ข้ามไปเนื้อหา

พิธีสำเร็จการศึกษาในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิธีสำเร็จการศึกษา (อังกฤษ: graduation ceremony) เป็นพิธีการพิเศษซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อมอบปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจัดให้มีขึ้นในต่างประเทศมาก่อน เช่นสหรัฐอเมริกาหรือหลายประเทศในทวีปยุโรป ต่อมาประเทศไทยจึงเริ่มรับเอาประเพณีดังกล่าวเข้ามา โดยกราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ เพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน จึงบัญญัติศัพท์ให้เรียกว่า พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ทั้งนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ ภายหลังมีสถาบันอุดมศึกษาจัดพิธีอย่างเดียวกันโดยมิได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลเชิญพระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนิน หรือทูลเชิญพระอนุวงศ์เสด็จไปทรงเป็นประธาน จึงบัญญัติเป็นศัพท์เรียกขึ้นใหม่ว่า พิธีประสาทปริญญาบัตร

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

[แก้]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มีขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473[1] และปฏิบัติสืบต่อกันมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร, พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นประจำทุกปี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศ์คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี, ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จแทนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้]
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2473
ตึกบัญชาการ หรือ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิต (หรือแพทยศาสตรบัณฑิตในปัจจุบัน) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ตึกบัญชาการ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน) ในครั้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยกราบทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ เรียนเชิญเสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนส่งหนังสือเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ รวม 11 แห่ง อาทิ กรมยุทธศึกษาทหารบก กรมยุทธศึกษาทหารเรือ สภากาชาดสยาม วชิรพยาบาล มหามงกุฎราชวิทยาลัย ราชบัณฑิตยสภา และโรงเรียนกฎหมาย เอกอัครราชทูตนานาประเทศ เป็นต้น มาร่วมพิธีด้วย

ในพิธีดังกล่าว มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานครุยกิตติมศักดิ์บัณฑิตชั้นโท (หรือมหาบัณฑิตในปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น และบัณฑิตชั้นเอก (หรือดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ.จี. เอลลิส คณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น แล้วพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชบัณฑิตจำนวน 34 คน ในจำนวนนั้น 18 คนมาจากปีการศึกษา 2471 และ 16 คนจากปีการศึกษา 2472 เสร็จแล้ว พระราชทานพระบรมราโชวาท และเสด็จพระราชดำเนินกลับ

ต่อมา สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอให้กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตว่า "มหาวิทยาลัยขอพระบรมราชานุญาตสงวนธรรมเนียมนี้ไว้คือ ถือว่าการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการหน้าพระที่นั่ง หากเสด็จไม่ได้ ก็จะเป็นการถวายปริญญาต่อพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรับพระราชทานปริญญาบัตรจากผู้แทนพระองค์" เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบแล้วก็พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามนั้น ธรรมเนียมนี้จึงสืบต่อมาจนปัจจุบัน[1]

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

[แก้]

ในระหว่างเสด็จฯ นิวัตประเทศไทย เป็นครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เสด็จฯ ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์[2] และเมื่อวันที่ 23 เมษายน เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือมหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัย โดยในครั้งนั้น มีพระราชประสงค์ให้ผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นให้เพียงพอแก่ประชาชน เพราะขณะนั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์รับนักศึกษาแพทย์ได้เพียงปีละ 50 คน ต่อมาจึงก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน) เพื่อรองรับการผลิตแพทย์เพิ่มตามพระราชประสงค์ดังกล่าว[3] [4]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เริ่มพระราชทานปริญญาบัตรแก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ของรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา โดยเสด็จพระราชดำเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2492-2493 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2493 นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในรัชกาล หนังสือพิมพ์เคยคำนวณว่า หากเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับนั่งครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง เท่ากับทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทานใบปริญญาบัตร 470,000 ครั้ง จึงมีผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ทรงลดการพระราชทานลง โดยเสนอให้พระราชทานปริญญาบัตรเฉพาะระดับมหาบัณฑิตขึ้นไปเท่านั้น แต่มีพระราชกระแสตอบว่า ทรง "เสียเวลายื่นปริญญาบัตรให้บัณฑิตคนละ 6-7 วินาทีนั้น แต่ผู้ได้รับนั้นมีความสุขเป็นปี ๆ เปรียบกันไม่ได้เลย"[5] นอกจากนี้ ทรงเห็นว่า การพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมีความสำคัญ เนื่องจากบางคนอาจไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต ดังนั้นจึงมีรับสั่งว่า "จะพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตปริญญาตรีไปจนกว่าจะไม่มีแรง"[5] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรด้วยพระองค์เองเป็นระยะเวลามากกว่า 50 ปี จนกระทั่ง พ.ศ. 2544 จึงต้องยุติพระราชกิจในการนี้ลง ด้วยพระชนมพรรษามากขึ้นประกอบกับทรงพระประชวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์

ผู้แทนพระองค์

[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ โดยประดับธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และธงประจำพระองค์ในพระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จแทนพระองค์ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จไปถึง ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ให้ทอดผ้าทิพย์อันประดับด้วยพระครุฑพ่าห์เพื่อสื่อความหมาย เสมือนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง

มหาวิทยาลัยเอกชน

[แก้]

สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ถือเป็นการเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ แต่เป็นการเสด็จพระราชดำเนินส่วนพระองค์ พระบรมวงศ์จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ตามคำกราบทูลเชิญของมหาวิทยาลัย โดยเมื่อเสด็จถึงสถานที่ประกอบพิธี ให้บรรเลงเพลงมหาชัย ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ไม่ต้องทอดผ้าทิพย์ ไม่มีครุฑพ่าห์อยู่ตรงหน้าที่ประทับ เนื่องจากมิใช่การเสด็จแทนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประจำทุกปีการศึกษา นอกจากนี้พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบรมวงศ์เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานปริญญาบัตรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมาของสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ (ที่ไม่ใช่สถาบันที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินฯ) โดยประดับธงชาติไทย ธงประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และธงประจำพระองค์ในพระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จแทนพระองค์ เมื่อผู้แทนพระองค์เสด็จไปถึง ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ส่วนพระแท่นหน้าพระเก้าอี้ที่ประทับ ให้ทอดผ้าทิพย์อันประดับด้วยพระครุฑพ่าห์เพื่อสื่อความหมาย เสมือนเสด็จพระราชดำเนินไปด้วยพระองค์เอง

ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2563 ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 และการประท้วงในประเทศ ได้มีการวางมาตรการรักษาความปลอดภัย รวมทั้งการวัดอุณหภูมิกาย และการเจาะเลือดปลายนิ้ว[6] นอกจากนี้ยังมีการตรวจข้อมูลจากบัตรประจำตัวประชาชน รวมทั้งประวัติอาชญากรรม มีการถ่ายภาพบุคคล และการส่งรายชื่อผู้ที่เข้ารับหรือไม่เข้าร่วมพิธี[7] ในพิธีดังกล่าว มีข่าวออกไปว่าบัณฑิตคณะรัฐศาสตร์จะไม่เข้าร่วมพิธีทั้งคณะ แต่มีบัณฑิตให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ มติชน ว่าเป็นข่าวเท็จ[8]

ตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ในการมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ[9][10]

สถานที่พระราชทานและประทานปริญญาบัตร

[แก้]

สถาบันอุดมศึกษารัฐและในกำกับของรัฐ

[แก้]
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทาน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หอประชุมใหญ่ อาคารกิติยาคาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยมหิดล มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง หอประชุมสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อาคารสุรพัฒน์ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
มหาวิทยาลัยรามคำแหง หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาคารกีฬา 1 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
มหาวิทยาลัยทักษิณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

มหาวิทยาลัยนเรศวร ห้องประชุมมหาราช ศูนย์แสดงนิทรรศการและจัดการประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
มหาวิทยาลัยศิลปากร ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยนครพนม อาคารศรีโคตรบูรณ์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
มหาวิทยาลัยนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
มหาวิทยาลัยบูรพา หอประชุมธำรง บัวศรี มหาวิทยาลัยบูรพา
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
มหาวิทยาลัยพะเยา หอประชุมพญางำเมือง มหาวิทยาลัยพะเยา
อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาคารเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ
2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช อาคารนวมภูมินทร์ วชิราวุธวิทยาลัย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ห้องประชุมสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพมหานคร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา อาคาร 60 พรรษาราชสุดาสมภพ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
สำนักพระราชวัง สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
สถาบันการพยาบาล
ศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
ห้องประชุม Auditorium ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา อาคารคีตราชนครินทร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ (พื้นที่ในเมือง) ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ธัญบุรี หอประชุมราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ศรีวิชัย ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา[11]
กรุงเทพ
ตะวันออก
พระนคร
รัตนโกสินทร์
สุวรรณภูมิ
ล้านนา
อีสาน
สถาบันการอาชีวศึกษา[12]
กรุงเทพมหานคร อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ อาคารเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง ๑ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
ภาคเหนือ ๑ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒
ภาคเหนือ ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓
ภาคเหนือ ๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๔
ภาคเหนือ ๔ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕
ภาคกลาง ๑ ภาคใต้ ๑
ภาคกลาง ๒ ภาคใต้ ๒
ภาคกลาง ๓ ภาคใต้ ๓
ภาคกลาง ๔ เกษตรภาคเหนือ
ภาคกลาง ๕ เกษตรภาคกลาง
ภาคตะวันออก เกษตรภาคใต้
เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทาน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติมหาวิทยาลัยแม่โจ้
อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ห้องประชุมใหญ่ อาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทาน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หอประชุมสิริวรปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม[13]
มหาวิทยาลัยราชภัฏ[14]
เขตภาคกลาง หอประชุมสิริวรปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม[13]
เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร[15]
เขตภาคเหนือ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่[16]
เขตภาคใต้ หอประชุมวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี[17]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ประทาน
สถาบันพระบรมราชชนก
สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
ชัยนาท นครราชสีมา
จักรีรัช สรรพสิทธิประสงค์
พระพุทธบาท สุรินทร์
ราชบุรี อุดรธานี
สระบุรี วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
สุพรรณบุรี สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นนทบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า เพชรบุรี นครลำปาง
สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยบูรพา พะเยา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ขอนแก่น นครศรีธรรมราช
ชลบุรี สุราษฎร์ธานี
ตรัง ตรัง
พิษณุโลก ยะลา
สุพรรณบุรี สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
อุบลราชธานี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ยะลา
รวมทั้งหลักสูตรต่อเนื่อง จากสถาบันสมทบข้างต้น, ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และประกาศนียบัตร หลักสูตรกระทรวงสาธารณสุข ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีทั้ง
27 แห่ง, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรทั้ง 7 แห่ง และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบพิธี ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทาน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ห้องประชุม อาคารสุชีพ ปุญญาณุภาพ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (ส่วนกลาง)
อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หอประชุม อาคาร มวก. 48 พรรษา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หมายเหตุ : ในบางปีสมเด็จพระสังฆราชอาจโปรดให้สมเด็จพระราชาคณะเป็นผู้แทนพระองค์ในการประทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการทั้งศึกษาจากสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ดังกล่าว

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

[แก้]

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทาน
สถาบันวิทยสิริเมธี สถาบันวิทยสิริเมธี วังจันทร์วัลเลย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระราชทาน
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต อาร์แบค อารีน่า มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี อาคารชาญชัย อะเคเดียม มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา อาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล หอประชุมมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยพิษณุโลก หอประชุมอนุสรณ์ 100 ปี มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ประทาน
มหาวิทยาลัยคริสเตียน หอประชุม มหาวิทยาลัยคริสเตียน
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น หอประชุมพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
มหาวิทยาลัยเกริก ห้องวายุภักษ์แกรนด์ บอลรูม ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ มหาวิทยาลัยธนบุรี หอประชุมใหญ่ อาคารอเนกประสงค์และบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธนบุรี เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาคารศูนย์กีฬาและกิจการนักศึกษา
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
วิทยาลัยนครราชสีมา โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมศิลปากร
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ห้องเจ้าพระยา อาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์
หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก หอประชุมกิตติ-ทัศนีย์ มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา เจ้าพระยาคอนเว็นชั่นฮอลล์ ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยสยาม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ห้องวายุภักษ์แกรนด์ บอลรูม ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
(ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต)
ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยปทุมธานี ห้องบัวหลวง อาคารหอประชุม มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ห้องปทุมรัตน์ อาคารหอสมุดประวัติรุ่งเรือง
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ห้องวายุภักษ์แกรนด์ บอลรูม ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หอประชุมประภากรคอนเวนชั่นฮอลล์
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
วิทยาลัยเชียงราย อาคารเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเชียงราย
อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

หมายเหตุ: สถาบันอุดมศึกษาเอกชนบางแห่งในบางปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงพระบรมวงศานุวงศ์ผู้พระราชทานปริญญาบัตร หรือผู้ประสาทปริญญาบัตร

พิธีประสาทปริญญาบัตร

[แก้]

พิธีประสาทปริญญาบัตร หรือในภาษาสากลคือ พิธีสำเร็จการศึกษา (อังกฤษ: Graduation ceremony) เป็นพิธีการพิเศษซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อมอบปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาประจำปีอย่างเป็นทางการ โดยเริ่มจัดให้มีขึ้นในต่างประเทศมาก่อน ต่อมาประเทศไทยจึงเริ่มรับเอาประเพณีดังกล่าวเข้ามา ซึ่งจะเรียกชื่อดังกล่าวข้างต้น ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาจัดขึ้นโดยมิได้กราบบังคมทูลเชิญพระมหากษัตริย์ หรือกราบทูลเชิญพระบรมวงศ์เสด็จพระราชดำเนิน หรือทูลเชิญพระอนุวงศ์เสด็จไปทรงเป็นประธาน

สถานที่ประสาทปริญญาบัตร

[แก้]
มหาวิทยาลัย สถานที่ ประธานในพิธี
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ระดับปริญญาบัณฑิต(ปริญญาตรี) จากวิทยาเขตบางเขนและวิทยาเขตขอนแก่น
ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์
ราชบัณฑิต และนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ระดับปริญญาบัณฑิต(ปริญญาตรี) จากวิทยาเขตชลบุรี
อาคารยิมเนเซียม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์
ราชบัณฑิต และนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
อธิการบดี/อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (ปัจจุบัน: รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ)
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต อาคารเกษมพฤกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า
เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ไดมอนด์ ฮอลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต จังหวัดปทุมธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพมหานคร อธิการบดีมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารนันทนาการ มหาวิทยาลัยรังสิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพมหานคร นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
บางกอกอารีนา เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (ตั้งแต่ประจำปีการศึกษา 2559-2562)
อาคาร MIIX ชั้น 5 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (ตั้งแต่ประจำปีการศึกษา 2563 ถึงปัจจุบัน)
วิทยาลัยทองสุข หอประชุมพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชธานี อาคารเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี วิรัช ชินวินิจกุล
องคมนตรี / นายกสภามหาวิทยาลัย
วิทยาลัยเซาธ์อีสบางกอก หอรัชมงคล สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์
อดีตองคมนตรี
ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพมหานคร (ปี 2565)
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น หอรัชมงคล สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ อาคารมหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น ลานเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
อธิการบดีมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
มหาวิทยาลัยตาปี อาคารบริหารมหาวิทยาลัยตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
องคมนตรี
มหาวิทยาลัยชินวัตร อาคารเรียนรวมมหาวิทยาลัยชินวัตร อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร
มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น หอประชุมจุฬาเกษม อาคารชิน โสภณพนิช มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร นายกสภามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
มหาวิทยาลัยเนชั่น อัฒจันทร์กลางแจ้ง มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม อาคารฟอรั่ม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
มหาวิทยาลัยพายัพ อาคารสายธารธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น หอประชุมแกรนด์วิชั่น มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
มหาวิทยาลัยภาคกลาง ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยภาคกลาง อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ อำพล เสนาณรงค์
อดีตองคมนตรี
มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) เชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์
มหาวิทยาลัยฟาฏอนี หอประชุมวันมูหะมัดนอร์ มะทา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
นายกสภามหาวิทยาลัยฟาฏอนี
มหาวิทยาลัยเอเชียน ห้องประชุมมหาวิทยาลัยเอเชียน อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ลอร์ด โรนัลด์ ออกซเบิร์ก
นักวิชาการราชวิทยาลัยลอนดอน
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ห้องประชุมอาคารพลกฤษณ ประโมทะกะ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
สถาบันกันตนา ห้องประชุมสถาบันกันตนา ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หอประชุมปัญญาภิวัฒน์ ตำบลบางตลาด อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย
องคมนตรี
สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา หอประชุม อาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์
อดีตองคมนตรี
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หอประชุมสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
สถาบันรัชต์ภาคย์ หอประชุมใหญ่ อาคารทรงไทย สถาบันรัชต์ภาคย์
เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์
อดีตองคมนตรี
สถาบันอาศรมศิลป์ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารรพินทร สถาบันอาศรมศิลป์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์
วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ วัดเซนต์หลุยส์
เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู
นายกสภาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์
วิทยาลัยดุสิตธานี ห้องศรีนครินทร์ ฮอลล์ โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์
เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
นายกสภาวิทยาลัยดุสิตธานี
วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมศิลปากร
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข
องคมนตรี
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อาคารอเนกประสงค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พลากร สุวรรณรัฐ
องคมนตรี
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ห้องประชุมโยเซฟ มาเรีย วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
อธิการบดีวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา
วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ห้องพิธีการกรีน 1 วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย จังหวัดขอนแก่น ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์
อดีตผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ห้องคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี วิรัช ชินวินิจกุล
องคมนตรี
วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ ห้องประชุมวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ จังหวัดสงขลา อธิการบดีวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
วิทยาลัยสันตพล ห้องประชุมนายแพทย์สุรีย์ ฤกษ์นิมิตร
อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา
วิทยาลัยสันตพล จังหวัดอุดรธานี
พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์
อดีตองคมนตรี
วิทยาลัยแสงธรรม ห้องประชุม Lux Mundi วิทยาลัยแสงธรรม จังหวัดนครปฐม พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์
ประธานคณะกรรมการคาทอลิก
วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ห้องประชุม ดร.นิมิตร จิวะสันติการ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง จังหวัดลำปาง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ประธานสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย
มูลนิธิควง อภัยวงศ์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกแห่งกรุงสยาม
  2. "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-06-30.
  3. "มูลนิธิอานันทมหิดล : ความเป็นมาและวัตถุประสงค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-21. สืบค้นเมื่อ 2007-06-30.
  4. [https://web.archive.org/web/20171008135150/http://www.md.chula.ac.th/about.php เก็บถาวร 2017-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. 5.0 5.1 อมิตา อริยอัชฌา, ครองใจคน : หลากเหตุผลที่คนไทยรักในหลวง, บลิสสิเนส, 2548
  6. "มธ.เข้มมาตรการรับปริญญา บัณฑิตต้องเจาะเลือดทุกคน". เดลินิวส์. 12 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  7. "องค์การนักศึกษามธ. จี้ผู้บริหารชี้แจง 6 ประเด็นหลังปล่อยจนท.เข้ามาในพื้นที". Bright Today. 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  8. "บัณฑิต 'รัฐศาสตร์' งง ปล่อยข่าวไม่รับทั้งที่เข้ามากสุด ติง มธ. ละเมิดสิทธิ ตรวจบัตร ปชช". มติชนออนไลน์. 30 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  9. ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ประจำปีการศึกษา 2560 ถึง 2562, สืบค้นเมื่อ 2023-01-03
  10. 185 (2022-12-30). "โปรดเกล้าฯ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้แทนพระองค์ไปในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร". kapook.com.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  11. [1]
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.
  13. 13.0 13.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cenrbu
  14. 255 (2022-08-15). "โปรดเกล้าฯ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ เสด็จฯ พระราชทานปริญญาบัตร ม.ราชภัฏ". kapook.com.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  15. ข่าวในพระราชสานัก วันเสาร์ ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เก็บถาวร 2022-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์
  16. aaaum (2022-09-14). "ม.ราชภัฎเชียงใหม่ แจ้งกำหนดการรับปริญญา ปีการศึกษา 2560-2562". Chiang Mai News.
  17. "ในหลวง โปรดเกล้าฯ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ประจำปี 2565". กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.