ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Maharat Nakhon Ratchasima Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลมหาราช
ที่ตั้ง49 ถ.ช้างเผือก ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 30000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง28 กันยายน พ.ศ. 2452 (114 ปี)
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้อำนวยการนพ.ประวีณ ตัณฑประภา
จำนวนเตียง1,387[1]
แพทย์334 คน[2]
เว็บไซต์http://www.mnrh.go.th/th/

โรงพยาบาลมหาราชนครนครราชสีมา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2452 เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดนครราชสีมา และเป็นโรงพยาบาลศูนย์ในภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ 1,387 เตียง

ประวัติ

[แก้]
  • วันที่ 28 กันยายน 2452 ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นตามประกาศจัดตั้งสุขาภิบาล ตำบลโพธิ์กลาง โดยได้มีการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้น 2 แห่ง คือ
  1. โรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 รับรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ ต.โพธิ์กลาง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
  2. โรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 รับรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ ตั้งอยู่ที่ ต.สวนหม่อน อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 จากตำบลโพธิ์กลาง มารวมกับโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 ตำบลสวนหม่อนและเรียกว่า โรงพยาบาลสวนหม่อน
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2478 ได้โอนกิจการของโรงพยาบาลสุขาภิบาล หรือ โรงพยาบาลสวนหม่อน ไปสังกัดเทศบาลเมืองนครราชสีมา และเรียกชื่อว่า โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา
  • วันที่ 1 กันยายน 2497 ได้โอนกิจการโรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา ไปสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและเรียกชื่อใหม่ว่า โรงพยาบาลเมืองนครราชสีมา จัดระดับเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด
  • ในปี พ.ศ. 2517 โรงพยาบาลนครราชสีมา ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 5 กันยายน 2524 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 กระทรวงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา พระราชทานชื่อเป็น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตั้งอยู่เลขที่ 49 ถนนช้างเผือก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 136 ไร่ 82 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ จดกับ ที่ดินของเอกชน
  • ทิศใต้ จดกับ ลำตะคองที่มีตลิ่งสูงชัน
  • ทิศตะวันออก จดกับ ถนนช้างเผือกซึ่งเชื่อมต่อระหว่างถนนมิตรภาพเส้นในและถนนมิตรภาพเส้นนอก
  • ทิศตะวันตก จดกับ ถนนมหาราช

สถาบันร่วมผลิตแพทย์ นักฉุกเฉินการแพทย์

[แก้]

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

[แก้]

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นโรงพยาบาลที่ร่วมผลิตแพทย์โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด ปีการศึกษาที่เริ่มรับนักศึกษา
1. ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2540

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์

[แก้]

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ยังเป็นสถาบันร่วมผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วย

สถาบันร่วมผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โรงพยาบาล จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, สถานที่และเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 28 ธันวาคม 2565.
  2. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 24 กุมภาพันธ์ 2565.
  3. http://www.mnrh.go.th/TH/info.php?act=history