เสริมไทยคอมเพล็กซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์
ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์ logo
เสริมไทยคอมเพล็กซ์.jpg
ที่ตั้ง76/1-7 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
เปิดให้บริการ21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 (เฟสแรก)
27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (เฟสใหม่)
ผู้บริหารงานบริษัท เสริมไทยคอมเพล็กซ์ จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีก68,000 ตารางเมตร
จำนวนชั้น2 ชั้น (ไม่นับชั้นใต้ดินอีก 1 ชั้น)
ที่จอดรถ2,000 คัน
เว็บไซต์www.sermthai.com/complex2013
โครงการ Shopping in the Garden

ศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์ (อังกฤษ: Sermthai Complex) เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม[1] และเป็นศูนย์การค้าท้องถิ่นขนาดกลางในกลุ่มเสริมไทย บริหารงานโดย บริษัท เสริมไทยคอมเพล็กซ์ จำกัด ตั้งอยู่บนถนนนครสวรรค์ ในพื้นที่ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ใกล้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ประวัติ[แก้]

การก่อตั้ง[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2500 ร้านเสริมไทยได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีนายจิระศักดิ์ คณาสวัสดิ์ เป็นเจ้าของกิจการดูแล โดยเริ่มแรกได้ขายพวกเสื้อผ้า เครื่องสำอาง ยา ต่อมาได้ขยายมาขายพวกเครื่องเขียน เครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การศึกษา และเป็นตัวแทนองค์การค้าของครุสภาประจำจังหวัด

หลังจากนั้นในปี 2526 ได้ขยายกิจการจนกลายมาเป็นห้างสรรพสินค้า 6 ชั้นที่เริ่มในนาม "ห้างเสริมไทยพลาซ่า" ถือเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกในจังหวัด

ต่อมาในปี 2546 บริษัท เสริมไทย (2003) จำกัด นำโดยนพ.กิตติศักดิ์ และ พญ.โศรยา คณาสวัสดิ์ พร้อมทั้งคณะได้รับช่วงต่อให้ดูแลกิจการจากกิจการครอบครัวจึงได้ปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบให้เป็นมาตรฐานและสวยงามมากขึ้นและเปลี่ยนได้ชื่อเป็น "เสริมไทยพลาซ่า" บนเนื้อที่ 2 ไร่ครึ่ง ต่อมาในปี 2555 ก็ได้ขยายกิจการมาสร้างอีกห้างหนึ่งในชื่อ "เสริมไทยคอมเพล็กซ์"[2]

ปัจจุบันศูนย์การค้าเสริมไทยคอมเพล็กซ์มีพื้นที่ใช้สอยรวมกว่า 60,000 ตารางเมตร และได้มีโครงการขยายพื้นที่ภายใต้แนวคิด “Sermthai Complex Shopping in the garden”

โครงการ Shopping In the Garden[แก้]

เสริมไทยคอมเพล็กซ์ โดยการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่า 8,000 ตารางเมตร ด้วยงบการลงทุนกว่า 300 ล้านบาทเพื่อรองรับจำนวนลูกค้าที่มากขึ้น ภายใต้แนวคิด “Sermthai Complex Shopping in the garden” หรือ เสริมไทยคอมเพล็กซ์ เฟส 2 เปิดให้บริการในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ภายในส่วนขยายประกอบด้วย "Co-Working Space" เป็นพื้นที่ประมาณ 400 ตารางเมตร สำหรับการอ่านหนังสือ ติว ประชุมย่อย พบปะ พูดคุยและพักผ่อน อีกทั้งยังมีร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ เช่น Sport World, Santa Fe, Zein, ร้านนายอินทร์ [3]

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

บริเวณด้านหน้าโรงภาพยนตร์ SF Cinema

เสริมไทยคอมเพล็กซ์ ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • ห้างสรรพสินค้าเสริมไทย ดีพาร์ทเม้นท์ สโตร์
  • โลตัส สาขามหาสารคาม (เดิมชื่อเทสโก้ โลตัส ดีพาร์ทเม้นท์ สโตร์)
  • ร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล
    • บีทูเอส
    • ซูเปอร์สปอร์ต
    • เพาเวอร์บาย
  • สปอร์ตเวิลด์
  • เสริมไทย ไอที
  • เสริมไทยคอมเพล็กซ์ ฟู้ดคอร์ต
  • Co-working Space
  • โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซีเนม่า จำนวน 5 โรงภาพยนตร์
  • แมคโดนัลด์ ไดรฟ์ทรู
  • ศูนย์รวมกวดวิชา

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]