โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม
The Holy Infant Jesus Mahasarakham School

The Holy Infant Jesus Mahasarakham School
ตราประจำโรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม
ที่ตั้ง
253 ถนนริมคลองสมถวิล ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ก. / PK
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญคุณธรรม นำความรู้
วินัยดี มีคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาชีวิต
สถาปนา1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 (35 ปี 72 วัน)
หน่วยงานกำกับเขตมิสซังอุบลราชธานี
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
ผู้อำนวยการซิสเตอร์ศรีสุดา ประผะลา
ระดับปีที่จัดการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
สี██████ สีขาว - เหลือง
เพลงมาร์ชพระกุมาร
ผู้จัดการโรงเรียนบาทหลวงเชาวฤทธิ์ สาสาย
เว็บไซต์www.holymhk.ac.th

โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม เป็นโรงเรียนคาทอลิกในเขตมิสซังอุบลราชธานี ประเภทสามัญศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 253 ถนนริมคลองสมถวิล ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เปิดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สัญลักษณ์[แก้]

ตรา สัญลักษณ์และสีประจำโรงเรียน[แก้]

  • ตราประจำโรงเรียน

ภายในรูปวงกลม เป็นรูปเทียนส่องแสงบนหนังสือที่เปิดอยู่ภายในวงกลม มีความหมายตรงตามปรัชญาดังนี้

    • วงกลม คือ ความเป็นผู้มีวินัย
    • เทียนจุด คือ คุณธรรม
    • หนังสือ คือ ปัญญา
    • แสงเทียน คือ ชีวิตที่ต้องการพัฒนาอยู่เสมอจึงจะเจริญก้าวหน้า
  • สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

“พระรูปครอบครัวศักดิ์สิทธิ์” ประกอบด้วยพระกุมารเยซู พระนางมารีย์พรหมจารี และนักบุญโยเซฟ พระกุมารที่เป็นชื่อของโรงเรียนนั้นมาจากชื่อของพระเยซูคริสตเจ้าเมื่อเยาว์วัย ซึ่งได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรักและเอาใจใส่จากบิดา คือนักบุญโยเซฟ และพระมารดา คือพระแม่มารีย์ ซึ่งโรงเรียนยึดถือเป็นแบบฉบับ ในด้านการให้การอบรมในชีวิตครอบครัว อันเป็นพื้นฐานแรกของชีวิตมนุษย์ในสังคม ซึ่งถือว่าครอบครัวเป็นโรงเรียนแห่งแรก ดังคติพจน์ที่ว่า “ครอบครัวดี สังคมดี” และสอดคล้องกับสัญลักษณ์ของโรงเรียน จึงกำหนดตราและความหมายของตราโรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม

  • สีประจำโรงเรียน ขาว - เหลือง
    •   สีขาว หมายถึง ความเป็นผู้มีปัญญา และคุณธรรม
    •   สีเหลือง หมายถึง ความเป็นผู้มีวินัย เข้มแข็ง และอดทนในการพัฒนาชีวิตให้เจริญก้าวหน้า

คติพจน์และปรัชญา[แก้]

  • คติพจน์ประจำโรงเรียน คุณธรรม นำความรู้
  • ปรัชญาประจำโรงเรียน วินัยดี มีคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาชีวิต

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม เปิดสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนตามใบอนุญาตเลขที่ 42-32/0002 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 ดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาเขตมิสซังอุบลราชธานี บริหารงานโดยคณะบาทหลวงมิสซังอุบลราชธานี โดยมีบาทหลวงเติมศักดิ์ เจริญบุญ เป็นผู้จัดการโรงเรียนคนแรก และซิสเตอร์บุญมี ดอกเกตุ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก[1]

ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา(ปฐมวัย) ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนกว่า 1600 คนและนักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม[2]

ทำเนียบผู้จัดการโรงเรียน[แก้]

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 บาทหลวงเติมศักดิ์ เจริญบุญ พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2537
2 บาทหลวงบุญเลิศ พรหมเสนา พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2544
3 บาทหลวงสุระชัย นันทะบุตร พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545
4 บาทหลวงบุญเลิศ พรหมเสนา พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2547
5 บาทหลวงสำรอง คำศรี พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2550
6 บาทหลวงเชาวฤทธิ์ สาสาย พ.ศ. 2551

ทำเนียบผู้บริหาร[แก้]

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ซิสเตอร์บุญมี ดอกเกตุ พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2532
2 ซิสเตอร์อัจฉราวดี ใสสว่าง พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2539
3 ซิสเตอร์อรนุช หอมจันทร์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2545
4 ซิสเตอร์ลัดดา วงศ์ศรีแก้ว พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2549
5 ซิสเตอร์พิมพา สร้อยสูงเนิน พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2551
6 ซิสเตอร์อุดม สว่างวงศ์ พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2553
7 ซิสเตอร์รัตนารี สัญญลักษณ์ พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2557
8 ซิสเตอร์ศรีสุดา ประผะลา พ.ศ. 2558 ปัจจุบัน

อาคาร สถานที่[แก้]

โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม มีเนื้อที่จำนวน 14 ไร่ 3 งาน 88 ตารางวา ประกอบด้วย อาคารปฐมวัย อาคารประถมศึกษา อาคารสำนักบริหาร อาคาร Saint Matthew โรงอาหาร อีกทั้งยังมีสนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอลและสระว่ายน้ำภายในโรงเรียนเรียน

การจัดการศึกษา[แก้]

หลักสูตรที่เปิดสอน[แก้]

ระดับปฐมวัย[แก้]

เปิดสอนในระดับอนุบาล 1 - อนุบาล 3 ใช้หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ร่วมกับสถาบันวิจัยการเรียนรู้

ระดับประถมศึกษา[แก้]

เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ใช้หลักสูตรโรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [3] โดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มสาระหลัก ได้แก่ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระภาษาไทย กลุ่มสาระสังคมศึกษา กลุ่มสาระศิลปะ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา และกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]