อภิรัต ศิรินาวิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อภิรัต ศิรินาวิน
ไฟล์:อภิรัต ศิรินาวิน.jpg
หัวหน้าพรรคมหาชน
ดำรงตำแหน่ง
26 มิถุนายน พ.ศ. 2552 – 23 มกราคม พ.ศ. 2563[1]
ก่อนหน้าสมิตา สรสุชาติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 เมษายน พ.ศ. 2509 (58 ปี)
พรรคการเมืองมหาชน

นายอภิรัต ศิรินาวิน อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคมหาชน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

ประวัติ[แก้]

อภิรัต ศิรินาวิน เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา ระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และปริญญาโท 3 สาขา คือ สาขาการจัดการ จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการออกแบบระบบสารสนเทศ และสาขาการจัดการระบบสารสนเทศ จาก West Coast University

การทำงาน[แก้]

อภิรัต ศิรินาวิน ประกอบอาชีพเป็นนักธุรกิจ ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองตามคำชวนของพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์[2] ในปี พ.ศ. 2547 แต่ก็ไม่เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน ในปี พ.ศ. 2552[3] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับ 1 ของพรรค และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ด้วยคะแนน 161,251 คะแนน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่อยู่เหนือความคาดหมายว่าจะได้รับที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคมหาชน[5] แต่การเลือกตั้งครั้งดังกล่าว เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง พรรคมหาชนสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-25. สืบค้นเมื่อ 2020-01-25.
  2. อภิรัต ศิรินาวิน พก1เสียงร่วมรบ. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนคอลัมน์ ข่าวทะลุคน จาก ข่าวสด
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคมหาชนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอน 102ง วันที่ 10 กันยายน 2552
  4. มหกรรมเลือกตั้ง 54 ม้ามืดแจ้งเกิด และตระกูลดังสูญพันธุ์![ลิงก์เสีย]
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคมหาชน)
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-28. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘, ตอน ๒๔ ข, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๘๘