ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
One31channel (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 500: บรรทัด 500:
| date = February 27, 2019
| date = February 27, 2019
| access-date = 3-3-2019
| access-date = 3-3-2019
}}</ref> [[พรรคพลังประชารัฐ]]มีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบ[[ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคประชาธิปัตย์]]มีนโยบายนิยมตลาดเสรี ประกันราคาพืชผลเกษตร บริการฉุกเฉินโรงพยาบาลไม่เสียค่าใช้จ่ายและประกันรายได้ขั้นต่ำภาครัฐ<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคอนาคตใหม่]]มีนโยบายร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีนโยบาย[[เสรีนิยม]]ที่เน้นความโปร่งใสของรัฐบาล การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสิทธิ[[กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ]] ลดรายจ่ายกลาโหมนำมาขยายสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข<ref name="ks_dummy" /> [[พรรครวมพลังประชาชาติไทย]]เน้นการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการเทิดทูนพระมหากษัตริย์<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคประชาชนปฏิรูป]] "น้อมนำคำสอนพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ"<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคภูมิใจไทย]]มีนโยบาย[[กัญชาในประเทศไทย|กัญชาถูกกฎหมาย]] เวลาทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ การตั้งสถานที่ทำงานร่วมกัน (co-working space)<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคชาติพัฒนา]]มีนโยบายสร้างสนามกีฬา แหล่งพลังงานทางเลือก กำจัดหมอกควันและช่วยเหลือผู้พิการ<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคชาติไทยพัฒนา]]มีนโยบายกระจายอำนาจ และการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการศึกษา<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคเพื่อชาติ]]มีนโยบายปรับปรุงสาธารณสุขต่างจังหวัด การขนส่งในเมือง และลดภาษีการขนส่งการเกษตร<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคประชาชาติ]]มีแนวนโยบายการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนา การหาทางแก้ไขปัญหา[[ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย|ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้]] และปราบปรามยาเสพติด<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคเสรีรวมไทย]]มีนโยบายลดขนาดกองทัพและย้ายหน่วยงานทหารออกนอกกรุงเทพมหานคร ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจต่างจังหวัด<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคพลังท้องถิ่นไท]]มีนโยบายปราบปรามยาเสพติด พัฒนาการศึกษาด้านภาษาและการเพิ่มราคายางพารา<ref name="ks_dummy" />
}}</ref> การเสนอตัดงบประมาณกลาโหมดังกล่าวทำให้พลเอก [[อภิรัชต์ คงสมพงษ์]] ผู้บัญชาการทหารบก แนะให้ผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยไปฟังเพลง "[[หนักแผ่นดิน]]" และสั่งให้กองทัพบกเปิดเพลงดังกล่าวทางสถานีวิทยุกองทัพบก แม้ต่อมาจะมีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าว<ref>{{cite news
| author = Teeranai Charuvastra
| title = Army Revokes Order to Broadcast ‘Red Scare’ Song
| url = http://www.khaosodenglish.com/politics/2019/02/18/army-chief-cites-massacre-anthem-to-slam-proposed-defense-cuts/
| work = Khaosod English
| location =
| date = February 18, 2019
| access-date = 3-3-2019
}}</ref> [[พรรคพลังประชารัฐ]]มีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบ[[ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคประชาธิปัตย์]]มีนโยบายนิยมตลาดเสรี นิยมเจ้า ประกันราคาพืชผลเกษตร บริการฉุกเฉินโรงพยาบาลไม่เสียค่าใช้จ่ายและประกันรายได้ขั้นต่ำภาครัฐ<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคอนาคตใหม่]]มีนโยบายร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีนโยบาย[[เสรีนิยม]]ที่เน้นความโปร่งใสของรัฐบาล การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสิทธิ[[กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ]] ลดรายจ่ายกลาโหมนำมาขยายสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข<ref name="ks_dummy" /> [[พรรครวมพลังประชาชาติไทย]]เน้นการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการเทิดทูนพระมหากษัตริย์<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคประชาชนปฏิรูป]] "น้อมนำคำสอนพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ"<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคภูมิใจไทย]]มีนโยบาย[[กัญชาในประเทศไทย|กัญชาถูกกฎหมาย]] เวลาทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ การตั้งสถานที่ทำงานร่วมกัน (co-working space)<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคชาติพัฒนา]]มีนโยบายสร้างสนามกีฬา แหล่งพลังงานทางเลือก กำจัดหมอกควันและช่วยเหลือผู้พิการ<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคชาติไทยพัฒนา]]มีนโยบายกระจายอำนาจ และการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการศึกษา<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคเพื่อชาติ]]มีนโยบายปรับปรุงสาธารณสุขต่างจังหวัด การขนส่งในเมือง และลดภาษีการขนส่งการเกษตร<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคประชาชาติ]]มีแนวนโยบายการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนา การหาทางแก้ไขปัญหา[[ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย|ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้]] และปราบปรามยาเสพติด<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคเสรีรวมไทย]]มีนโยบายลดขนาดกองทัพและย้ายหน่วยงานทหารออกนอกกรุงเทพมหานคร ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจต่างจังหวัด<ref name="ks_dummy" /> [[พรรคพลังท้องถิ่นไท]]มีนโยบายปราบปรามยาเสพติด พัฒนาการศึกษาด้านภาษาและการเพิ่มราคายางพารา<ref name="ks_dummy" />


หลังพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบในเดือนมีนาคม 2562 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักษาชาติหลายคนกลับไปเข้ากับพรรคเพื่อไทย รวมทั้งมีความพยายามถ่ายคะแนนไปยังพรรคเสรีรวมไทยและพรรคประชาชาติ<ref name="โหวตโน"/> อดีตสมาชิก[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]ไปเข้ากับพรรคเพื่อชาติ มีอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คนไปเข้ากับพรรคภูมิใจไทย<ref name="โหวตโน"/> และยังมียุทธวิธีการรณรงค์ไม่ประสงค์ลงคะแนน แต่กรรมการการเลือกตั้งมองว่าเป็นลักษณะที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพราะ "มีวัตถุประสงค์ให้มีคะแนนโหวตโนมากกว่าคะแนนผู้สมัคร ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการเลือกตั้ง"<ref name="โหวตโน">{{cite news
หลังพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบในเดือนมีนาคม 2562 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักษาชาติหลายคนกลับไปเข้ากับพรรคเพื่อไทย รวมทั้งมีความพยายามถ่ายคะแนนไปยังพรรคเสรีรวมไทยและพรรคประชาชาติ<ref name="โหวตโน"/> อดีตสมาชิก[[แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ]]ไปเข้ากับพรรคเพื่อชาติ มีอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คนไปเข้ากับพรรคภูมิใจไทย<ref name="โหวตโน"/> และยังมียุทธวิธีการรณรงค์ไม่ประสงค์ลงคะแนน แต่กรรมการการเลือกตั้งมองว่าเป็นลักษณะที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพราะ "มีวัตถุประสงค์ให้มีคะแนนโหวตโนมากกว่าคะแนนผู้สมัคร ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการเลือกตั้ง"<ref name="โหวตโน">{{cite news

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:56, 19 มีนาคม 2562

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562

← พ.ศ. 2557 24 มีนาคม 2562

ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
  First party Second party
  ไฟล์:Prayut Chan-o-cha (cropped) 2016.jpg
ผู้สมัคร พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
พรรค พลังประชารัฐ เพื่อไทย
เลือกตั้งล่าสุด พรรคใหม่ 265 ที่นั่ง; 48.41%

  Third party Fourth party
  ไฟล์:Thanathorn J. cropped.jpg
ผู้สมัคร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
พรรค ประชาธิปัตย์ อนาคตใหม่
เลือกตั้งล่าสุด 159 ที่นั่ง; 35.15% พรรคใหม่

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ยังไม่ประกาศ

ปฏิทินการจัดเลือกตั้ง
23 ม.ค.ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งฯ
24 ม.ค.กกต. ประกาศรายละเอียดการเลือกตั้ง
28 ม.ค. – 19 ก.พ.วันลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าและเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร
4 – 8 ก.พ.วันรับสมัคร ส.ส. พร้อมแจ้งชื่อผู้สมัครนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง
15 ก.พ.กกต. ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
4 – 16 มี.ค.วันลงคะแนนนอกราชอาณาจักร
17 มี.ค.วันเลือกตั้งล่วงหน้า
24 มี.ค.วันเลือกตั้งทั่วไป
9 พ.ค.วันหมดเขตประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี ให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปมาโดยตลอด แต่เลื่อนกำหนดวันเลือกตั้งทั้งสิ้น 5 ครั้ง[1] ปลายปี 2561 มีการเผยแพร่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเลือกวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นวันเลือกตั้ง

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งเป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสม ทำให้มีการคาดกันว่าพรรคการเมืองขนาดเล็กจะได้ที่นั่งมากขึ้น นอกจากนี้ กฎหมายยังเปิดช่องให้ผู้ที่มิใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีได้ หลายพรรคเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้มีการแบ่งพรรคการเมืองออกเป็นสามฝ่ายหลัก คือ ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ ฝ่ายหนึ่งคัดค้านพลเอกประยุทธ์ และอีกฝ่ายหนึ่งยังไม่ประกาศตัวชัดเจน

เบื้องหลัง

ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ในเดือนมีนาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญเพราะการเลือกตั้งไม่เกิดในวันเดียวกันทั่วประเทศ[2] หลังข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันที่ 20 กรกฎาคม[2]

ต่อมา เกิดรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปหลังดำเนินการปฏิรูปและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

การเลือกตั้งครั้งนี้จะจัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งมีทหารหนุนหลัง และจะนำไปสู่การสิ้นสุดลงของช่วงเวลาเผด็จการทหารที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย[3]

การเลื่อนวันเลือกตั้ง

ไม่นานหลังรัฐประหาร พลเอกประยุทธ์กล่าวว่าการเลือกตั้งน่าจะจัด "ภายในสิ้นปี 2558" ทว่า เมื่อสิ้นปี 2557 เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายคนกล่าวต่อสาธารณะว่า จะไม่จัดการเลือกตั้งจนถึงประมาณกลางปี 2559[4] ในเดือนพฤษภาคม 2558 รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม กล่าวว่า บัดนี้จะจัดการเลือกตั้ง "ประมาณเดือนสิงหาคมหรือในเดือนกันยายน" 2559 หลังรัฐบาลประกาศเจตนาว่าจะจัดการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าจะจัดในช่วงต้นปี 2559[5] ในเดือนมิถุนายน 2558 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า เขาเต็มใจรั้งตำแหน่งอีกสองปีหาก "ประชาชนต้องการ" หลังสภาปฏิรูปแห่งชาติผลักดันเพื่อจัดการลงคะแนนว่าการปฏิรูปของรัฐบาลควรเสร็จสิ้นก่อนจัดการเลือกตั้งหรือไม่ หมายความว่า การเลือกตั้งทั่วไปอาจไม่จัดจนกว่าต้นปี 2561 แต่ไม่กี่วันต่อมา เขาวางตัวห่างจากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติหลังเผชิญปฏิกิริยาสะท้อนสำหรับความเห็นของเขา[6] ทว่า การนี้เปิดประตูไว้ให้ "การสำเร็จการปฏิรูป" ภายใต้รัฐบาลใหม่ซึ่งจะเลื่อนการเลือกตั้งไปอีก หากการริเริ่มของสภาปฏิรูปแห่งชาติสำเร็จ

ในเดือนตุลาคม 2560 พลเอกประยุทธ์ให้คำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปประมาณเดือนพฤศจิกายน 2561 ทว่า การเลือกวันเลือกตั้งทำให้เกิดข่าวลือว่าเขาพยายามรั้งอำนาจหลังการเลือกตั้งครั้งถัดไปผ่านพรรคการเมืองที่กองทัพหนุนหลัง ในเดือนมกราคม 2561 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติเลื่อนการใช้บังคับกฎหมายการเลือกตั้งใหม่อีก 90 วัน ซึ่งยิ่งเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปอีก ในเวลานั้น รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การตัดสินใจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอาจเลื่อนการเลือกตั้งไปจนเดือนกุมภาพันธ์ 2562[7]

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ตัวแทนกลุ่มการเมืองเข้าร่วมประชุมกับ กกต. เพื่อรับทราบข้อมูลในการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[8]

ภายหลังจากการประชุมหารือ 4 ฝ่ายประกอบไปด้วย ครม. กรธ. กกต. และพรรคการเมืองที่สโมสรทหารบกเมื่อวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าได้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการครั้งแรก โดยมีตัวเลือกได้แก่ 24 กุมภาพันธ์, 31 มีนาคม, 28 เมษายน หรือ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 วิษณุแจ้งกับพรรคการเมืองที่เข้าร่วมประชุมว่า พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดวันเลือกตั้ง[9]

การจัดระบบเลือกตั้งใหม่

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เปลี่ยนแปลงวิธีการออกเสียงเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเดิมจะมีบัตรเลือกตั้งสองบัตร บัตรหนึ่งเลือกสมาชิกฯ แบบแบ่งเขต และอีกบัตรหนึ่งเลือกสมาชิกฯ แบบบัญชีรายชื่อ แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ จะลดบัตรเลือกตั้งเหลือบัตรเดียว โดยเลือกทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ[10]

โดยรัฐธรรมนูญกำหนดระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment System: MMA) โดยกำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต 350 คน ซึ่งมาจากผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุดในเขตนั้น ๆ และมากกว่าคะแนนไม่ประสงค์ลงคะแนน ส่วนถ้าคะแนนเท่ากันให้จับสลากต่อหน้า กกต. ฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมาจากคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่ได้รับทั้งประเทศหารด้วย 500 ได้เป็นจำนวน สส. ที่พึงมีของพรรคการเมืองนั้น ๆ แล้วนำจำนวนดังกล่าวมาเพิ่มให้ สส. เขตที่พรรคการเมืองดังกล่าวได้อยู่ก่อนแล้ว[11] ซึ่งการคำนวณ สส. แบบดังกล่าวทำให้มีความเป็นไปได้น้อยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวจะครองเสียงข้างมากในสภาเกินกึ่งหนึ่ง พรรคเพื่อไทยใช้วิธีการตั้งพรรคพี่-พรรคน้อง ส่วนพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กพยายามดึงตัว สส. และ "ผู้สมัครสอบตก" เข้าร่วมพรรค ด้านบีบีซีไทยคำนวณว่าหากใช้ระบบดังกล่าวไปคิดในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 พรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่งน้อยลง 61 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์จะได้ที่นั่งน้อยลง 14 ที่นั่ง ส่วนพรรคภูมิใจไทยจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 16 ที่นั่ง และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินจะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น 11 ที่นั่ง[12]

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คน ซึ่งมีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ดังนั้น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงต้องการคะแนนเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกันตั้งแต่ 376 คนขึ้นไป ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาชุดดังกล่าวมีวาระ 5 ปี นักวิจารณ์กล่าวว่าวุฒิสภาชุดนี้ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปแม้พรรคที่นิยมประยุทธ์จะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรน้อยกว่า ทั้งนี้ หากสมาชิกวุฒิสภาทั้ง 250 คนสนับสนุนประยุทธ์ ทำให้พรรคการเมืองที่นิยมประยุทธ์ต้องการอีกเพียง 126 ที่นั่งก็สามารถเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีได้[13] อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์ทำนายว่าพรรคพลังประชารัฐและพรรคการเมืองอื่นที่นิยมทหารอาจได้ที่นั่งรวมกันไม่ถึง 126 ที่นั่ง และจะต้องการการสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์

การเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ 350 เขต ลดลงจากการเลือกตั้งครั้งก่อนที่กำหนดไว้ 400 เขต[14] ในปี 2561 กกต. มีหน้าที่วาดเขตเลือกตั้งใหม่ แต่ก่อนมีการประกาศ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งเลื่อนการประกาศเขตเลือกตั้ง นอกจากนี้ กกต. ยังได้รับยกเว้นจากกฎหมายเขตเลือกตั้งเดิม ทำให้ กกต. สามารถวาดเขตเลือกตั้งใหม่อย่างไรก็ได้ ฝ่ายพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ตลอดจนมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตยแสดงการคัดค้านรุนแรง[15] ซึ่งแย้งว่าการเลื่อนเวลาจะทำให้ กกต. วาดแผนที่ให้เอื้อต่อพรรคพลังประชารัฐ นักหนังสือพิมพ์และนักวิจารณ์เปรียบเทียบการณ์นี้ว่าเหมือนกับการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบในสหรัฐ บางคนออกความเห็นว่า คสช. ชนะการเลือกตั้งแล้ว[16][13][17] วันที่ 29 พฤศจิกายน กกต. วาดเขตเลือกตั้งใหม่แล้วเสร็จและประกาศ[18] ซึ่งพรรคการเมืองหลายพรรคและองค์การควบคุมดูแลพบว่ามีการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเอาเปรียบซึ่งพรรคพลังประชารัฐจะได้ประโยชน์หลายกรณี[19][20]

เขตเลือกตั้ง 350 เขต แบ่งจำนวนเขตเลือกตั้งตามจังหวัดดังต่อไปนี้ [21]

พื้นที่ จำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กรุงเทพมหานคร 30
นครราชสีมา 14
ขอนแก่น และอุบลราชธานี 10
เชียงใหม่ 9
ชลบุรี, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, สงขลา และอุดรธานี 8
เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สมุทรปราการ และสุรินทร์ 7
ชัยภูมิ, นครสวรรค์, นนทบุรี, ปทุมธานี, สกลนคร และสุราษฎร์ธานี 6
กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, นครปฐม, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, มหาสารคาม และราชบุรี 5
กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, นครพนม, นราธิวาส, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ระยอง, ลพบุรี, ลำปาง และสุพรรณบุรี 4
จันทบุรี, ชุมพร, ตรัง, ตาก, น่าน, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, พะเยา, พัทลุง, พิจิตร, เพชรบุรี, ยโสธร, ยะลา, เลย, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, หนองคาย และหนองบัวลำภู 3
กระบี่, ชัยนาท, บึงกาฬ, แพร่, ภูเก็ต, มุกดาหาร, ลำพูน, สตูล, อำนาจเจริญ, อุทัยธานี และอุตรดิตถ์ 2
ตราด, นครนายก, พังงา, แม่ฮ่องสอน, ระนอง, สิงห์บุรี สมุทรสงคราม และอ่างทอง 1

พรรคการเมืองและชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

ภาพรวม

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ กกต. สรุปยอดผู้สมัคร ส.ส. พบมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตจำนวน 11,128 คน จากพรรคการเมือง 80 พรรค และแบบบัญชีรายชื่อ 2,718 คนจาก 72 พรรค รวม 13,846 คน เทียบกับผู้สมัครในปี 2554 จำนวน 3,832 คน[22]

ที่ผ่านมานับแต่ปี 2544 พรรคการเมืองซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองของทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้ง (ได้แก่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนและพรรคเพื่อไทย) ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตไม่ครบทุกเขตทั่วประเทศ[23] ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองใหญ่อันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร กติกาการเลือกตั้งใหม่ทำให้นักวิเคราะห์เห็นพ้องกันว่าจะเกิดพรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ รศ. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำนายว่าพรรคที่จะได้ที่นั่งเกิน 25 ที่นั่งน่าจะมีไม่เกิน 5 พรรค[24]

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้งออกประกาศ กกต. เรื่อง การแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยพรรคการเมืองที่เสนอรายชื่อ จำนวน 44 พรรคการเมือง รวม 68 รายชื่อ

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งกฎหมายเปิดให้บุคคลที่มิใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีได้ พรรคการเมืองหลายพรรคเตรียมเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการแบ่งพรรคการเมืองต่าง ๆ ออกเป็นสามฝ่ายใหญ่ ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชนปฏิรูป พรรคพลังชล เป็นต้น ฝ่ายหนึ่งคัดค้านพลเอกประยุทธ์ เช่น พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น และอีกฝ่ายหนึ่งที่มีจุดยืนไม่ชัดเจน เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นต้น[25] วันที่ 10 มีนาคม 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศว่าจะไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ฝ่ายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่ต้องไม่เอาพรรคพลังประชารัฐด้วย เชื่อว่ามีบางพรรคที่บอกว่าไม่เอาพลเอกประยุทธ์ แต่อยากจับมือพลังประชารัฐเพื่อชูตัวเองขึ้นเป็นนายกฯ[26]

ชื่อบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี

พรรคการเมือง ชื่อ ประสบการณ์
พรรคกรีน พงศา ชูแนม อดีตหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ อำเภอพะโต๊ะ
พรรคกลาง ชุมพล ครุฑแก้ว
พรรคกสิกรไทย ทรรศชล พงษ์ภควัต
พรรคคนงานไทย ธีระ เจียบุญหยก
พรรคคนธรรมดาแห่งประเทศไทย ธนพร ศรียากูล
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ปรีดา บถญเพลิง
พรรคคลองไทย สายัณห์ อินทรภักดิ์
พรรคความหวังใหม่ ชิงชัย มงคลธรรม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรรคชาติไทยพัฒนา กัญจนา ศิลปอาชา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พรรคชาติพัฒนา (1) สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
พรรคชาติพัฒนา (2) วรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอตสาหกรรม
พรรคชาติพัฒนา (3) เทวัญ ลิปตพัลลภ อดีต ส.ส.
พรรคชาติพันธุ์ไทย (1) โกวิทย์ จิรชนานนท์
พรรคชาติพันธุ์ไทย (2) พลศุภรักษ์ ศิริจันทรานนท์
พรรคชาติพันธุ์ไทย (3) ภราดล พรอำนวย
พรรคฐานรากไทย (1) บวร ยสินทร
พรรคฐานรากไทย (2) ว่าที่ร้อยตรี ญาณวุฒิ พรหมเดชากุล
พรรคทางเลือกใหม่ ราเชน ตระกูลเวียง
พรรคไทยธรรม (1) อโณทัย ดวงดารา
พรรคไทยธรรม (2) ภูษิต ภูปภัสศิริ
พรรคไทยธรรม (3) กิติกร วิชัยเรืองธรรม
พรรคไทยศรีวิไลย์ (1) มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นแห่งชาติ
พรรคไทยศรีวิไลย์ (2) ณัชพล สุพัฒนะ
พรรคไทยศรีวิไลย์ (3) ภคอร จันทรคณา
พรรคประชากรไทย (1) สุมิตร สุนทรเวช
พรรคประชากรไทย (2) คณิศร สมมะลวน
พรรคประชาชาติ (1) วันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาชาติ (2) พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการ ศอ.บต.
พรรคประชาชาติ (3) ณหทัย ทิวไผ่งาม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธรรมไทย (1) พิเชษฐ สถิรชวาล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
พรรคประชาธรรมไทย (2) ชัยวุฑ ตรึกตรอง
พรรคประชาธิปไตยใหม่ สุรทิน พิจารณ์
พรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
พรรคประชานิยม (1) พันตำรวจเอก รวมนคร ทับทิมธงไชย
พรรคประชานิยม (2) พลตำรวจเอก ยงยุทธ เทพจำนงค์
พรรคประชานิยม (3) ปฐมฤกษ์ มณีเนตร
พรรคประชาภิวัฒน์ (1) สมเกียรติ ศรลัมพ์ อดีต ส.ว.
พรรคประชาภิวัฒน์ (2) นันทนา สงฆ์ประชา อดีต ส.ส.
พรรคประชาภิวัฒน์ (3) ศาสตราจารย์ สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
พรรคแผ่นดินธรรม (1) ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท บรรจบ บรรณรุจิ ศาสตราจารย์พิเศษ ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พรรคแผ่นดินธรรม (2) กรณ์ มีดี
พรรคพลเมืองไทย เอกพร รักความสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
พรรคพลังชาติไทย พลตรี ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตคณะทำงานด้านการปฏิรูปประเทศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
พรรคพลังท้องถิ่นไทย (1) ชัชวาลย์ คงอุดม อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
พรรคพลังท้องถิ่นไทย (2) ศาสตราจารย์ โกวิทย์ พวงงาม
พรรคพลังไทยดี สาธุ อนุโมทามิ
พรรคพลังไทยรักไทย (1) พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
พรรคพลังไทยรักไทย (2) คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล
พรรคพลังประชาธิปไตย พูนพิพัฒน์ นิลรังสี
พรรคพลังประชารัฐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
พรรคพลังสังคม วิฑูรย์ ชลายนนาวิน
พรรคพัฒนาประเทศไทย ศิลปิน หาญผดุงธรรมะ
พรรคเพื่อคนไทย วิทยา อินาลา
พรรคเพื่อชีวิตใหม่ กฤติวัฒน์ กลางชัย
พรรคเพื่อไทย (1) คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พรรคเพื่อไทย (2) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม
พรรคเพื่อไทย (3) ชัยเกษม นิติสิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พรรคเพื่อธรรม นลินี ทวีสิน อดีตผู้แทนการค้าไทย
พรรคภราดรภาพ หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุล อดีต ส.ส.
พรรคภาคีเครือข่ายไทย กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์
พรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญวีรกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พรรคมหาชน (1) อภิรัต ศิรินาวิน อดีต ส.ส.
พรรคมหาชน (2) พาลินี งามพริ้ง
พรรคมหาชน (3) สุปกิจ คชเสนี
พรรคเศรษฐกิจใหม่ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
พรรคสยามพัฒนา เอนก พันธุรัตน์
พรรคเสรีรวมไทย พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีต ผบ.ตร.
พรรคอนาคตใหม่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

กรณีเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้ดำเนินรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ช่องนาว 26 กล่าวว่า "8 กุมภา จะเป็นจุดเปลี่ยนการเมืองระดับแผ่นดินไหว" และอีกตอนหนึ่งว่า "เปิด[ชื่อ]ออกมาเมื่อไร แผ่นดินไหวทางการเมืองทันที... ไม่ใช่คนตระกูลชินวัตร หรือวงศ์สวัสดิ์ จะเป็นชื่อที่อึกทึกครึกโครมทั้งแผ่นดิน"[27] ด้านหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ลงข่าวพาดหัวว่า "ประยุทธ์ยอมรับ เผื่อใจแล้ว! ไม่ได้เป็นนายกฯ"[28]

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พรรคไทยรักษาชาติยื่นพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ มหิดล เป็นผู้ที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงชื่อเดียว ด้านปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติให้สัมภาษณ์ว่า "พระองค์ท่านเองทรงมีพระเมตตาตอบรับและให้พรรคไทยรักษาชาติเสนอพระนามในบัญชีนายกฯ ของพรรค"[29][30] วันเดียวกัน ไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป ยื่นหนังสือต่อประธาน กกต. ขอให้พิจารณาการเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ว่าเข้าข่ายขัดระเบียบ กกต. เรื่องลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ เนื่องจากทรงเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องอยู่เหนือการเมือง[31][32]

ต่อมา เมื่อเวลา 22.40 น. โดยประมาณ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยประกาศพระราชโองการของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สรุปว่า การนำพระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ แม้จะทรงกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์ไปแล้ว มาเกี่ยวข้องกับระบบการเมือง ไม่ว่าจะโดยทางใดก็ตาม เป็นการกระทำที่ขัดต่อโบราณราชประเพณี ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของชาติ ถือเป็นการกระทำที่มิบังควรไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง[33]

ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 กกต. ประกาศรับรองบัญชีรายชื่อทั้ง 45 พรรค 69 รายชื่อ โดยไม่ปรากฏชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ เพราะยังถือว่าเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ต้องอยู่เหนือการเมือง นอกจากนี้ กกต. จะหารือต่อไปว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายต้องยุบพรรคหรือไม่[34]

เหตุการณ์ก่อนเลือกตั้ง

คดีความและการยื่นยุบพรรคการเมือง

หลังพรรคไทยรักษาชาติยื่นเสนอชื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเป็นนายกรัฐมนตรี และมีพระราชโองการซึ่งมีใจความสำคัญว่าห้ามพระบรมวงศานุวงศ์เกี่ยวข้องกับการเมืองเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 กรรมการการเลือกตั้งมีมติยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติเนื่องจาก "กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องพิจารณายุบพรรคไทยรักษาชาติ[35] และเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักษาชาติ พร้อมตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคห้ามลงสมัครรับเลือกตั้ง จดทะเบียนจัดตั้งพรรคใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลา 10 ปี[36] ส่วนผู้ที่ลงคะแนนเลือกพรรคไทยรักษาชาติไปแล้วถือว่าเป็นบัตรเสียทั้งหมด

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ ยื่นคำร้องต่อกรรมการการเลือกตั้งให้ไต่สวนยุบพรรคพลังประชารัฐ และคัดค้านการเสนอชื่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเนื่องจากดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือว่ามีคุณสมบัติต้องห้าม[37] ต่อมา ผู้ตรวจการแผ่นดินแถลงว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปัตย์ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ และจะไม่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต่อ[38] วันที่ 12 มีนาคม 2562 กกต. เปิดเผยว่า ไม่พบความผิดที่พรรคพลังประชารัฐจัดโต๊ะจีนระดมทุน เนื่องจากไม่พบบุคคลต่างชาติบริจาคเงิน จึงไม่มีความผิดและไม่ต้องยุบพรรค[39] วันที่ 14 มีนาคม 2562 พรรคพลังประชารัฐถูกยื่นเอาผิดจากกรณีปราศรัยนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาหาเสียง เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมทรัพย์สินเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้ง[40]

วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กวิจารณ์การดูดผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ต่อมาเขาถูกฟ้องว่านำความเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ล่าสุดอัยการสั่งเลื่อนคำสั่งคดีเป็นวันที่ 26 มีนาคมซึ่งเป็นวันหลังเลือกตั้ง[41] วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ทีมงานประชาชนและปกป้องรัฐธรรมนูญยื่นหนังสือถึงกรรมการการเลือกตั้งให้พิจารณาส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากมีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยยกว่ามีความพยายามเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และคำประกาศที่ว่าจะสานต่อภารกิจของคณะราษฎร[42] วันที่ 14 มีนาคม กกต. ยกคำร้องกรณีประวัติลงประวัติธนาธรผิดว่าเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย[43] วันที่ 15 มีนาคม พรรคอนาคตใหม่ถูกยื่นยุบพรรคหลังมีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติหาเสียงให้ โดยถูกกล่าวหาว่าเข้าข่ายถูกผู้อื่นครอบงำพรรค[44]

การอภิปรายทางโทรทัศน์

วันที่ 1 มีนาคม 2562 อรวรรณ ชูดี (กริ่มวิรัตน์กุล) พิธีกรทางช่อง 9 อสมท โพสต์ทางเฟซบุ๊กว่า ได้รับคำสั่งจากผู้บริหารให้ยุติการดำเนินพิธีกรรายการ ทั้งนี้ เธอเป็นพิธีกรรายการ "ศึกเลือกตั้ง 62" เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอภิปรายเป็นเยาวชนที่ตอบคำถาม 4 ข้อ เช่น "เห็นด้วยหรือไม่ ที่รธน.60 ในบทเฉพาะกาล 5 ปีแรกให้ ส.ว. 250 คนร่วมโหวตเลือกนายกฯ" กรรมการบริหาร อสมท ปฏิเสธว่าไม่ได้ปลด ด้านสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยออกแถลงการณ์ว่าคำสั่งนี้เป็นการแทรกแซงเสรีภาพสื่อ และคุกคามสื่อมวลชน[45]

การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

วันที่ 9 มีนาคม 2562 มีการโพสต์ทางสื่อสังคมว่า มีคนไทยในประเทศจีนกว่า 500 คนไม่ได้บัตรเลือกตั้งในการเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร[46] วันเดียวกัน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศมาเลเซียกว่า 4,000 คน ต้องรอใช้สิทธินาน 3–4 ชั่วโมง จนต้องเปิดให้เลือกตั้งเพิ่มในวันที่ 10 มีนาคม[47] ด้านพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โพสต์แสดงความผิดพลาดในการพิมพ์เอกสารของ กกต. ซึ่งชื่อผู้สมัครกับพรรคการเมืองอยู่แยกกันคนละหน้า[48]

การรณรงค์เลือกตั้ง

พรรคเพื่อไทยชูแนวนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งนโยบายเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ส่งเสริมธุรกิจเอกชน กระตุ้นการท่องเที่ยว ขยายสาธารณสุขภาครัฐ เลิกการเกณฑ์ทหาร และลดรายจ่ายกลาโหม[49] พรรคพลังประชารัฐมีนโยบายส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้คำมั่นขยายโครงการสวัสดิการ[49] พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายนิยมตลาดเสรี ประกันราคาพืชผลเกษตร บริการฉุกเฉินโรงพยาบาลไม่เสียค่าใช้จ่ายและประกันรายได้ขั้นต่ำภาครัฐ[49] พรรคอนาคตใหม่มีนโยบายร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีนโยบายเสรีนิยมที่เน้นความโปร่งใสของรัฐบาล การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสิทธิกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ลดรายจ่ายกลาโหมนำมาขยายสวัสดิการสังคมและสาธารณสุข[49] พรรครวมพลังประชาชาติไทยเน้นการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการเทิดทูนพระมหากษัตริย์[49] พรรคประชาชนปฏิรูป "น้อมนำคำสอนพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ"[49] พรรคภูมิใจไทยมีนโยบายกัญชาถูกกฎหมาย เวลาทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ การตั้งสถานที่ทำงานร่วมกัน (co-working space)[49] พรรคชาติพัฒนามีนโยบายสร้างสนามกีฬา แหล่งพลังงานทางเลือก กำจัดหมอกควันและช่วยเหลือผู้พิการ[49] พรรคชาติไทยพัฒนามีนโยบายกระจายอำนาจ และการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการศึกษา[49] พรรคเพื่อชาติมีนโยบายปรับปรุงสาธารณสุขต่างจังหวัด การขนส่งในเมือง และลดภาษีการขนส่งการเกษตร[49] พรรคประชาชาติมีแนวนโยบายการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนา การหาทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ และปราบปรามยาเสพติด[49] พรรคเสรีรวมไทยมีนโยบายลดขนาดกองทัพและย้ายหน่วยงานทหารออกนอกกรุงเทพมหานคร ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจต่างจังหวัด[49] พรรคพลังท้องถิ่นไทมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด พัฒนาการศึกษาด้านภาษาและการเพิ่มราคายางพารา[49]

หลังพรรคไทยรักษาชาติถูกยุบในเดือนมีนาคม 2562 ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักษาชาติหลายคนกลับไปเข้ากับพรรคเพื่อไทย รวมทั้งมีความพยายามถ่ายคะแนนไปยังพรรคเสรีรวมไทยและพรรคประชาชาติ[50] อดีตสมาชิกแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติไปเข้ากับพรรคเพื่อชาติ มีอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คนไปเข้ากับพรรคภูมิใจไทย[50] และยังมียุทธวิธีการรณรงค์ไม่ประสงค์ลงคะแนน แต่กรรมการการเลือกตั้งมองว่าเป็นลักษณะที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพราะ "มีวัตถุประสงค์ให้มีคะแนนโหวตโนมากกว่าคะแนนผู้สมัคร ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการเลือกตั้ง"[50] อย่างไรก็ตาม พรรคอนาคตใหม่ไม่ใช่เป้าหมายเทคะแนนของอดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ[50] แม้มีข่าวฐิติมา ฉายแสง อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง เชิญชวนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตนเลือกผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่แทน[51] ด้านธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจปฏิเสธว่าโทรศัพท์คุยกับอดีตแกนนำพรรคไทยรักษาชาติเพื่อขอคะแนนเสียง[52]

ในเดือนมีนาคม 2562 พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ส่วนพรรคพลังประชารัฐเสนอเป็นวันละ 425 บาท ทำให้ถูกกล่าวหาว่าเป็นนโยบายประชานิยม ทำไม่ได้จริง หรือทำให้ผู้ประกอบการเดือดร้อน[53]

การเลือกตั้ง

กกต. เปิดเผยว่ามีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต 2.63 ล้านคน และเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร 119,000 คน[54]

ผลสำรวจ

ผลสำรวจพรรคการเมืองที่ต้องการ

ระยะเวลาการสำรวจ องค์การที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ อนาคตใหม่ อื่น ๆ คะแนนนำ
4–6 มีนาคม 2562 กรุงเทพโพลล์ 1,735 21.7% 15.5% 19% 12% 0.9% 8.9%
1–28 กุมภาพันธ์ 2562 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 1,431 19% 24% 12% 27% 18% 3%
15 กุมภาพันธ์ 2562 FT Confidential Research[55] 1,000 24% 14% 9% 11% 42% 10%
11 กุมภาพันธ์ 2562 มหาวิทยาลัยรังสิต[56] 8,000 16.90% 18.30% 21.50% 7.40% 35.9% 3.20%
4–7 กุมภาพันธ์ 2562 นิด้า 2,091 36.49% 15.21% 22.57% 8.18% 17.55% 13.92%
2–15 มกราคม 2562 นิด้า 2,500 32.72% 14.92% 24.16% 11.00% 17.20% 8.56%
24 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[57] 8,000 25.38% 22.62% 26.03% 9.80% 16.17% 0.65%
10–22 ธันวาคม 2562 ซุปเปอรฺ์โพล / YouGov[58] 1,094 38.30% 22.80% 4.70% 24.40% 9.80% 13.90%
24 พฤศจิกายน 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[59] 8,000 23.64% 19.01% 26.61% 8.84% 21.90% 2.97%
20–22 พฤศจิกายน 2561 นิด้า 1,260 31.75% 16.98% 19.92% 15.63% 15.72% 11.83%
17–18 กันยายน 2561 นิด้า 1,251 28.78% 19.58% 20.62% 15.51% 15.51% 8.16%
17–19 กรกฎาคม 2561 นิด้า 1,257 31.19% 16.47% 21.88% 9.63% 20.83% 9.31%
8–9 พฤษภาคม 2561 นิด้า 1,250 32.16% 19.20% 25.12% 11.60% 11.92% 7.04%
3 กรกฎาคม 2554 การเลือกตั้ง 2554 32,525,504 48.41% 35.15% - - 16.44% 13.26%

หมายเหตุ: ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยรังสิตถูกกล่าวหาว่าไม่มีความน่าเชื่อถือเนื่องจากเชื่อว่ามีความลำเอียงต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคพลังประชารัฐ สังศิต พิริยะรังสรรค์ หัวหน้าผู้จัดทำการสำรวจ เป็นผู้สนับสนุนประยุทธ์อย่างเปิดเผย และผู้กังขากล่าวหาว่ามีการตกแต่งจำนวนผู้ตอบผลสำรวจของประยุทธ์และพรรคพลังประชารัฐให้มากขึ้น[60]

ต่อมา มีการประกาศว่าจะยุติการสำรวจโดยใช้ชื่อมหาวิทยาลัยเป็นผู้สำรวจเพื่อไม่ให้ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยเสียหาย[61] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์สังศิตและมหาวิทยาลัยรังสิตยังออกผลสำรวจมาอีกครั้งหนึ่ง[56]

ผลสำรวจบุคคลเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีที่ต้องการ

ตามหลักปฏิบัติทั่วไป ผู้ที่จะเสนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นหัวหน้าของพรรคนั้น อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งในครั้งนี้ หลายภาคส่วนได้สนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ[62] พลเอกประยุทธ์ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการ แต่คณะรัฐมนตรีหรือที่ปรึกษาของพลเอกประยุทธ์ ได้เป็นหนึ่งในผู้บริหารของพรรคพลังประชารัฐ อย่างไรก็ดี พรรคพลังประชารัฐได้ถูกกล่าวขานว่าเป็นเพียงแค่เครื่องมือของพลเอกประยุทธ์เพื่อจะกลับมาดำรงตำแหน่งต่อในระบอบประชาธิปไตย[63] เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พรรคพลังประชารัฐได้เสนอบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นคือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[64]

ระยะเวลาการสำรวจ องค์การที่สำรวจ กลุ่มตัวอย่าง ประยุทธ์ สุดารัตน์ อภิสิทธิ์ ธนาธร อื่น ๆ คะแนนนำ
4-7 กุมภาพันธ์ 2562 นิด้า 2,091 26.06% 24.01% 11.43% 5.98% 32.52% 6.46%
2-15 มกราคม 2562 นิด้า 2,500 26.20% 22.40% 11.56% 9.60% 30.24% 4.04%
24 ธันวาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[57] 8,000 26.04% 25.28% 22.68% 9.90% 16.10% 0.76%
24 พฤศจิกายน 2561 มหาวิทยาลัยรังสิต[59] 8,000 27.06% 18.16% 15.55% 9.68% 29.55% 2.49%
20-22 พฤศจิกายน 2561 นิด้า 1,260 24.05% 25.16% 11.67% 14.52% 24.60% 1.11%
17-18 กันยายน 2561 นิด้า 1,251 29.66% 17.51% 10.71% 13.83% 28.29% 1.37%
17-19 มิถุนายน 2561 นิด้า 1,257 31.26% 14.96% 10.50% 7.48% 35.80% 4.54%
8-9 พฤษภาคม 2561 นิด้า 1,250 32.24% 17.44% 14.24% 10.08% 18.08% 14.80%

อ้างอิง

  1. "ย้อนที่มาเลื่อนเลือกตั้ง 5 ครั้ง ยุค คสช. จากปลายปี 2558 สู่ก่อนพระราชพิธีสำคัญ". THE STANDARD. 2019-01-09. สืบค้นเมื่อ 2019-01-13.
  2. 2.0 2.1 Thailand to hold fresh election on 20 July BBC News, 30 April 2014
  3. Nguyen, Anuchit; Thanthong-Knight, Randy (2019-01-23). "Thailand to Hold First General Election Since Coup in 2014". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
  4. Yueh, Linda (26 November 2014). "Thailand's elections could be delayed until 2016". BBC World News. BBC. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
  5. Peel, Michael (19 May 2015). "Generals postpone Thailand elections for at least six more months". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |subscription= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-access=) (help)
  6. "PM backpedals on staying on". The Nation. Nation Multimedia Group. 9 June 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015.
  7. Peel, Michael (30 January 2018). "Thailand's PM Prayut Chan-o-cha says he needs more time in office to prepare for election". Straits Times. สืบค้นเมื่อ 30 January 2018.
  8. "มีอะไรน่าสนใจ เมื่อ กกต. เปิดจดทะเบียนพรรคใหม่ 2 มี.ค." 1 มีนาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2561. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "การเมือง'วิษณุ' วางไทม์ไลน์เลือกตั้งช้าสุด 5 พ.ค. 62". Workpoint. 26 June 2018. สืบค้นเมื่อ 4 September 2018.
  10. Limited, Bangkok Post Public Company. "Young voters find voice". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  11. สงสกุล, พลวุฒิ (03.10.2018). "ทำความเข้าใจก่อนไปเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บัตรใบเดียว เลือกได้เพียงหนึ่ง 'คนที่รัก' หรือ 'พรรคที่ใช่'". The Standard. สืบค้นเมื่อ 2562-02-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  12. "เลือกตั้ง 2562: พลิกสูตรคำนวณยอด ส.ส. กับยุทธศาสตร์ "แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย"". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  13. 13.0 13.1 "Election has already been won, so what now? - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  14. "EC completes redrawing of constituencies - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  15. Limited, Bangkok Post Public Company. "Watchdog demands govt stop meddling with EC". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  16. "EC under microscope for gerrymandering over designing of boundaries - The Nation". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  17. Limited, Bangkok Post Public Company. "New EC boundary ruling under fire". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  18. "EC completes redrawing of constituencies". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  19. "Parties accuse EC of bias in constituency mapping". The Nation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  20. Rojanaphruk, Pravit; Writer, Senior Staff (2018-11-30). "Parties Fume Over New 'Gerrymandered' Electoral Map". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-12-26.
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, เล่ม ๑๓๕, ตอน ๑๐๑ ก, ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑,
  22. "เลือกตั้ง 2562 ผู้สมัครส.ส.ทะลุหมื่นคน มากกว่าปี 2554 กว่า 3 เท่า". ไทยรัฐ. 8 ก.พ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2562-02-08. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  23. "เลือกตั้ง 2562 : เพื่อไทย ส่งผู้สมัคร ไม่ครบทั่วประเทศ ครั้งแรกในรอบ 17 ปี". บีบีซีไทย. 4 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-08-02.
  24. หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (21 มกราคม 2019). "เลือกตั้ง 2562 : ที่สุดที่คุณอาจยังไม่รู้ก่อนเข้าคูหา". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-08-02.
  25. "เลือกตั้ง 62 l เปิดคำพูด แถลงการณ์ ส่องจุดยืนแต่ละพรรคการเมือง "เลือกไหมนายกฯ ชื่อประยุทธ์?"". Workpoint News. 12 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  26. "โพสต์หมดเวลาเกรงใจแล้ว มาร์คยัน ไม่สนับสนุน "บิ๊กตู่" (คลิป)". ไทยรัฐ. 11 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
  27. ดนัย เอกมหาสวัสดิ์, อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์” (2019-02-06). เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand (Full) | 6 ก.พ. 62 | เจาะลึกทั่วไทย (YouTube). กรุงเทพมหานคร: SpringNews. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 8:00. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  28. "เลือกตั้ง 2562 : 8 ก.พ. ไทยรักษาชาติ กับ จุดเปลี่ยนการเมือง "ระดับแผ่นดินไหว" ?". บีบีซีไทย. 7 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  29. "ครั้งประวัติศาสตร์! ทูลกระหม่อมฯ ตอบรับ ไทยรักษาชาติ ลงชิงนายกฯ". ข่าวสด. 8 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  30. "Princess Ubolratana: Thai royal to stand as PM candidate". Thailand General Election 2019. Bangkok: BBC. 2019-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-09. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  31. "เลือกตั้ง 2562 : ไพบูลย์ ยื่น กกต. ระงับ ทษช. หยุดเสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ". บีบีซีไทย. 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  32. ""ไพบูลย์" ขอ กกต.ระงับแคนดิเดตนายกฯ ทษช". กรุงเทพมหานคร: ไทยพีบีเอส. 2019-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-09. สืบค้นเมื่อ 2019-02-09.
  33. "Thailand's king condemns bid by sister to become PM". BBC. กรุงเทพมหานคร. 2019-02-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-08.
  34. "กกต.ประกาศชื่อแคนดิเดตนายกฯพรรคการเมืองแล้ว 45 พรรค ไม่มีชื่อพรรคไทยรักษาชาติ". มติชนออนไลน์. 11 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 11-02-2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  35. "เลือกตั้ง 2562 : ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องพิจารณายุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามที่ กกต. ยื่น". บีบีซีไทย. 14 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  36. "ยุบ'ไทยรักษาชาติ'! ฐานทำ'สถาบัน'เสื่อม". เดลินิวส์. 7 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  37. "ร้อง กกต.ยุบพลังประชารัฐคัดค้าน "ตู่" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี". ไทยรัฐ. 16 ก.พ. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  38. ""ประยุทธ์"รอด!ผู้ตรวจฯชี้ ไม่มีสถานะ"จนท.อื่นของรัฐ"". เดลินิวส์. 14 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  39. "เลือกตั้ง 2562 : "พลังประชารัฐ" รอดยุบพรรค ระดมทุนโต๊ะจีนไร้เงินต่างชาติ". ไทยพีบีเอส. 12 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
  40. "เพื่อไทยยื่นเอาผิด พลังประชารัฐ ปราศรัยหาเสียงสัญญาว่าจะให้ "บัตรคนจน"". ไทยรัฐ. 14 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  41. "ภาพชุด 'ธนาธร' รอดคุก! อัยการนัดพบอีกที 26 มีนาคม หลังเลือกตั้ง!". ข่าวสด. 27 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  42. "โดนอีก! ยื่น กกต.ยุบพรรคอนาคตใหม่ ชี้มีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครอง". ประชาชาติธุรกิจ. 28 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-02-28.
  43. "พ่อของฟ้าเฮ 'ธนาธร' รอดแล้ว กกต.ยกคำร้อง ยุบอนาคตใหม่ ปม ลงประวัติผิด!". ข่าวสด. 14 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
  44. ""ศรีสุวรรณ" ชงกกต.ยุบ"อนาคตใหม่"". โพสต์ทูเดย์. 15 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-17.
  45. "อสมท : ปลดพิธีกรหญิงช่อง 9 ใครเป็นใครใน "แดนสนธยา"". บีบีซีไทย. 3 มีนาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  46. "แชร์ว่อน! เลือกตั้งไทยล่วงหน้า ที่จีนป่วน บัตรหาย500ใบ!! ท้วงไป โดนแย้งแบบนี้?". ข่าวสด. 10 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  47. "เลือกตั้ง 2562 : กกต.แจงปมรอ 4 ชั่วโมง ไม่ได้กาบัตร! เลือกตั้งต่างแดนในมาเลเซีย". ไทยพีบีเอส. 10 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-10.
  48. "เลือกตั้ง2562: "ไอติม" ห่วง "กาผิดเบอร์" เอกสารตปท.ไม่เคลียร์". ไทยพีบีเอส. 11 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-03-13.
  49. 49.00 49.01 49.02 49.03 49.04 49.05 49.06 49.07 49.08 49.09 49.10 49.11 49.12 Asaree Thaitrakulpanich (February 27, 2019). "Thai Election for Dummies: Guide to the Parties". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 3-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  50. 50.0 50.1 50.2 50.3 หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (15 มีนาคม 2019). "เลือกตั้ง 2562 : เปิดสูตรคำนวณ ส.ส. ในกระแส "โหวตโน-เทคะแนน"". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  51. "น้องสาวจาตุรนต์ โพสต์ชวนชาวแปดริ้ว กา 'อนาคตใหม่' หลัง 'ทษช.' ถูกยุบ". ข่าวสด. 11 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 13-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  52. ""ธนาธร" ปัดแกนนำ "อนาคตใหม่" ยกหูคุย "ไทยรักษาชาติ" ช่วยเทคะแนนหนุน". ไทยรัฐ. 9 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 13-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  53. "รุมถล่มยับค่าจ้าง 425 บาท พรรคพลังประชารัฐฟุ้ง เป็นรัฐบาลทำได้จริง". ไทยรัฐ. 17 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  54. "เลือกตั้ง 2562 : 17 มีนา เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต ต่างอย่างไรกับใช้สิทธิวันจริง". ไทยรัฐ. 17 มี.ค. 2562. สืบค้นเมื่อ 17-3-2019. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  55. "Political risk soars ahead of Thailand's election". Financial Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-02-16.
  56. 56.0 56.1 "'รังสิตโพล' ชี้คนเลือก 'พลังประชารัฐ' มากที่สุด หลังเคยประกาศยุติทำโพลมาแล้ว | ประชาไท Prachatai.com". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 2019-02-19.
  57. 57.0 57.1 isranews (2018-12-29). "รังสิตโพลล์ เผยคะแนนนิยมเป็นนายกฯหลังเลือกตั้ง 'พล.อ.ประยุทธ์' อันดับ 1". สำนักข่าวอิศรา. สืบค้นเมื่อ 2018-12-29.
  58. "ซูเปอร์โพลเผยผลวิจัย ถ้าเลือกตั้งวันนี้ 'พท.'ที่1 ทิ้งห่าง'พปชร.' ด้าน'อนค.'คะแนนนิยมกทม.พุ่ง". 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 23 December 2018.
  59. 59.0 59.1 "สังศิตโพล ครั้งที่ 4 ให้ 'พลังประชารัฐ' คะแนนนิยมแซง 'เพื่อไทย' แล้ว | ประชาไท". prachatai.com. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  60. News, Workpoint. ""สังศิต" ประกาศยุติทำรังสิตโพลล์ หลังผล "ประยุทธ์" นำถูกหาว่าไม่เป็นกลาง". Workpoint News. สืบค้นเมื่อ 2019-02-19. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  61. "รังสิตโพลพ่นพิษ!'สังศิต'ประกาศไม่ทำแล้วหลังเผยคะแนนนิยม'บิ๊กตู่'นำตลอด". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-08.
  62. "Dozens of New Parties Register For Next Election". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-03-02. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
  63. Limited, Bangkok Post Public Company. "PM allows ministers to back parties". https://www.bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2019-01-08. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  64. Ltd.Thailand, VOICE TV. "Voice TV 21". VoiceTV. สืบค้นเมื่อ 2019-01-08.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น