

ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา

พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี

สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ลายขิต หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน

ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน

  • พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย : พระพุทธกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์

สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา

รวมหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

  • วาทกรรมอัตลักษณ์ประชาคม คือ ลูกพระธาตุนาดูน ดอกคูนผลิช่อ มอน้ำชี ศรีโรจนากร
  • อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน
  • เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ การเป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน
  • ปณิธานของมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันที่มุ่งมั่นในการสั่งสมแสวงหาความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานกับวิทยาการที่เป็นสากลให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญาสามารถพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรมและคุณธรรม

เพลงมหาวิทยาลัย

อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย
ระดับประเทศ
สถาบันที่จัด อันดับ
Times (2018) None[23]
Webometrics (1/2018) 16[24]
QS (Asia) (2018) 14
QS (World) (2015) None[25]
SIR (2017) 23[26]
CWUR (2015) None[27]
URAP (2018) 18
U.S. News (2016) None[28]
ระดับนานาชาติ
สถาบันที่จัด อันดับ
Times (2015) None[29]
Webometrics (1/2016) 1156[30]
QS (Asia) (2015) None[31]
QS (World) (2015) None[32]
SIR (2014) 2863[33]
CWUR (2015) None[34]
URAP (2014) 1767[35]
U.S. News (2016) None[36]
None หมายถึง ไม่ได้รับการจัดอันดับ

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

เมื่อปี พ.ศ. 2549 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลได้เข้าร่วมการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งจัดประเมินโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีหน่วยงานเข้าร่วม 436 หน่วยงาน จาก 36 สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถูกจัดอันดับอยู่ในระดับ 4 (ดี) [37]และต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ภาควิชาวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าร่วมประเมินในโครงการดังกล่าวในสาขา Agricultural/Irrigation/Water Resources Engineering และ Other Engineering Disciplines ผลการประเมินถูกจัดอยู่ในระดับ 5 (ดีมาก) [38]

อันดับมหาวิทยาลัย

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่

การจัดอันดับโดย Webometrics

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ปี พ.ศ. 2559 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับโอเมตริกซ์จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวนลิงก์ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บสถาบันจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยเสิร์ชเอนจิน (Search engine) และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในไฟล์ (อาทีเช่น .pdf .ps .ppt และ .doc) และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citations) ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) เว็บโอเมตริกซ์0tจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมกราคม และกรกฎาคม การจัดอันดับล่าสุดในรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ในอันดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อันดับที่ 25 ของภูมิภาคอาเซียน อันดับที่ 279 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 1156 ของโลก [39]

การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2863 ของโลก อันดับที่ 767 ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับ 15 ของประเทศไทย[40] ส่วนปี ค.ศ. 2017 อยู่ในลำดับที่ 23 ของประเทศไทย, ลำดับ 649 ของทวีปเอเชีย และลำดับ 1130 ของโลก[26]

การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 16 ของประเทศไทย และอันดับ 1767 ของโลก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม B โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง[41]

การศึกษา

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การบริหารการศึกษาดำเนินการโดย 18 คณะ 2 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย และ 2 สถาบันวิจัย [3]: 5  ในปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยเปิดการสอนหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 177 สาขาวิชา [3]: 5  เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 87 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 56 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก 34 สาขาวิชา [3]: 3  ประกอบไปด้วย

การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ

ระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ [42]

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป การคัดเลือกจะทำ 5 รอบ ตามระบบและเกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS [42]: 24  การรับสมัครและการคัดเลือกแต่ละรอบตามระบบ TCAS จะเป็นไปตามปฏิทินการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีประจำปีของมหาวิทยาลัย และรายละเอีนดของเกณฑ์พื้นฐาน ดังเช่น เอกสารแผ่นพับการรับสมัครประจำปีการศึกษา 2561 [43]
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดสอบคัดเลือกหรือรับเข้าโดยตรง ตามโครงการต่าง ๆ ดังนี้ [42]: 38–45  ตามเอกสารที่มหาวิทยาลัยประกาศให้ทราบล่วงหน้าเป็นรายปี [43]
  • มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ผ่านทางเว็บไซต์ของผ่ายวิชาการ [44]
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 คณะดำเนินการเอง

ระดับปริญญาโท

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [45]

  • ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
  • ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50, หรือ
  • มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี และมีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [46]
  • กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
  • มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาโท ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
  • แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

ระดับปริญญาเอก

คณะ และหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • คณะศึกษาศาสตร์
  • การบริหารและพัฒนาการศึกษา
  • จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
  • วิจัยและประเมินผลการศึกษา
  • วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
  • หลักสูตรและการสอน

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [45]: 5 

  • ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
  • ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 81.25 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25, หรือ
  • มีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [46] โดยพิจารณาผลการสอบข้อเชียนและผลงานวิชาการอื่นประกอบ
  • กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
  • มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
  • แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

พื้นที่มหาวิทยาลัย

พื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีจำนวนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1300 ไร่[47] โดยแบ่งออกเป็น 3 เขตพื้นที่ คือ

เขตพื้นที่ในเมือง หรือ ม.เก่า

ตั้งอยู่ที่ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ระยะห่างจากเขตพื้นที่ขามเรียงประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากเขตพื้นที่นาสีนวลประมาณ 29 กิโลเมตร โดยเป็นพื้นที่เดิมของมหาวิทยาลัย ในช่วงตั้งแต่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของคณะศึกษาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะบัญชีและการจัดการ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งหน่วยงานและสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่

เขตพื้นที่ขามเรียง หรือ ม.ใหม่

ตั้งอยู่ที่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ใหม่ที่ขยายเพื่อรองรับการเติบโตของมหาวิทยาลัย เริ่มแรกนั้นมีเพียงอาคารราชนครินทร์เป็นอาคารเรียนแรก ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางบริหารงานมหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งหน่วยงานและสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่

  • คณะที่เหลือทั้งหมดนอกจากเขตพื้นที่ในเมืองอีก 13 คณะ
  • วิทยาลัยการเมืองการปกครองและวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
  • สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
  • สำนักวิทยบริการ
  • สำนักคอมพิวเตอร์
  • สำนักงานอธิการบดี
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
  • สำนักศึกษาทั่วไป
  • สำนักบริการวิชาการ
  • บัณฑิตวิทยาลัย
  • ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา
  • พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศูนย์นวัตกรรมไหม
  • อาคารพละศึกษา
  • อาคารบริการกลาง
  • ตลาดน้อย
  • หอพัก โดยหอพักในเขตพื้นที่ขามเรียงจะตั้งชื่อตามอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม มีทั้งหมด 10 หอพัก ได้แก่ หอพักกุดรัง หอพักบรบือ หอพักเชียงยืน หอพักนาดูน หอพักพยัคฆภูมิพิสัย หอพักโกสุมพิสัย หอพักยางสีสุราช หอพักกันทรวิชัย หอพักวาปีปทุม และหอพักชื่นชม[48]

เขตพื้นที่นาสีนวล

ตั้งอยู่ ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากเขตพื้นที่ขามเรียงประมาณ 16 กิโลเมตร เดิมพื้นที่นี้เป็นโครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นฟาร์มมหาวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการสร้างอาคารปฏิบัติการและโรงพยาบาลสัตว์ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ ปัจจุบันเขตพื้นที่นาสีนวลเป็นพื้นที่ให้ปฏิบัติงานในด้านการเรียนรู้การสอนของคณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเทคโนโลยี มีสถานที่ ได้แก่

การเดินทาง

การเดินทางมามหาวิทยาลัย

นิสิต นักเรียน บุคลากร และบุคคลทั่วไปสามารถเดินทางมามหาวิทยาลัยได้ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว และรถโดยสารประจำทาง โดยรถโดยสารประจำทางที่มีให้บริการในจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน คือ รถสองแถว แบ่งออกเป็นสายเส้นทาง ดังนี้

การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้จัดรถบริการแก่นิสิต นักเรียน บุคลากร และบุคคลทั่วไป เพื่อให้ได้เดินทางไปยังคณะหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยมีรถรางไฟฟ้าที่ผ่านหน่วยงานสถานที่ที่สำคัญในเขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) ผู้ใช้บริการสามารถขึ้นลงได้ตามจุดจอดรถเท่านั้น โดยมีป้ายจุดจอดรถต่าง ๆ ดังนี้ จุดพักรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า จุดจอดรถหลังพลาซ่า จุดจอดรถหอชื่นชม จุดจอดรถหน้าตึกคณะการบัญชีฯ จุดจอดรถหน้าเซเว่น ข้างอาคารบริการนิสิต จุดจอดหน้าคณะวิทยาศาสตร์ (เยื้องตึกวิทยาศาสตร์) จุดจอดหน้าคณะวิทยาศาสตร์ (ป้ายรถเมล์) จุดจอดหน้าคณะสถาปัตยกรรมฯ จุดจอดรถคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุดจอดรถหน้าป้ายคณะการบัญชีฯ จุดจอดริมคลองป้ายรถเมล์ตรงข้ามคณะการบัญชี จุดจอดรถหน้าอาคารราชครินทร์ (คณะนิติศาสตร์) จุดจอดรถหน้าคณะมนุษยศาสตร์ฯ จุดจอดรถวิทยาลัยการเมืองการปกครอง จุดจอดรถคณะเภสัชศาสตร์ จุดจอดรถคณะสิ่งแวดล้อมฯ จุดจอดรถคณะพยาบาลศาสตร์ จุดจอดรถคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุดจอดรถคณะสาธารณสุขศาสตร์ จุดจอดสะพานคณะเทคโนโลยี จุดจอดหน้าหอพักกันทรวิชัย-ตลาดน้อย จุดจอดหน้าอาคารพลาซ่า และจะกลับมาสิ้นสุดที่จุดพักรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า[49] ปัจจุบันยังไม่มีรถขนส่งบริการในเขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) และเขตพื้นที่นาสีนวล ส่วนในเขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) สามารถเลือกใช้บริการรถสองแถวได้

โครงการและกิจกรรมที่สำคัญ

งานเทา-งามสัมพันธ์

กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ทั้ง 5 มหาวิทยาลัย โดยอธิการบดีร่วมเล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้าน คือ ด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการ


ทำเนียบอธิการบดี

วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม
ลำดับ รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ดร.สายหยุด จำปาทอง พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2512
[50][51]
2. รองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ไชยโกษี พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516 [52]
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517 [52]
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
ลำดับ รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1.
รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518 [52]
2.
รองศาสตราจารย์ ชูเกียรติ มณีธร พ.ศ. 2518 (รักษาการ) [52]
3.
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐ พ.ศ. 2519 [52]
4.
รองศาสตราจารย์ ดร. ชาตรี เมืองนาโพธิ์ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2524 [52]
5.
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจน พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2526 [52]
6.
ดร. ถวิล ลดาวัลย์ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2530 [52]
7.
รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยะกาญจน พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534 [52]
8.
รองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 [52]
9.
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด พ.ศ. 2537 [52]
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ลำดับ รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1.
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด พ.ศ. 2538 (รักษาการ) [52]
2.
เภสัชกร ศาสตราภิชาน ดร.ภาวิช ทองโรจน์ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546 [52]
3.
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อดุลย์ วิริยเวชกุล พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550 [52]
4.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์ สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 (รักษาการ) [52]
5.
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2558
[52]
6.
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559 (รักษาการ) [52]
7.
ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562 [53]
8.
รองศาสตราจารย์เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน (รักษาการ) [54]

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย

ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2551
2. พลเอกสุพิทย์ วรอุทัย 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
3. อำนวย ปะติเส 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
4. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อักขราทร จุฬารัตน 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556
5. ปัญญา ถนอมรอด 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี

อ้างอิง

  1. "ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี". 2562. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มาตรา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๖๙ ง ประกาศใช้เมื่อ 10 มิถนายน 2556. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 "รายงานข้อมูลพื้นฐาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2560" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๓๗, มาตรา เล่ม ๑๑๑ ตอนพิเศษ ๕๔ ก ประกาศใช้เมื่อ 9 ธันวาคม 2537. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  5. องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด (2554). "ประวัติเมืองร้อยเอ็ด". สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา (2558). "รู้จักกับภาคอีสานของไทย" (PDF). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ธวัช ปุณโณทก (2526). พื้นเวียง : การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอีสาน. สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2556). "ประวัติมหาวิทยาลัย". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (2558). "ประวัติกระทรวงอุตสาหกรรม". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 สมาคมศิษย์เก่า มศว (28 เมษายน 2536). 44 ปี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  11. 11.0 11.1 11.2 "ประวัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ". 2555. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. 12.0 12.1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (2550). "เว็บไซต์เชิดชูเกียรติ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปูชนียบุคคลแห่งวงการศึกษาไทย". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. 13.0 13.1 กนกวลี ชูชัยยะ และกฤษฎา บุณยสมิต (2546). หนังสือชุดบุคคลสำคัญของไทยที่โลกยกย่อง : หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล. กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.
  14. 14.0 14.1 สมาคมศิษย์เก่า มศว. (2501). หนังสือที่ระลึก ประสานมิตรบัณฑิต รุ่น 5.
  15. ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497, มาตรา เล่ม ๗๑ ตอนพิเศษ ๖๑ ประกาศใช้เมื่อ 28 กันยายน พ.ศ. 2497. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2559.
  16. กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ (2535). แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร. p. 139.
  17. สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2554). "รวบรวมครูเทพศิรินทร์ตั้งแต่อดีต". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ (2535). แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร. p. 137.
  19. 19.0 19.1 ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗, มาตรา เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ประกาศใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2517. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  20. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (9-10), [จัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน และให้มีสำนักงานเลขานุการในสถาบันดังกล่าว], มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๙๘ ประกาศใช้เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  21. ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (36), ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๓๙ ประกาศใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  22. ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  23. The World University Rankings (2018). "World University Rankings 2018". สืบค้นเมื่อ March 6, 2018.
  24. VoiceTV (2559). "ผลการจัดอันดับคุณภาพด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยทั่วโลก จากเว็บโบเมตริกส์ ประเทศสเปน". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. QS Top Universities (2016). "QS World University Rankings® 2015/16". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. 26.0 26.1 SCIMAGO Lab (2017). "SCIMAGO Institution Rankings". สืบค้นเมื่อ March 6, 2018.
  27. Center for World Universities Rankings (2015). "CWUR 2015 - Thailand". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  28. U.S. News & World Report (2016). "Global Universities Search". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  29. The World University Rankings (2016). "World University Rankings 2015-2016". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  30. Webometrics (2016). "Asia". สืบค้นเมื่อ =March 5, 2016. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  31. QS Top Universities (2018). "QS World Uniersity Ranking". สืบค้นเมื่อ March 6, 2018.
  32. QS World Universities (2016). "QS World University Rankings® 2015/16". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  33. SCIMAGO Lab (2014). "SIR World Report 2014". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  34. Center for World University Rankings (2015). "CWUR 2015 - World University Rankings". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  35. METU Informatics Institute (2013). "2013-2014 World Ranking (251-500)". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  36. U.S. News & World Reports (2015). "Best Global Universities Rankings". สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  37. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2549). "สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553". สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2554). "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554". สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. Webometrics (2016). "Ranking Web of Universities". สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. SCImago Institutions Ranking (2012). "Scimago Institutions Ranking". สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. University Ranking by Academic Performance (2015). "2014-2015 RANKING BY COUNTRY". สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. 42.0 42.1 42.2 ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2561 (PDF). กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 28 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. 43.0 43.1 เอกสารแผ่นพับการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2561 (PDF). กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. เว็บไซต์ผ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  45. 45.0 45.1 บัณฑิตวิทยาลัย (2560). การรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561 (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. 46.0 46.1 บัณฑิตวิทยาลัย. รายละเuอียดและคุณสมบัตเฉพาะสาขาของผู้สมัครสอบระดับปริญญาโท (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. เรื่องเล่าน่ารู้ เกี่ยวกับ มมส. (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม), เข้าถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
  48. 48.0 48.1 หอพักมหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
  49. Mahasarakham University EV-BUS, BusStop. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
  50. งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (27 มิถุนายน 2552). "เชิดชูเกียรติ มุทิตา – คารวะเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  51. งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (27 มิถุนายน 2552). "เชิดชูเกียรติ มุทิตา – คารวะเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง". สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. 52.00 52.01 52.02 52.03 52.04 52.05 52.06 52.07 52.08 52.09 52.10 52.11 52.12 52.13 52.14 52.15 52.16 เอื้ออารีย์ ปานพิมพ์ใหญ่ (2562). "ทำเนียบอธิการบดี". สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |archivedate= (help)
  53. "มมส แสดงความยินดี ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช ในโอกาสดำรงตำแหน่งเลขา สกอ". สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  54. "ขอแสดงความยินดีกับผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี มมส และคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์คนใหม่". สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น