คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Humanities and Social sciences, Mahasarakham University | |
![]() | |
ชื่อย่อ | HUSOC |
---|---|
คติพจน์ | ความหลากหลายทางภาษา ภูมิปัญญาคู่คุณธรรม นำชุมชนสู่สากล |
สถาปนา | คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วศ มค. 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมส. 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
คณบดี | รศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์ |
ที่อยู่ | อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 โทร 043-754369 |
วารสาร | วารสารมนุษย์กับสังคม วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
สี | สีม่วงอินทนิล |
มาสคอต | อินทนิล |
เว็บไซต์ | http://human.msu.ac.th/husoc/ |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคณะ 1 ใน 3 คณะแรกที่ก่อตั้งมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยก่อตั้งในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามพร้อมกับ คณะวิชาการศึกษาและคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์[1] คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นคณะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิตแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประวัติ
[แก้]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เดิมคือ "คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์" ซึ่งก่อตั้งในปี 2511 สังกัดวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม[2] พร้อมกับอีก 2 คณะวิชาคือคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และคณะวิชาการศึกษา โดยคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาฯ และคณะวิชาวิทยาศาสตร์ฯ เป็นคณะวิชาที่เปิดสอนวิชาพื้นฐานให้กับคณะวิชาการศึกษา จึงยังไม่ได้เปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในว่วนของตนเอง แต่มีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องให้แก่หลักสูตรการศึกษาบัณฑิตของคณะวิชาการศึกษาเท่านั้น ซึ่งคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยแผนกวิชาต่าง ๆ คือ แผนกวิชาภาษาและวรรณคดีไทย, แผนกวิชาภาษาและวรรณคดีต่างประเทศ, แผนกวิชาศิลปะและวัฒนธรรม, แผนกวิชาศาสนาและปรัชญา, แผนกวิชาประวัติศาสตร์, แผนกวิชาภูมิศาสตร์ และแผนกวิชาสังคมวิทยา
ต่อมาเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517[3] และได้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศแบ่งส่วนราชการจัดตั้งให้เป็นคณะต่างๆ จึงได้มีการแยกคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 หน่วยงานคือ คือ "คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities)" และ"คณะสังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)" โดยมีวิทยาเขตหลักอยู่ที่ประสานมิตร (ที่ตั้งหลักของคณะ)[4] และแผนกวิชาต่างๆ จึงได้แปรสภาพเป็นภาควิชาอันได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์ ประกอบไปด้วย ภาควิชาภาษาและวรรณคดีไทย, ภาควิชาภาษาและวรรณคดีต่างประเทศ และภาควิชามานุษยวิทยา และคณะสังคมศาสตร์ ประกอบไปด้วย ภาควิชาศาสนาและปรัชญา, ภาควิชาประวัติศาสตร์, ภาควิชารัฐศาสตร์ และภาควิชาสังคมวิทยา
รวมไปถึงคณะวิชาการศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะศึกษาศาสตร์ ส่วนคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็นคณะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (คณะวิทยาศาสตร์ในปี 2518) ในส่วนของวิทยาเขตมหาสารคามนั้น คณะมนุษยศาสตร์พร้อมด้วยคณะสังคมศาสตร์ รับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตทางการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ศิลปศึกษา และภาษาอังกฤษ ให้กับคณะศึกษาศาสตร์ และในภายหลังคณะได้พัฒนาหลักสูตรของตนเองขึ้น (หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต) และเริ่มเปิดรับนิสิตเข้าศึกษาในคณะตนเอง
ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคามได้ยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 จึงได้มีการควบรวมคณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันเป็นหน่วยงานเดียวคือ "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Humanities and Social sciences, Mahasarakham University"[5][6] ซึ่งมีการบริหารจัดการและแบ่งส่วนราชการแยกเป็นภาควิชาและสำนักงานเลขานุการ ในส่วนสำนักงานเลขานุการคณะ แบ่งกลุ่มงานภายในเป็น 4 กลุ่มงานคือ กลุ่มงานบริหารและธุรการ กลุ่มงานคลังและพัสดุ กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายและแผน และกลุ่มงานบริการวิชาการและบริการโสตทัศนศึกษา ในส่วนภาควิชาแบ่งเป็น 9 ภาควิชา คือ ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, ภาควิชาประวัติศาสตร์, ภาควิชาภูมิศาสตร์, ภาควิชาบริหารธุรกิจ, ภาควิชารัฐศาสตร์, ภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง
ในปี 2540 ภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง ได้ขอแยกตัวเพื่อไปจัดตั้งเป็น "โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์"[7] แต่ในภายหลังมีการแยกหน่วยงานเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ในปี 2543 และคณะศิลปกรรมศาสตร์ ในปี 2545 ซึ่งแรกเริ่มนั้น ในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ได้มีการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับมนุษย์เป็นวิชาพื้นฐานของสถาบัน ต่อโดยสังกัดคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ และได้พัฒนาสู่การเปิดสอนเป็นวิชาโทศิลปศึกษาในปี พ.ศ. 2516 ต่อมาเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517[1] ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการจัดตั้งให้เป็นคณะ จึงได้มีการแยกคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ออกเป็น 2 คณะ คือ "คณะมนุษยศาสตร์ (Faculty of Humanities)" และ"คณะสังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)" วิชาโทศิลปศึกษาจึงได้โอนย้ายมาสังกัดภาควิชามานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และได้พัฒนาเป็นวิชาเอกศิลปศึกษา (สาขาศิลปศึกษา) ในปี พ.ศ. 2523 และเมื่อมีการจัดตั้ง "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 สาขาวิชาศิลปศึกษาจึงได้รวมกับสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ จัดตั้งเป็น “ภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง” สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้แยกตัวเป็นศิลปกรรมศาสตร์ในเวลาต่อมา
ต่อมาในปี 2541 ภาควิชาบริหารธุรกิจ ได้แยกตัวเพื่อไปตั้งเป็น "คณะการบัญชีและการจัดการ"[8] โรงเรียนบริหารธุรกิจแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมที มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ได้มีการเปิดสอนสาขาวิชาการบัญชีและบริหารธุรกิจในลักษณะของวิชาโท สังกัดคณะสังคมศาสตร์ ต่อมาจึงได้มีการก่อตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจขึ้นมาในปีการศึกษา 2538 หลังจากที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[9] โดยได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจ (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาดขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จากเดิมที่เปิดสอนเฉพาะวิชาโทบริหารธุรกิจ) โดยจัดสอนในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยเป็นโครงการพิเศษ ในปีการศึกษา 2540 ได้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2ปี) สาขาวิชาการบัญชีและสาขาวิชาการตลาดด้วย และได้แยกตัวเป็นคณะการบัญชีและการจัดการในเวลาต่อมา

ในปี 2544 ภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ได้แยกไปรวมกับภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดตั้งเป็น "คณะวิทยาการสารสนเทศ"[10][11] โดยในปี พ.ศ. 2539 คณะวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และผลิตบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ต่อมาในปี 2542 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้แยกออกจากคณะวิทยาศาสตร์เพื่อไปจัดตั้งเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในฐานะ“ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์” ก่อนที่จะแยกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อมาจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ โดยร่วมกับภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
และในปี 2546 ภาควิชารัฐศาสตร์ โครงการหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และศูนย์การเมืองท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ขอแยกไปจัดตั้งเป็น "วิทยาลัยการเมืองการปกครอง"[12] คณะวิชาด้านรัฐศาสตร์แห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแรกเริ่มเดิมทีนั้น มีการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในฐานะวิชาโทในสมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิชาโทรัฐศาสตร์ จึงได้แปรสภาพเป็นภาควิชารัฐศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามลำดับ ก่อนที่จะแยกตัวมาจัดตั้งวิทยาลัยการเมืองการปกครองในปี 2546 พร้อมทั้งจัดการเรียนการสอนรุ่นแรกในปี 2546
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีคณะวิชาที่แยกออกจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ "คณะการบัญชีและการจัดการ" "คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์" "คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์" "คณะวิทยาการสารสนเทศ" และ"วิทยาลัยการเมืองการปกครอง"
ปัจจุบันคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นหน่วยงานในระบบราชการสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นภาควิชาจำนวน 5 ภาควิชาและสำนักเลขานุการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ [13] จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 15 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 5 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา รวมทั้งสิ้น 21 สาขาวิชา
หน่วยงานภายในคณะ
[แก้]คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้
- ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน (American Corner) ศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมอเมริกันนี้ เป็นศูนย์ฯที่ส่งเสริมให้นิสิตระดับปริญญาตรีได้มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศโดยอย่าง ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจด้านภาษาและวัฒนธรรมอเมริกันมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้แก่นิสิตระดับปริญญาตรีให้สามารถแข่งขันกับอารยประเทศเพื่อย่างเข้าสู่สมาคมอาเซียน 2015
- ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีเซจง (Mahasarakham Sejong Institute) มีการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาเกาหลี และมีหลักสูตรการเรียนวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งสอนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งทางศูนย์เซจงมหาสารคามยังมีหลักสูตรภาษาเกาหลีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาษาเกาหลีพื้นฐาน, ติวสอบวัดระดับทางภาษาเกาหลี (TOPIK), ภาษาเกาหลีเพื่อธุรกิจ และยังมีหลักสูตรภาษาเกาหลีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าแต่งงานอีกด้วย และสำหรับผู้ที่เรียนหลักสูตรภาษาเกาหลีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าแต่งงานนั้น ทางศูนย์ฯยังมีหลักสูตรเกี่ยวกับวัฒนธรรมและกฎหมายของเกาหลี
- ศูนย์ สอวน. ภูมิศาสตร์โอลิมปิก เป็นสถานที่จัดสอบเพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับนานาชาติในแต่ละปี โดยคณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับเลือกให้เป็นศูนย์สอบคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยในด้านภูมิศาสตร์โอลิมปิก[14][15]
- ศูนย์บริการวิชาการ CARS HUSOC บริการวิชาการและวิจัย ประกอบด้วย 6 ศูนย์ย่อย ดังนี้ 1.ศูนย์ภาษาและวัฒธรรมอาเซียน 2.ศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ 3.ศูนย์การแปลและการล่าม 4.ศูนย์ทดสอบภาษาอังกฤษ 5.ศูนย์ฝึกอบรมวิชาการและวิชาชีพ 6.ศูนย์อีสานศึกษาและพัฒนาสังคม
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร 15 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท จำนวน 5 สาขาวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 3 สาขาวิชา ดังนี้
![]() หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[16] | |||
---|---|---|---|
ภาควิชา | ระดับปริญญาบัณฑิต | ระดับปริญญามหาบัณฑิต | ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
ภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
|
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
|
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
|
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชา สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ภาควิชาประวัติศาสตร์ |
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
|
||
ภาควิชาภูมิศาสตร์ |
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
|
สถานที่ตั้งและพื้นที่
[แก้]คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ระหว่างคณะนิติศาสตร์ (อาคารราชนครินทร์) และวิทยาลัยการเมืองการปกครอง ด้านหลังติดกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
ทำเนียบคณบดี
[แก้]รายนามคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งยุควิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม จนถึงยุคมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีดังนี้ (เท่าที่มีการบันทึก)
![]() ทำเนียบผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
หัวหน้าคณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม | |||
รายนามหัวหน้าคณะ | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
ไม่ปรากฏ | พ.ศ. 2511 - 2517 | ||
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม[17] | คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม[18] | ||
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1. รศ.ดร.ปรีชา ธรรมา | พ.ศ. 2518 - 2520 | 1.ศ.ดร.ประสาท หลักศิลา | พ.ศ. 2517-2522 |
2. รศ. ปราณี ธนะชานันท์ | พ.ศ. 2520 - 2528 | 2. ผศ.ดร.อนันต์ เจียมเจริญ | พ.ศ. 2522-2526 |
3. ผศ. สะรัช บุณยรัตพันธ์ | พ.ศ. 2538 -2532 | 3. รศ.ดร.ธวัช บุรีรักษ์ | พ.ศ. 2526-2530 |
4. ผศ.วิพุธ โสภวงศ์ | พ.ศ. 2532 - 2536 | 4. รศ.ดร.ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล | พ.ศ. 2530 - 2534 |
5. รศ.ดร.ประพาศน์ พฤทธิประภา | พ.ศ. 2536 - 2537 | 5. ผศ.ดร.ชลัช จงสืบพันธ์ | พ.ศ. 2534 - 2537 |
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[19] | |||
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
1. ผศ.วีญา วิสเพ็ญ | พ.ศ. 2538 - 2542 | ||
2. รศ.จารุวรรณ ธรรมวัตร | พ.ศ. 2542 - 2546 | ||
3. ผศ.ทวีศลิป์ สืบวัฒนะ | พ.ศ. 2546 - 2550 | ||
4. ผศ.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ | พ.ศ. 2550 - 2554 | ||
5. ผศ.ทวีศลิป์ สืบวัฒนะ | พ.ศ. 2554 - 2557 | ||
6. ผศ.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ (รักษาการแทนฯ) | พ.ศ. 2557 - 2558 | ||
8. อาจารย์กนกพร รัตนธีระกุล | พ.ศ. 2558 - 2562 | ||
9. อาจารย์กนกพร รัตนธีระกุล (วาระที่สอง) | พ.ศ. 2562 - 2562 | ||
10. ผศ.ดร.กนกพร รัตนธีระกุล (รักษาการแทนฯ) | พ.ศ. 2562 - 2563 | ||
11. รศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์ | พ.ศ. 2563 - 2567 | ||
12. รศ.ดร.นิตยา วรรณกิตร์ (วาระที่สอง) | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ชิงชัย มงคลธรรม เป็นหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[20]
- ลิขิต บุตรพรม เป็นนักแสดง/นายแบบ ศิษย์เก่าสาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[21]
- ฉลาด ขามช่วง เป็นประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[22]
- นที คณารัตน์ปทุม เป็นผู้เข้าแข่งขัน เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 19 ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ แขนงวิชาดนตรีตะวันตก[23]
- มนตรี อุดมพงษ์ เป็นนักข่าวภาคสนาม ศิษย์เก่าสาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม [24]
- ผศ.ดร.พชรนนท์ สายัณห์เกณะ ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, อาจารย์ที่ปรึกษาวงขับร้องประสานเสียงแห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU Chorus)
- ผศ.ดร.สมเกียรติ ภู่พัฒน์วิบูลย์ ศิษย์เก่า/คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- รศ.ดร.สุรศักดิ์ คำคง ศิษย์เก่า/คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ
- ดร.พิลานุช ภูษาวิโศธน์ ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ
- ดร.อินธิสาร ไชยสาร ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตกและภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ
- อ.พนัส ปรีวาสนา นักจัดกระบวนการจัดการทางความรู้ นักวิชาการศึกษา นักเขียน สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย
- ณิชชา เต็งประวัติ เล นักธุรกิจ / รางวัล “บุคคลตัวอย่างภาคธุรกิจแห่งปี 2016 ” เก็บถาวร 2016-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาเวียดนาม
- ภัทชดล จันทร์ภักดิ์ เป็นนักแสดง ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์[25]
- ธนาธิป ศรีทองสุก นักร้อง/นักแสดง (สมาชิกวงElement) ศิษย์เก่าสาขาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- รัตนาพร สารศรี (โบว์ดำ ลำซิ่ง อาร์สยาม) เป็นนักร้อง ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ แขนงวิชาดนตรีดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ)
- อ.ดร.หนึ่งฤทัย จันทรคามิ ประธานหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาไทศึกษา และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาเวียดนาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- อ.วันทนีย์ นาชัยเงิน ศิษย์เก่า/อาจารย์ประจำหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (ภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ ศิษย์เก่าปริญญาโทสาขาไทยคดีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2539
- รศ.สุทธิพร บุญมาก ศิษย์เก่าสาขาการพัฒนาชุมชน เกียรตินิยม อันดับ 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2540
- นายอำนาจ แสนทวีสุข ศิษย์เก่าสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2565
- ปอนด์ กัมปนาท กุลไทย ศิษย์เก่าสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสาตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำเร็จการศึกษา 2567
- บิ๊กเอ็ม กฤตฤทธิ์ บุตรพรม ศิษย์เก่าสาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- แอน สุปิยา ชัยบรรหา ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารหลักสูตรนานาชาติ
- แบงก์ ธนาธิป ศรีทองสุก ศิษย์เก่าสาขาวิาชาภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ชนะชัย แก้วผาง ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ประกาศข่าวภาคสนามช่อง 7 HD
- ณัฐดนัย นะราช ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ไก่ จันทร์ลดา หารอ่อนตา ศิษย์เก่าภาษาเพื่อการสร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ รุ่น 9
- ตั้ม จิรวัฒน์ มหาสาร ศิษย์เก่าสาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- เก็บถาวร 2024-11-27 ที่ human.msu.ac.th (Error: unknown archive URL)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คณะศึกษาศาสตร์. ประวัติคณะศึกษาศาสตร์ เก็บถาวร 2021-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ราชกิจจานุเบกษา. "พระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497". สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗. เก็บถาวร 2022-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย. การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๒๙. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
- ↑ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ประวัติโดยย่อ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2564.
- ↑ สำนักงานอธิการบดี. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๘. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564.
- ↑ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์. ประวัติคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์. เก็บถาวร 2021-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 เมษายน 2564.
- ↑ คณะการบัญชีและการจัดการ. ประวัติคณะการบัญชีและการจัดการ. เก็บถาวร 2021-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 เมษายน 2564.
- ↑ สำนักงานอธิการบดี. พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๘. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564.
- ↑ คณะวิทยาการสารสนเทศ. ประวัติคณะวิทยาการสารสนเทศ. เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 เมษายน 2564.
- ↑ รองศาสตราจารย์ ดร.อนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง. วีดิทัศน์ครบรอบ 20 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ 18 มีนาคม 2562 (วีดีทัศน์). คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 11.55 นาที.
- ↑ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. ประวัติวิทยาลัยการเมืองการปกครอง. 2 เมษายน 2564.
- ↑ คณะมนุษยสาสตร์และสังคมศาสตร์. ภาควิชาในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 เมษายน 2564
- ↑ สอวน. ภูมิศาสตร์ - มูลนิธิ สอวน. เก็บถาวร 2022-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 เมษายน 2565.
- ↑ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ศูนย์ภูมิศาสตร์โอลิมปิก มหาวิทลัยมหาสารคาม. 1 เมษายน 2565.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 139. เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 1 เมษายน 2564
- ↑ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2 กันยายน 2564.
- ↑ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ทำเนียบคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เก็บถาวร 2021-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2 กันยายน 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23 มีนาคม 2564
- ↑ ประวัตินายชิงชัย
- ↑ "ประวัติลิขิต บุตรพรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-26.
- ↑ นายฉลาด สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
- ↑ ประวัตินายนที สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
- ↑ ประวัตินายมนตรี สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2565.
- ↑ ประวัติโน่ ภัทชดล