คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คําขวัญ | ผู้มีปัญญา พึงสร้างสรรค์เพื่อมหาชน |
---|---|
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts |
อักษรย่อ | ARCH |
สังกัด | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
ที่อยู่ | อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์ 043-754381 โทรสาร 043-754382 |
วันก่อตั้ง | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (20 ปี) |
คณบดี | ผศ.ดร.พลเดช เชาวรัตน์ |
สีประจําคณะ | สีน้ำตาล |
เว็บไซต์ | arch.msu.ac.th |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายใต้ “โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์” และสภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้ง “คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์” เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2543 [1] เป็นคณะลำดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี 6 หลักสูตร และปริญญาโท 1 หลักสูตร ได้แก่ ระดับปริญญาตรี หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาสถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมผังเมือง, และสาขาสถาปัตยกรรมภายใน), ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาภูมิสถาปัตยกรรม), ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขานฤมิตศิลป์) และ วิทยาศาสตรบัณฑิต (การบริหารการก่อสร้าง) และปริญญาโท หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการวางผังชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม) [2]:7
ประวัติ[แก้]
เมื่อปี พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้จัดตั้ง “โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์” โดยในระยะแรกได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยคณาสวัสดิ์ (ปัจจุบัน วิทยาลัยศรีอีสาน (คณาสวัสดิ์อุทิศ)) ในด้านอาคารเรียนสำหรับการเปิดหลักสูตรสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมเมืองและชุมชน และหลักสูตรนฤมิตศิลป์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2542 คณะฯ ได้ย้ายสถานที่ทำการมายังอาคารเรียนรวมศิลปกรรม ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ม.ใหม่) ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม [1]
ในปีเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้จัดตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์
ในปี พ.ศ. 2549 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ได้ขยายการศึกษาโดยเปิดหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน
ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2550 ได้ย้ายอาคารเรียนและสถานที่ทำการจากอาคารเรียนรวมศิลปกรรมศาสตร์ เป็นอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ [1]
ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 คณะฯ ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรีใหม่อีก 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิสถาปัตยกรรม และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการก่อสร้าง [1][2]:7
สถานที่และการเดินทาง[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบริหารและการจัดการ[แก้]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มีการบริหารงานเช่นเดียวกับคณะวิชาทั่วไป คือ มีคณะกรรมการบริหารคณะ มีคณบดีเป็นผู้นำการบริหาร และรองคณบดีและผู้ช่วยคณบดีกำกับดูแล ตามโครงสร้างองค์กรในแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ดังนี้ [3][2]:11-13
การจัดการเรียนการสอน | การวิจัยและพัฒนา | สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน |
|
- เชิงอรรถ
หลักสูตรการศึกษา[แก้]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ จัดการเรียนการสอนใน 2 ระดับการศึกษา คือ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท โดยการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต (ปริญญาตรี) ใช้ระบบทวิภาค คือ แบ่งปีการศึกษาหนึ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย (หรืออาจมีภาคฤดูร้อนก็ได้) หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต เป็น 6 หลักสูตร ได้แก่ สถาปัตยกรรมศาสตร์ (สถาปัตยกรรมผังเมือง และสถาปัตยกรรมภายใน) ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ภูมิสถาปัตยกรรม), วิทยาศาสตร์ (การบริหารการก่อสร้าง), และศิลปกรรมศาสตร์ (นฤมิตศิลป์)[4] ทั้งหกหลักสูตรได้รับการรับรองจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมีชื่อปริญญาและอักษรย่อ ตามราชกิจจานุเบกษา ปี พ.ศ. 2551 [5]:9
ส่วนหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต มี 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม ซึ่งใช้ระยะเวลาศึกษา 2 ปี [6][7] โดยได้รับการรับรองจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2554[8]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) 5 ปี
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภ.สถ.บ.) 5 ปี
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) 5 ปี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี
|
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
|
- |
- เชิงอรรถ
การรับบุคคลเข้าศึกษา[แก้]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 3 วิธี ได้แก่
- ระบบแอดมิชชั่นในระบบกลาง โดย ทปอ.
- ระบบรับตรง โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ระบบรับตรงพิเศษ โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม [9][10]
การวิจัยที่สำคัญ[แก้]
- พ.ศ. 2558 : การพัฒนาประเทศสิงคโปร์: กระบวนการ การเปลี่ยนผ่าน และความท้าทาย โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งประเทศไทย (สกว.) ภายใต้ชุด ASEAN Expert โดยฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ - ผศ. ดร. เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย [11][12]
ทำเนียบคณบดี[แก้]
ลำดับที่ | นาม | ระยะเวลา | อ้างอิง |
---|---|---|---|
1 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มณี พนิชการ | พ.ศ. 2546 - 2549 | [13] |
2 | อาจารย์พวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์ | พ.ศ. 2550 - 2553 | [14] |
3 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธราวุฒิ บุญเหลือ | พ.ศ. 2554 - 2558 | [15] |
- | รองศาสตราจารย์ เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส (รักษาการ) | สิงหาคม พ.ศ. 2558 | [16] |
4 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พลเดช เชาวรัตน์ | พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน | [17] |
กิจกรรมและโครงการที่สำคัญ[แก้]
- ค่ายสถาปัตย์สัญจร เป็นกิจกรรมที่สโมสรนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ จัดประจำทุกปี เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาโรงเรียนในชนบท และสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อสังคม ดังเช่น ค่ายสถาปัตย์สัญจร ครั้งที่ 17 ซึ่งได้สร้างอาคารเรียน ชั้นอนุบาล บ้านดงเกลือ ต.คูเมือง อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ด ในเดือนพฤษภาคม 2561 [18]
- นิทรรศการวิทยานิพนธ์ เป็นกิจกรรมทางวิชาการประจำทุกปีสำหรับนักศึกษา โดยการจัดเสวนาเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา และมีการคัดเลือกผลงานวิทยานิพนธ์ดีเด่นจากทุกสาขาวิชา และมอยรางวัลวิทยานิพนธ์แห่งปี (Thesis of the Year) ดังเช่น นิทรรศการประจำปีการศึกษา 2560 [19] และปีการศึกษา 2559 [20]
- สัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กับนักศึกษาจากต่างประเทศ ดังเช่น สัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมครั้งที่ 5 กับ University of Cincinnati สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2559 [21] และครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 25ุ60 [22]
- โฮมภูมิ เป็นความร่วมมือของคณะที่มีการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 8 แห่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [2]:8 เพื่อการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและยกระดับศักยภาพของสถาปัตยกรรมไทย โฮมภูมิ ครั้งแรกในหัวข้อ “เครือข่ายภูมิปัญญาสถาปัตยกรรมและการออกแบบ เอกภาพในความหลากหลาย” จัดขึ้นที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[23]
|
|
- หลังจากนั้นก็มีการจัด โฮมภูมิ ครั้งที่ 2 ในปี 2558 ที่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา [24] และครั้งที่ 3 ในปี 2560 ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [25]
- โครงการพัฒนาลวดลายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมไทย เพื่อสร้างทายาทหม่อนไหมระดับเยาวชน สนับสนุนส่งเสริมภูมิปัญญาด้านการทอผ้าหัตถกรรมให้เป็นต้นทุนในการต่อยอดพัฒนาลวดลายผ้าและกระบวนการผลิต เกิดเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ร่วมสมัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โครงการนี้เป็นความร่วมมือของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ 6 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม [26]
- โครงการอนุรักษ์พระบรมธาตุนาดูน ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นความร่วมมือกับกองทุนพัฒนาและอนุรักษ์พระบรมธาตุนาดูนตำบลนาดูน เพื่อการดำเนินงานร่วมกันทางด้านวิชาการในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะการจัดทำผังแม่บทของพื้นที่ และเป็นแหล่งเรียนรู้สาธารณะ [27]
นิสิตเก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประวัติความเป็นมา". arch.msu.ac.th. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 รพีพร เบือนขุนทด; ละเอียด โกหลำ (1 กุมภาพันธ์ 2560). "แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" (PDF). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม): 62. https://drive.google.com/file/d/0Bz0SmSerNeWiZkxLLWpHMGEzSFk/view. เรียกข้อมูลเมื่อ 19 มิภุนายน 2561.
- ↑ "คณะกรรมการบริหาร สำนัก/สาขา บุคลากร". arch.msu.ac.th. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "หลักสูตร". arch.msu.ac.th. กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑, มาตรา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๘๑ ก ประกาศใช้เมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561.
- ↑ "หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม (หลักสูตรใหม่ 2554)". arch.msu.ac.th. สิงหาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม (หลักสูตรใหม่ 2554)". arch.msu.ac.th. พฤศจิกายน 2555. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม" (PDF). arch.msu.ac.th. 2556. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "โปสเตอร์การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบพิเศษ ประจำปีการศึกษา 2557" (PDF). acad.msu.ac.th. 9 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ประกาศการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี ระบบพิเศษ กรณีนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2557" (PDF). acad.msu.ac.th. 18 มีนาคม 2557. p. 2. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2557. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "การพัฒนาประเทศสิงคโปร์: กระบวนการ การเปลี่ยนผ่าน และความท้าทาย". สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย. สืบค้นเมื่อ 19 มbถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "รายละเอียดโครงการวิจัย SRI5810112 >> การพัฒนาประเทศสิงคโปร์: กระบวนการ การเปลี่ยนผ่าน และความท้าทาย". Elibrary.trf.or.th. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 19 มbถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งตั้งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (นางมณี พนิชการ)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 เมษายน 2546. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งตั้งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (นางพวงเพ็ญ วิบูลย์สวัสดิ์)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 6 สิงหาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งตั้งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (นายธราวุฒิ บุญเหลือ)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "คำสั่งมหาวิทยาลัย เรื่องแต่งผู้รักษาการคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (รศ.เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29 กรกฎาคม 2558. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help); Missing or empty|url=
(help);|access-date=
requires|url=
(help) - ↑ "คำสั่ง แต่งตั้งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (นายพลเดช เชาวรัตน์)". สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 28 สิงหาคม 2558. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help); Missing or empty|url=
(help);|access-date=
requires|url=
(help) - ↑ ปิยะนุช อินทร์พรหม (ม.ป.ป.). "คณะสถาปัตย์ฯ มมส. ได้จัดค่ายสถาปัตย์สัญจร ครั้งที่ 17". Arch.msu.ac.th. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ วุฒิไกร ป้อมมะรัง (27 เมษายน 2561). "คณะสถาปัตย์ฯ มมส จัดโครงการ Thesis of The Year 2017". Arch.msu.ac.th. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ จัดโครงการ Thesis of The Year 2016 ที่ยูทูบ
- ↑ วุฒิไกร ป้อมมะรัง (25 กรกฎาคม 2559). "สัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมครั้งที่ 5". Arch.msu.ac.th. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี (26 มิถุนายน 2560). "กิจกรรมการนำเสนอวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา". Arch.msu.ac.th. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ การประชุมวิชาการโฮมภูมิ ครั้งที่ 1 (9-10 พฤศจิกายน 2556) (PDF). โฮมภูมิ. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์. 9-10 พฤศจิกายน 2556. p. 4. สืบค้นเมื่อ 19 มิภุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "การประชุมวิชาการระดับชาติ "โฮมภูมิ" ครั้งที่ 2". คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 10 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "โฮมภูมิ ครั้งที่ 3 "ภูมิปัญญาสู่อนาคต"". คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "กรมหม่อนไหมจับมือ 6 สถาบันการศึกษาพัฒนาลวดลายผ้าไหม..." Arch.msu.ac.th. 11 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่ท้องถิ่น". Arch.msu.ac.th. 5 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ทางการ
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เฟซบุ๊ก
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย - แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม