สุรทิน พิจารณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุรทิน พิจารณ์
หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2502 (65 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปไตยใหม่
คู่สมรสแพงศรี พิจารณ์

สุรทิน พิจารณ์ เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ 2 สมัย ในปี 2562, 2566 และเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่

ประวัติ[แก้]

สุรทิน พิจารณ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2502 อาศัยอยู่ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ จากวิทยาลัยครูอุบลราชธานี

การทำงาน[แก้]

สุรทิน เริ่มทำงานการเมืองโดยการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นชื่อว่า "พรรคประชาธิปไตยใหม่" และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เมื่อปี 2554 และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 และในครั้งนั้นพรรคได้รับเลือกตั้งอย่างเหนือความคาดหมาย จำนวน 1 ที่นั่ง แต่เขาขาดคุณสมบัติจึงทำให้ไม่ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 อีก 2 ครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ซึ่งเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้ง 2 ครั้ง

ในปี 2562 เขานำพรรคประชาธิปไตยใหม่เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ แต่เขาก็แสดงบทบาททางการเมืองในเชิงตรงกันข้ามในบางครั้ง[1][2] และในปี 2566 เขาได้รับการทาบทามจากพรรคก้าวไกลให้เข้าร่วมรัฐบาลแต่เขาปฏิเสธด้วยเห็นว่ามีเสียงสนับสนุนมากพอแล้ว[3]

สุรทิน เคยลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2565 เพื่อเปิดทางให้แพงศรี พิจารณ์ ได้เลื่อนมาดำรงตำแหน่งแทน[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. โปรไฟล์ “สุรทิน” ประชาธิปไตยใหม่ พรรคเล็ก ปฏิเสธดินเนอร์กับ 3 ป.
  2. "สุรทิน" จี้ "นายกฯ" ยุบสภาฯ ก่อนสิ้นปี 65 ชี้ "ส.ส." อยู่ไปไม่มีประโยชน์
  3. “สุรทิน พิจารณ์” ให้กำลังใจ “พิธา” แนะคนเป็นประธานสภา ต้องเป็นบุคคลที่ทำให้ ส.ส.เรียกว่าท่านประธานที่เคารพได้
  4. ส.ส.พรรคประชาธิปไตยใหม่ เข้ารายงานตัว แทน ส.ส.ที่ลาออกไป
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔