สมเกียรติ ศรลัมพ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเกียรติ ศรลัมพ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 สิงหาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
พรรคการเมืองพรรคประชาภิวัฒน์

นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติงานกระทรวงวัฒนธรรม) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] สังกัดพรรคประชาภิวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครสวรรค์ และเขาเคยเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ประวัติ[แก้]

สมเกียรติ ศรลัมพ์ เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ที่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายไฉน ศรลัมพ์ กับนางไฉไล ศรลัมพ์[2] มีพี่น้องร่วมสกุลคือ นายพงษ์ทิพย์ ศรลัมพ์ และ นายสมยศ ศรลัมพ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และหลักสูตรสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

การทำงาน[แก้]

สมเกียรติ ศรลัมพ์ เคยรับราชการเป็นปลัดอำเภอ แล้วย้ายไปปฏิบัติราชการพิเศษเป็นผู้ประสานงานประจำราชสำนัก จากนั้นออกไปเป็นที่ปรึกษาโครงการ กรรมการบริษัท ศรีนครแอ๊กโกรเอ็กซ์เชนจ์ จำกัด ควบคู่กับอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัย[3] เขาเคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนครสวรรค์ ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 ต่อมาได้ลาออกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 และเข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน กลุ่มที่ 2 ลำดับที่ 1 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ซึ่งนายสมเกียรติ เป็นหนึ่งในกลุ่มสมาชิกที่ลงมติเลือกพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551 อันเป็นที่มาจากการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เขาจึงลาออกจากพรรคเพื่อแผ่นดิน

ในปี 2554 ต่อมาเข้าได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 75 และได้รับเลือกตั้งโดยเลื่อนขึ้นมาแทนนายถิรชัย วุฒิธรรม[4]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 80[5] แต่ต่อมาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

ใน พ.ศ. 2561 นายสมเกียรติได้ก่อตั้งพรรคประชาภิวัฒน์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค[6] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญรายชื่อลำดับที่ 1 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. แต่ลาออกในเวลาต่อมา เพื่อรับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรี[7]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

สมเกียรติ ศรลัมพ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสมเกียรติ ศรลัมพ์[ลิงก์เสีย]
  3. ไทยรัฐ
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นายสมเกียรติ ศรลัมพ์)
  5. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคประชาภิวัฒน์
  7. “สมเกียรติ ศรลัมพ์”ลาออกส.ส. นั่งผู้ช่วยรมต.ประจำสำนักฯมีผล 11 ส.ค.นี้
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘