สุดใจ เหล่าสุนทร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สุดใจ เหล่าสุนทร | |
---|---|
![]() | |
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2491 – พ.ศ. 2493 | |
ก่อนหน้า | พร ทองพูนศักดิ์ |
ถัดไป | รนเดช เดชกุญชร |
อธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2517 | |
ก่อนหน้า | ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล |
ถัดไป | ยกฐานะเป็นอธิการบดี |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | ประเดิมตำแหน่ง |
ถัดไป | ศาสตราจารย์ ดร.นิพนธ์ ศศิธร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 อำเภอบางรัก จังหวัดพระนคร มณฑลกรุงเทพ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 9 มกราคม พ.ศ. 2525 (66 ปี) |
คู่สมรส | ดร. มาเรีย มาชา |
ศาสตราจารย์ สุดใจ เหล่าสุนทร อดีตอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคนแรก และอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
การสมรสและครอบครัว[แก้]
ศาสตราจารย์ สุดใจ เหล่าสุนทร หรือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร ได้สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรีย เหล่าสุนทร มีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ
- นางสาวมาลินี เหล่าสุนทร
- นายสมชัย เหล่าสุนทร
- นายสมชาติ เหล่าสุนทร
ตำแหน่ง[แก้]
อธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พุทธศักราช 2516 ก่อนหน้าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ในช่วงเวลาที่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร ดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา คณาจารย์ นิสิต และข้าราชการ ได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ปรับฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัย ท่ามกลางการปกครองที่เข้มงวดรุนแรงของรัฐบาลทหารในขณะนั้น เพื่อความคล่องตัวในการพัฒนาโครงสร้าง การบริหาร และการเรียนการสอนที่จำกัด ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยและการขยายตัวที่มีความหลากหลายวิชาชีพ ท้ายที่สุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ “มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร” ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นในปีถัดมา (29 มิถุนายน 2517) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี (พุทธศักราช 2512 – 2521)
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร คนที่20 ระหว่าง พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2493
ผลงาน[แก้]
ณ วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 ดังนั้น ในวันที่ 29 มิถุนายน 2517 โดยรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แล้วโอนไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย ยกเว้นวิทยาเขตพระนครให้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้นั้น ทางวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร เข้าดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเห็นว่าการบริหารงานของวิทยาลัยนั้นขาดความคล่องตัวอยู่มาก เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการอันจะเป็นปัญหาระยะยาวในการขยายผลด้านการศึกษาในอนาคตต่อไป ท่านจึงได้ร่างพระราชบัญญัติเพื่อขอยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยต่อสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยในระหว่างนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร ได้ออกเอกสารที่ช่วงนั้นเรียกว่า ‘เอกสารปกขาว’ เพื่อชี้แจงหลักการและเหตุผลดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจรับทราบ โดยคำปรารภของเอกสารชิ้นนี้ ได้กล่าวว่า[1]
"…เมื่อข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาเมื่อเดือนมกราคม 2512 ได้พบว่าการดำเนินงานของวิทยาลัยวิชาการศึกษาไม่มีความคล่องตัวเป็นอันมาก จึงได้ร่างพ.ร.บ. ยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเสนอต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2512 และรอรับฟังพิจารณาอยู่ 1 ปีเต็ม จนถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2512 จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. นี้ต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการอีกครั้งหนึ่ง และเสนอให้เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอีกทางหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็น ‘วิทยาลัย’ ในความหมายของความเข้าใจของบุคคลทั่วไปว่า ไม่ใช่สถานศึกษาชั้นปริญญาในระดับมหาวิทยาลัย ดังที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ดำเนินงานอยู่จริง จึงเห็นสมควรที่จะออกเอกสารฉบับนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลที่สนใจในการศึกษาขั้น ‘มหาวิทยาลัย’…”
วันสุดใจ เหล่าสุนทร[แก้]
วันที่ 29 มิถุนายน 2517 เป็นวันยกฐานะวิทยาลัย วิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2517 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 29 มิถุนายน 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอา วันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็น วันสุดใจ เหล่าสุนทร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2517 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2513 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2514 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[4]
- พ.ศ. 2504 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ (ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.2541:270.)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๓๓, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- ศาสตราจารย์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์