คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
![]() | |
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Engineering, Mahasarakham University |
---|---|
อักษรย่อ | EN |
ที่อยู่ | อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์ เลขที่ 41 หมู่ 20 ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150 |
วันก่อตั้ง | 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 (21 ปี) |
คณบดี | ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง(รักษาการ)[1] |
สีประจำคณะ | สีเลือดหมู |
สัญลักษณ์ | เกียร์ |
เว็บไซต์ | www.engineer.msu.ac.th |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Engineering, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตามมิติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542[1] ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะลำดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ เขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) และเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต
ประวัติ[แก้]
ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2542 ได้มีมติให้จัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามขึ้น[1] โดยมีคณบดีคนแรกคือ ศาสตราจารย์ ดร.กิตติ อินทรานนท์ ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้ถูกเชิญมาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2]
ในช่วงแรกเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนอยู่ 2 หลักสูตร คือหลักสูตรวิศวกรรมชนบท และหลักสูตรวิศวกรรมการผลิต โดยในขณะนั้นยังไม่มีอาจารย์ผู้สอน ท่านคณบดีคนแรกของคณะคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เชิญอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยขอนแก่นมาเป็นอาจารย์ผู้สอน เดิมที่ตั้งคณะอาศัยอยู่ที่อาคารราชนครินทร์ ชั้น 7 และในช่วงนั้นยังได้มีการขอใช้ห้องทดลองในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในอดีตนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์มีสองสำนักวิชาคือ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และสำนักวิชาคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อมาภายหลังสำนักวิชาคอมพิวเตอร์ได้แยกตัวออกเป็นคณะวิทยาการสารสนเทศ[2] และในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[1]
ในปี พ.ศ. 2544 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิศวกรรมชนบท แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[3][4]
ในปี พ.ศ. 2560 คณะวิศวกรรมศาสตร์มีบุคลากรทั้งหมด 92 คน มีนิสิตทั้งหมด 2,289 คน[5]
หลักสูตร[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
|
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
คณบดี[แก้]
ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
---|---|---|
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. ศาสตราจารย์ ดร.กิตติ อินทรานนท์ | พ.ศ. 2542 - 2544 | |
2. ศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต | พ.ศ. 2544 - 2549 | |
3. ศาสตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล | พ.ศ. 2549 - 2555 | |
4. ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช | พ.ศ. 2555 - 2559 | |
5. ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง(รักษาการ) | พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. "ประวัติความเป็นมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 รองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง. วีดิทัศน์ครบรอบ 20 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ 18 มีนาคม 2562 (วีดีทัศน์). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เกิดเหตุเมื่อ 11.55 นาที.
- ↑ รายพระนามและรายนามปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ↑ คำประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
- ↑ "รายงานข้อมูลพื้นฐาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2560" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เฟซบุ๊ก
- เฟซบุ๊ก สโมสรนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
|