บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Graduate School of Mahasarakham University
ชื่อย่อบว. / GS
สถาปนาบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาเขตมหาสารคาม
· 8 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (44 ปี)
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
· 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 (20 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีผศ.ดร.กริสน์ ชัยมูล[1]
ที่อยู่
อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ (SC3) ชั้น 1 เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150[2]
สี████ สีส้ม-น้ำเงิน
มาสคอต
ตราโรจนากร
เว็บไซต์grad.msu.ac.th

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Graduate School, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับวิทยาลัยสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีฐานะเป็นคณะหรือหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเฉพาะหลักสูตรสหสาขา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่หลายคณะร่วมกันจัดการเรียนการสอน

ประวัติ[แก้]

อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ ที่ตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
  • วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ก่อตั้งบัณฑิตวิทยาลัยที่วิทยาเขตมหาสารคาม ครั้งเมื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ใช้ชื่อว่า “บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม”
  • วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ได้แยกตัวเป็นเอกเทศ จึงได้เปลี่ยนการดำเนินงานจากบัณฑิตวิทยาลัยเป็น งานบริหารบัณฑิตศึกษา สังกัดกองบริการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ
  • พ.ศ. 2540 งานบริหารบัณฑิตศึกษา จัดตั้งเป็น“สำนักงานบัณฑิตศึกษา”
  • 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ยกระดับเป็นหน่วยงานระดับคณะอีกครั้งคือ “บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”[3] พร้อมทั้งประกาศในระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2546 ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546[4] ภายใต้การบริหารงานของคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะ มีรูปแบบการบริหารงานในลักษณะนอกระบบราชการ มีภารกิจในการบริหารและจัดการการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในบทบาทของการเป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนการจัดการศึกษา กำกับและควบคุมมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและบริหารการจัดการหลักสูตรของคณะ และหลักสูตรสาขาวิชาร่วมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

หลักสูตรการศึกษา[แก้]

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำหน้าที่บริหารและจัดการการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในบทบาทของการเป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนการจัดการศึกษา กำกับและควบคุมมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและบริหารการจัดการหลักสูตรของคณะ และหลักสูตรสาขาวิชาร่วมให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีหลักสูตรจากคณะต่างๆ ที่บริหารโดยบัณฑิตวิทยาลัยทั้งสิ้น 108 หลักสูตร จาก 19 คณะ/วิทยาลัยและ 1 สถาบันวิจัย แบ่งเป็นระดับปริญญาโท 66 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 42 หลักสูตรดังนี้


หลักสูตรที่เปิดสอนในบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[5]
คณะวิชา/วิทยาลัย/สถาบัน ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

คณะศึกษาศาสตร์[แก้]

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
  • สาขาวิชาจิตวิทยา
  • สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)

  • สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
  • สาขาวิชาการนิเทศและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
  • สาขาวิชาจิตวิทยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[แก้]

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนา
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาการสอนภาษาและวรรณกรรมไทย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาศาสนาและภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนา
  • สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

คณะวิทยาศาสตร์[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาชีววิทยา
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
  • สาขาวิชาวิทยาการจัดการสถิติ
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาพลังงาน

หลักสูตการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาบรรพชีวินวิทยา
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวิทยาการจัดการสถิติ

คณะเทคโนโลยี[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและธุรกิจชีวภาพ
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนชีวภาพ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร (นานาชาติ)
  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์

คณะวิทยาการสารสนเทศ[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาสื่อนฤมิต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

หลักสูตรสารสนเทศศาสตรมหาบัณฑิต (สท.ม.)

  • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาสื่อนฤมิต

คณะการบัญชีและการจัดการ[แก้]

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)

  • สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรการจัดการหาบัณฑิต (กจ.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์
  • สาขาวิชาการจัดการการตลาดสมัยใหม่
  • สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัลและระบบสารสนเทศ
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ศ.ม.)

  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและนวัตกรรมธุรกิจ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัล

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาการบัญชี
  • สาขาวิชาการจัดการการตลาด
  • สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตซิตี้และนวัตกรรมดิจิทัล
  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล

คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์[แก้]

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)

  • สาขาวิชาทัศนศิลป์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาศิลปะการแสดง
  • สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการวิจัยและสร้างสรรค์ศิลปกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์[แก้]

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)

  • สาขาวิชาการวางผังชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม

-

คณะวิศวกรรมศาสตร์[แก้]

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์

คณะเภสัชศาสตร์[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

หลักสูตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)

  • สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
  • สาขาวิชาเภสัชกรรมปฐมภูมิ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเภสัชศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์[แก้]

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางสุขภาพและความปลอดภัย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีทางสุขภาพและความปลอดภัย

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)

  • สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์[แก้]

หลักหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • สาขาวิชานวัตกรรมสุขภาพเขตร้อน (หลักสูตรนานาชาติ)*

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (นานาชาติ)

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม[แก้]

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)

  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา
  • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • สาขาวิชานวัตกรรมทางเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงาน

คณะพยาบาลศาสตร์[แก้]

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)

  • สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
  • สาขาวิชาการผดุงครรภ์
  • สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
  • สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

-

วิทยาลัยการเมืองการปกครอง[แก้]

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชารัฐศาสตร์

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์[แก้]

หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาดุริยางคศิลป์

สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาความหลากหลายทางชีวภาพ

คณะสัตวแพทยศาสตร์[แก้]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์

คณะนิติศาสตร์[แก้]

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)

  • สาขาวิชานิติศาสตร์

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ (เท่าที่มีการบันทึก)


ทำเนียบผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[6]
รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
รายนามรองคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ไม่ทราบข้อมูล พ.ศ. 2522 - 2546
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายไพฑูรย์ สุขศรีงาม พ.ศ. 2546 - 2550
2. นายไพฑูรย์ สุขศรีงาม (วาระที่สอง) พ.ศ. 2550 - 2555
3. รศ.ณฐนนท์ ตราชู (รักษาการ) พ.ศ. 2555 - 2555
4. ศ.ปรีชา ประเทพา (รักษาการ) พ.ศ. 2555 - 2556
5. รศ.เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส (รักษาการ) พ.ศ. 2556 - 2556
6. รศ.สุนันท์ สายกระสุน (รักษาการ) พ.ศ. 2556 - 2556
7. ศ.ประดิษฐ์ เทอดทูล พ.ศ. 2557 - 2561
8. ผศ.ดร.กริสน์ ชัยมูล พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "CONTACT US มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-21. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "ประวัติบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-22. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. 2546 สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2564.
  5. จำนวนหลักสูตรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 5 กรกฎาคม 2564.
  6. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รายนามคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, 8 เมษายน 2564

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]