คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Veterinary Sciences, Mahasarakham University | |
![]() | |
ชื่อย่อ | สพ. / VET |
---|---|
คติพจน์ | วิชาการก้าวไกล วิจัยก้าวหน้า พัฒนาสังคม |
สถาปนา | 26 กันยายน พ.ศ. 2551 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณบดี | ผศ.สพ.ญ.ดร.สุกัญญา ลีทองดี |
ที่อยู่ | คณะสัตวแพทยศาสตร์ ในเมือง · เลขที่ 269 หมู่ 2 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000 คณะสัตวแพทยศาสตร์ นาสีนวน · ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทรศัพท์/โทรสาร 043-742-823 |
วารสาร | วารสารสัตวแพทยศาสตร์ |
สี | ███ สีฟ้าหม่น |
มาสคอต | คทาคาดูเซียส และตัว V[1] |
สถานปฏิบัติ | โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน |
เว็บไซต์ | www.vet.msu.ac.th |
![]() |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Faculty of Veterinary Sciences, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 ในชื่อ คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ต่อมาได้โอนย้ายสาขาวิชาสัตวศาสตร์ไปสังกัดคณะเทคโนโลยี จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะสัตวแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 18 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีที่ทำการอยู่ 2 เขตพื้นที่ ได้แก่ เขตพื้นที่ในเมือง และเขตพื้นที่นาสีนวน มีโรงพยาบาลสัตว์ในเครือทั้งหมด 3 แห่ง
ประวัติ[แก้]
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ซึ่งเดิมการดำเนินงานหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นั้นถูกกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการ (แผน 4 ปี) ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ. 2549-2552) ให้ดำเนินงานหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ เพื่อตอบความต้องการทางด้านสัตวแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [2][3]:6-7
โดยโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ประกอบด้วย 3 สาขาวิชาได้แก่ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์และสาขาวิชาประมง อยู่ภายในคณะวิชาเดียวกัน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ จึงได้เสนอขอจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ต่อที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการในรูปแบบโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ไปก่อน ซึ่งหากมีความพร้อมจึงนำกลับมาเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยลงความเห็นเพื่อจัดตั้งเป็นคณะต่อไป
ต่อมาในปี 2551 คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ จึงได้รับการอนุมัติตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง จัดตั้ง"คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์"พ.ศ. 2550 และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Veterinary and Animal Sciences" [2] โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนงานภายใน พ.ศ. 2551 ในการประชุมคร้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551[4]
ในปี พ.ศ. 2555 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะสัตวแพทยศาสตร์" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Veterinary Sciences"[5][2][3]:7 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในสถาบันอดุมศึกษา พ.ศ. 2550 และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งส่วนงานภายใน พ.ศ. 2551 และในคราวประชุมครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 สภามหาวิทยาลัยจึงมีมติให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งโอนสาขาวิชาสัตวศาสตร์ และสาขาวิชาประมงไปสังกัดคณะเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดสร้างศูนย์บริการวิชาการและวิจัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ (โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ เขตพื้นที่โนนราษี [a] อำเภอบรบือ) ประมาณ 20 ไร่ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติและให้บริการวิชาการด้านสุขภาพสัตว์ใหญ่ [b] และจัดหาโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่สำหรับการตรวจรับรองจากสัตวแพทยสภาเมื่อรับนิสิตในปีการศึกษา 2556 โดยเริ่มสำรวจพื้นที่ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 [6]
การบริหารและการจัดการ[แก้]
คณะสัตวแพทยศาสตร์ บริหารงานโดยมีคณะกรรมการประจำคณะ มีคณบดีเป็นผู้นำการบริหาร รองคณบดีฝ่ายบริหารและรองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ รับผิดชอบตามโครงสร้างองค์กร [c] จัดแบ่งออกเป็น 1 สำนักงาน และ 4 ภาควิชาและหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา ดังนี้ [7][3]:9-13
การบริหารงานภายในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
ด้านการบริหารงาน | ด้านการเรียนการสอน | ด้านการวิจัยและพัฒนา | |
|
|
|
หลักสูตรการศึกษา[แก้]
ปัจจุบันคณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดการเรียนการสอน 3 หลักสูตร และสำนักงาน ก.พ. รับรอง[8]:120 และ 1 หลักสูตรฝึกอบรม คือ
- หลักสูตรฝึกอบรมการผสมเทียมโค
- - ระยะเวลาศึกษา 6 ปี สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์
- - ระยะเวลาศึกษา 2 ปี สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
- - ระยะเวลาศึกษา 2 ปี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[14] | |||
---|---|---|---|
ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต |
---|
หลักสูตรฝึกอบรม
|
ห้อง/ศูนย์ปฏิบัติการ[แก้]
- ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือกลางเพื่อการบริการวิชาการ [15]
- ห้องปฏิบัติการหน่วยชันสูตรโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน [16]
- ห้องปฏิบัติการทดสอบสัตว์ [17]
- ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางด้านอาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
- ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางระบบสืบพันธ์ในปศุสัตว์
- ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางโมเลกุล
- ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาทางสัตวแพทย์
- ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
- ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์ทางด้านสัตว์น้ำ
การรับบุคคลเข้าศึกษา[แก้]
- ระดับปริญญาตรี
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ทั้งสิ้น 6 โครงการ ได้แก่
- โครงการส่งเสริมนิสิตสัตวแพทย์ศักยภาพสูง[18]
- โครงการบุตรเกษตรกร[19]
- โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพพระราชทาน[20]
- โครงการโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[21]
- โครงการรับตรงร่วมกัน (แอดมิสชัน 1)[22]
- โครงการรับกลางร่วมกัน (แอดมิสชัน 2)[23]
- ระดับปริญญาโท
การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [24]
- ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
- ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50, หรือ
- มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี และมีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [25]
- กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
- มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาโท ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- ระดับปริญญาเอก
การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [24]:5
- ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
- ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 81.25 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25, หรือ
- มีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [25] โดยพิจารณาผลการสอบข้อเชียนและผลงานวิชาการอื่นประกอบ
- กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
- มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ทำเนียบคณบดี[แก้]
รายนามคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้
ทำเนียบคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
---|---|---|
ลำดับที่ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | รศ.ประจักษ์ พัวเพิ่มพูลศิริ (รักษาการ) | 2551 - 2555 |
2 | นายเอกชัย เจนวิถีสุข | 2555 - 2555 |
3 | รศ.น.สพ.วรพล เองวานิช | 2555 - 2559 |
4 | รศ.น.สพ.วรพล เองวานิช | 2559 - 2563 |
5 | ผศ.น.สพ.ดร.มนกานต์ อินทรกำแหง | 2563 - 2564 |
6 | ผศ.สพ.ญ.ดร.สุกัญญา ลีทองดี | 2564 - ปัจจุบัน |
ผลงานนักศึกษาที่สำคัญ[แก้]
ปี พ.ศ. | งาน | นักศึกษา | สถาบัน - รางวัล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2559 | บทความ: Update on new introduction of epidemic diarrhea virus in Thailand based on spike gene from isolates between 2008-2015 | คริสโตเฟอร์ เจมส์ สก๊อต | ประชุมวิชาการนานาชาติ Animal Health in AEC (โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม) - 3rd Prize of Poster Presentation Award | [3]:15 |
โปสเตอร์: การตรวจหาเชื้อ Ehrilichia canis ในสุขนัขจรจัดในจังหวัดมหาสารคามโดยเทคนิคโมเลกุล | ศิริอร เพ็ชรน้อย อนาวิล ปะกิระตัง ณัฐกานต์ อ้วนมะโรง |
ประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัยครั้งที่ 11 (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) - รางวัลการนำเสนอภาคโปสเตอร์ชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | [3]:15 | |
ผลงานวิจัย: รูปแบบการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อ Staphylococcus aureus และ MRSA จากการเกิดเต้านมอักเสบในโคแบบแสดงอาการและการจัดการฟาร์มที่เกี่ยวข้อง | ทศพล สีรินทร | ประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์สุขภาพระดับชาติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล ครั้งที่ 2 (คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) - (Good Oral Presentation | [3]:15 | |
2560 | โปสเตอร์: Effect of peppermint oil balm on reducing the inflammation of bovine mastitis | ประชุมวิชาการนานาชาติ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | [ต้องการอ้างอิง] |
โรงพยาบาลสัตว์[แก้]
การดำเนินการด้านโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะดำเนินการด้านโรงพยาบาลสัตว์ 3 แห่ง[26] คือ
- โรงพยาบาลสัตว์ เขตพื้นที่ในเมือง เป็นการดำเนินงานโรงพยาบาลสัตว์ (ชั่วคราว) ณ อาคาร UBI มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง) โดยจะดำเนินการโรงพยาบาลสัตว์ตามตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2542 สำหรับการดำเนินการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการในแผนการดำเนินการปีที่ 1 (ปี 2554) สำหรับการดำเนินการโรงพยาบาลสัตว์จะดำเนินการในรายละเอียดดังนี้ มีบริการสัตว์ทั้งสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ และมีรถพยาบาลออกบริการนอกสถานที่ ในส่วนบริการของโรงพยาบาลสัตว์ มีบริการระดับพื้นฐาน ประกอบด้วยส่วนเวชระเบียน ห้องยา ห้องตรวจ (คลินิกปฏิบัติด้านอายุรกรรม) ห้องผ่าตัด (คลินิกปฏิบัติด้านศัลยกรรม) ห้องคลินิกปฏิบัติด้านสูติกรรม ห้องปฏิบัติการรังสีวิทยา ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาและชันสูตรโรค มีการให้บริการผ่าตัดพื้นฐาน เช่น ทำหมัน ทำคลอด ทำแผล และกาผ่าตัดกระดูก มีส่วนรับฝากสัตว์ป่วยภายในโรงพยาบาลสัตว์ และมีนายสัตวแพทย์ประจำเต็มเวลาในโรงพยาบาลสัตว์อย่างน้อย 2 คน
- โรงพยาบาลสัตว์ เขตพื้นที่ปฏิบัติการนาสีนวน ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลสัตว์ที่เขตพื้นที่ปฏิบัติการนาสีนวน ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจำนวน 152 ล้านบาทในการดำเนินงานโดยมีระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2556 (แผนการดำเนินงานปีที่ 1-3) และจะดำเนินการจัดหาครุภัณฆ์ที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลในด้านตรวจรักษาในแผนการดำเนินงานปีที่ 2 จำนวนเงิน 15 ล้านบาท และจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2556
- โรงพยาบาลสัตว์ เขตพื้นที่ขามเรียง การก่อตั้งโรงพยาบาลเขตพื้นที่ขามเรียง เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563[27][28]ก็เพื่อรองรับการเรียนการสอนและฝึกประสบการณ์ของนิสิตในส่วนของชั้นคลีนิค ที่จะให้มีความสามารถในวิชาชีพการสัตวแพทย์ และให้บริการกับประชาชน ชุมชนในเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีจำนวนมาก เฉพาะในส่วนของมหาวิทยาลัยมีนิสิตและบุคลากรเกือบ 40,000 คน และหมู่บ้านต่างๆ และชุมชนโดยรอบ ซึ่งมีประชากรจำนวนมาก และมีการเลี้ยงสัตว์จำนวนมาก ซึ่งการดูแลสุขภาพสัตว์จะเป็นการป้องกันควบคุมดูแลอีกทาง และให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับประชาชนไปพร้อมกัน
โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีบริการในแผนกต่างๆ ไดแก่[29]
- แผนกอายุรกรรมทั่วไป
- แผนกศัลยกรรมทั่วไป
- แผนกฉุกเฉิน
- แผนกวินิจฉัยและรังสี
- แผนกห้องปฏิบัติการ
กีฬาโฮมหมอเกมส์[แก้]
กีฬาโฮมหมอเกมส์ หรือ กีฬาสานสัมพันธ์นิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[30] เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีต่อกันระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน จัดโดยโดยสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรคณะสัตวแพทยศาสตร์
กีฬาสานสัมพันธ์ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน เนื่องจากอนาคตต้องมีการทำงานร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย โดยในงานได้มีการเดินขบวนพาเหรดของสโมสรนิสิตแต่ละคณะ และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ฟุตซอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ, เปตอง และกีฬฮาเฮ อาทิ ชักเย่อ, วิ่งกระสอบ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์
เชิงอรรถ[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ เขตพื้นที่ ตำบลโนนราษี เป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคนมมากที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม มีการเลี้ยงโคเนื้อและโคนมประมาณ 2,000–3,000 ตัว
- ↑ บริการวิชาการด้านสุขภาพสัตว์ใหญ่แก่เกษตรเลี้ยงโค กระบือ รวมถึงสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดมหาสารคาม สหกรณ์โคนมจังหวัดมหาสารคาม และเป็นสถานที่บริการวิชาการแก่ชุมชนในการสนับสนุนส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ การรักษาสัตว์
- ↑ โครงสร้างองค์กร ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องการแบ่งหน่วยงานภายในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ณ วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Dek-D.com : เรื่องต้องรู้..คณะสัตวแพทยศาสตร์ 24 กรกฎาคม 2564.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "ประวัติคณะสัตวแพทยศาสตร์". vet.msu.ac.th. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 สุภาพร มาแก้ว (2560). รายงานประจำปี 2559 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (PDF) (Report). บริษัทสารคามการพิมพ์ จำกัด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. p. 64. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite report}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|year=
(help) - ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2021-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ พ.ศ. 2555 เก็บถาวร 2021-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2564.
- ↑ ธนภร ปฐมวณิชกุล (ม.ป.ป.). "คณะสัตวแพทยศาสตร์ มมส สำรวจพื้นที่ตั้งศูนย์บริการวิชาการและวิจัย". มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "โครงสร้างหน่วยงานคณะสัตวแพทยศาสตร์". vet.msu.ac.th. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ คู่มือการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันการศึกษาที่ ก.พ. รับรอง (PDF). สำนักงาน ก.พ. กรกฎาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2561.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "หลักสูตรปริญญาตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
- ↑ "หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". คณะสัตวแพทยศาสตร์. vet.msu.ac.th. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556) (PDF). กองบริการการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-22. สืบค้นเมื่อ 2021-08-22.
- ↑ "หลักสูตรปริญญาเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-02-14.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 133 เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 มีนาคม 2564
- ↑ "ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือกลางเพื่อการบริการวิชาการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ห้องปฏิบัติการหน่วยชันสูตรโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ห้องปฏิบัติการทดสอบสัตว์". ฐานข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการส่งเสริมนิสิตสัตวแพทย์ศักยภาพสูง ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการบุตรเกษตรกร ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพพระราชทาน ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 1 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 2 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
- ↑ 24.0 24.1 บัณฑิตวิทยาลัย (2560). การรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561 (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 25.0 25.1 บัณฑิตวิทยาลัย. รายละเuอียดและคุณสมบัตเฉพาะสาขาของผู้สมัครสอบระดับปริญญาโท (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน : ประวัติโรงพยาบาล 24 กรกฎาคม 2564.
- ↑ สาร MSU Online : มมส เปิดโรงพยาบาลรักษาสัตว์เขตพื้นที่ขามเรียง 24 กรกฎาคม 2564.
- ↑ คณะสัตวแพทยศาสตร์ : คณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดพิธีเปิดโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน (เขตพื้นที่ขามเรียง) เก็บถาวร 2021-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 24 กรกฎาคม 2564.
- ↑ โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน : บริการของเรา 24 กรกฎาคม 2564.
- ↑ ข่าวประชาสัมพันธ์ มมส. [http://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=6317&uf=&qu= มมส จัดการแข่งขันกีฬาโฮมหมอเกมส์ ครั้งที่ 8.] สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ทางการ
- วิดีทัศน์แนะนำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มมส ประจำปีการศึกษา 2561 ที่ยูทูบ
- คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เฟซบุ๊ก
- สโมสรนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เฟซบุ๊ก
- ประชุมวิชาการ The 3rd MSU International Veterinary Conference ที่ยูทูบ (7 มิถุนายน 2561)