ตระกูลชินวัตร
ตระกูลชินวัตร | |
---|---|
ตระกูลบรรพบุรุษ | แซ่คู |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ถิ่นพำนักปัจจุบัน | จังหวัดเชียงใหม่ |
นิรุกติศาสตร์ | ชิน-นะ–วัด ภาษาบาลี: जिन (ชิน)+ योजना (วตฺต) "กิจของผู้ชนะ" |
ถิ่นกำเนิด | มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน |
ก่อตั้ง | สมัยรัชกาลที่ 5 |
ต้นตระกูล | เส็ง แซ่คู |
ตำแหน่ง | นายกรัฐมนตรีไทย (พ.ศ. 2544–2549, 2551-2551, 2554–2557, 2567-ปัจจุบัน) |
ตระกูลที่เกี่ยวข้อง | ราชวงศ์ทิพย์จักร ตระกูลดามาพงศ์ ตระกูลวงศ์สวัสดิ์ |
ทรัพย์สิน | ชินวัตรพาณิชย์ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (อดีต) ชิน คอร์ปอเรชั่น (อดีต) ไทยคม (อดีต) สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี (อดีต) |
ตระกูลชินวัตร เป็นตระกูลหนึ่งในประเทศไทยที่มีอิทธิพลทางการเมือง โดยมีนายกรัฐมนตรี 4 รายมาจากตระกูลนี้ อีกทั้งยังมีข้าราชการระดับสูง อาทิ อดีตผู้บัญชาการทหารบก, อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นอกจากนั้นยังมีเครือญาติที่เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี, อดีตผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังอีกด้วย
ประเทศไทยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากตระกูลชินวัตร 10 ราย ได้แก่ เลิศ, สุรพันธ์ , ทักษิณ, พายัพ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร; สมชาย, เยาวภา และชินณิชา วงศ์สวัสดิ์; ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ และธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ทั้งนี้แม้แพทองธาร ชินวัตร จะไม่ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่พรรคเพื่อไทยซึ่งสืบทอดจากพรรคไทยรักไทยที่ทักษิณก่อตั้ง ได้เสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 และสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปีต่อมา
ตระกูลชินวัตรดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและธุรกิจ โดยมีเส็ง แซ่คู เป็นต้นตระกูล ซึ่งอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากสาธารณรัฐจีน (ในขณะนั้น) มายัง จ.จันทบุรี ต่อมาได้ย้ายไปตั้งรกรากที่ จ.เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2454 เชียง แซ่คู บุตรชายคนโตของครอบครัวได้เริ่มต้นธุรกิจทอผ้าไหม ใน จ.เชียงใหม่ จนในปัจจุบันเป็นกิจการผ้าไหมที่มีมายาวนานที่สุดของประเทศไทย[1] สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเมื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมาชิกรุ่นที่ 4 ได้ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ อาทิเช่น เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส จนประสบความสำเร็จ และได้เข้าสู่การเมืองในเวลาต่อมา พร้อมทั้งมีสมาชิกคนอื่น ๆ ตามมา ซึ่งทำให้สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากในด้านของการเมืองในปัจจุบัน
รายชื่อนายกรัฐมนตรี
[แก้]-
ดร.ทักษิณ ชินวัตร (วาระ: 2544–2549)
-
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ (วาระ: 2551-2551)
-
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (วาระ: 2554–2557)
-
แพทองธาร ชินวัตร (วาระ: 2567–ปัจจุบัน)
สมาชิก
[แก้]รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2
[แก้]ต้นสกุลคือ ชุ่นเส็ง แซ่คู ชาวจีนแคะ (ฮากกา) ที่อพยพย้ายถิ่นฐานจากมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มายัง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ประกอบอาชีพสร้างเนื้อสร้างตัว จนได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย ต่อมาย้ายจาก จ.จันทบุรีไปตั้งถิ่นฐานที่ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ชุ่นเส็งแต่งงานกับสตรีชาวไทยชื่อทองดี มีบุตรชายคนโตชื่อ เชียง แซ่คู
เชียงเข้าเป็นแกนหลักของตระกูลและเป็นปู่ของอดีตนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน ในเวลาต่อมาประกอบอาชีพค้าขายกับจีนฮ่อและไทยใหญ่ ก่อนที่ต่อมาจะมีกิจการหลัก คือโรงทอผ้าไหมไทย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2481 เชียงเปลี่ยนมาใช้นามสกุลชินวัตร[2] เชียงมีพี่น้องชื่อ เบี้ยว ชินวัตร, เล็ก ชินวัตร
ในขณะที่สลวย ชินวัตร เป็นอาสะใภ้[3]ของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร
รุ่นที่ 3
[แก้]เชียง แซ่คูสมรสกับแสง แซ่คู (สมณะ) มีบุตรธิดารวม 12 คน ได้แก่
- เข็มทอง ชินวัตร (โอสถาพันธุ์) (11 ธันวาคม 2454 - 2 มีนาคม 2546) เจ้าของกิจการ ท.ชินวัตรไหมไทย ซึ่งตั้งอยู่บนซอยสุขุมวิท 23 ถ.สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร[4]สมรสกับชู โอสถาพันธุ์ บุตรชื่อ เข็มชาติ โอสถาพันธุ์ แต่งงานกับลักษมีไฉไล ชินวัตร
- พ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร (พ.ศ. 2458 - ปัจจุบัน) สมรสกับทวี ชินวัตร (มณีเนตร)[5]มีบุตรธิดารวม 5 คน
- บุญสม ชินวัตร สมรสกับศรีวรรณ ชินวัตร (กัณฑาอินทร์) มีบุตรธิดารวม 10 คน ได้แก่ สวัสดิ์ ชินวัตร, เสวก ชินวัตร, สวง ชินวัตร, แสวง ชินวัตร, สวาท ชินวัตร, สุวรีย์ ณ ลำพูน, ศิวพร ชินวัตร, สุวิทย์ ชินวัตร, สุวัฒน์ ชินวัตร และวาสนา ชินวัตร[6]
- เลิศ ชินวัตร (พ.ศ. 2462 - พ.ศ. 2540) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับยินดี ชินวัตร (ระมิงวงศ์) มีบุตรธิดารวม 10 คน
- สุเจตน์ ชินวัตร (พ.ศ. 2464 - ปัจจุบัน) อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ สมรสกับเพ็ญพร ชินวัตร (พรหมชนะ) มีบุตรธิดารวม 8 คน อาทิ ประจิตต์ ชินวัตร, ปุณิกา ชินวัตร, ธีราพร ชินวัตร และดุลยเดช ชินวัตร ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
- จันทร์สม ชินวัตร (พ.ศ. 2466 - 2562)[7] เจ้าของโรงงานทอผ้าไหม ชินวัตรพาณิชย์
- สมจิตร ชินวัตร (พ.ศ. 2470 - พ.ศ. 2547) เจ้าของกิจการ ส.ชินวัตรไหมไทย ตั้งอยู่บน ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง สมรสกับมนัส หิรัญพฤกษ์ มีบุตรธิดารวม 3 คน อาทิ วิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์
- เถาวัลย์ ชินวัตร (พ.ศ. 2472 - 2565)[8] นักบริหารอสังหาริมทรัพย์มีบุตรธิดารวม 2 คน ได้แก่ ชดาภัทร ชินวัตร, ณชพัฒน์ ชินวัตร
- สุรพันธ์ ชินวัตร (พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2559) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่หลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ สมรสกับประเมิน ชินวัตร (มีพานิช) มีบุตรธิดารวม 6 คน อาทิสุรวัตร ชินวัตร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Customer Service ธนาคารไทยพาณิชย์, ศรุดา ชินวัตร นายกสมาคมไหมไทย
- บุญรอด ชินวัตร (16 สิงหาคม พ.ศ. 2477 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2537) อดีตผู้จัดการโรงงานทอผ้าชินวัตรไหมไทย สมรสกับสุรัตน์ ชินวัตร (ตันติเวสส) มีบุตรธิดารวม 3 คน อาทิ รักษาพร ชินวัตร, อรอำไพ ชินวัตร, ก่อศักดิ์ ชินวัตร
- วิไล ชินวัตร ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ (13 กันยายน พ.ศ. 2479 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558)[9] สมรสกับ รศ.สมหวัง คงประยูร มีบุตรธิดารวม 3 คนได้แก่ คทาวุธ คงประยูร, สรรพวิทย์ คงประยูร มีหลานชื่อ วิลาสินี คงประยูร และวงศกร คงประยูร
- ทองสุทธิ์ ชินวัตร (โครซาติเย่ร์) (พ.ศ. 2480 - ปัจจุบัน) อดีตเจ้าของกิจการ ชินวัตรแฟชั่นเฮ้าส์ สมรสกับจอง โครซาติเย่ร์ มีบุตรธิดารวม 3 คน
- เล็ก ชินวัตร สมรมกับปาน ชินวัตร[10] ไม่ทราบจำนวนบุตรธิดารวมหนึ่งในนั้นได้แก่
- พ.อ.(พิเศษ) วีระ ชินวัตร สมรสกับพวงเพ็ญ ชินวัตร มีบุตรธิดารวม 6 ราย
ชินวัตรรุ่นที่ 3 เป็นรุ่นที่เริ่มมีการเข้าสู่วงการการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติถึง 3 คน คือ เลิศ ชินวัตร, สุเจตน์ ชินวัตร และสุรพันธ์ ชินวัตร
รุ่นที่ 4
[แก้]ชินวัตรรุ่นที่ 4 มีการเข้าสู่การเมืองจำนวนหลายคน โดยเป็นที่รู้จักอยู่ 5 สายคือ
สายพันเอก (พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร
[แก้]พ.อ.(พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตร สมรสกับทวี ชินวัตร มีบุตรชายคือ
- พล.อ.อุทัย ชินวัตร อุปนายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม, อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (วันมูหะมัดนอร์ มะทา)[11][12] ประธานคณะกรรมการการทหารตำรวจของสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน
- พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร (25 มิถุนายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
- ร.อ.ประวิตร ชินวัตร[13] อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)[14]
- พ.ท.สุรจิตร ชินวัตร เสียชีวิตขณะทำการรบในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2516[15]
สายเลิศ ชินวัตร
[แก้]เลิศ ชินวัตร สมรสกับยินดี ชินวัตร (ระมิงค์วงศ์) หลานตาของเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) มีบุตรธิดารวม 10 คน ได้แก่[16]
- เยาวลักษณ์ คล่องคำนวณการ (9 สิงหาคม พ.ศ. 2490 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2552) อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2529 และอดีตเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ สมรส กับ พ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ มีบุตรธิดา 2 คน
- ทักษิณ ชินวัตร อดีตอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย สมรสและหย่ากับ คุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) มีบุตรธิดา 3 คน
- เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ ปัจจุบันเป็นนายกสมาคมสตรีไทยดีเด่นแห่งชาติ สมรสและแยกทางกับวีรชัย วงศ์นภาจันทร์ มีบุตรธิดารวม 3 คน
- ปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 - 11 เมษายน พ.ศ. 2556)[17] สมรสกับสง่า ลิ้มพัฒนาชาติ
- อุดร ชินวัตร (26 ธันวาคม พ.ศ. 2496 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2523)[18] สมรสกับดารารัตน์ ชินวัตร มีธิดา 1 คน
- เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อดีตหัวหน้ากลุ่มวังบัวบานของพรรคไทยรักไทย สมรสกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย มีบุตรธิดา 3 คน
- พายัพ ชินวัตร ประธานภาคอีสานพรรคเพื่อไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สมรสกับพอหทัย ชินวัตร มีบุตรชาย 4 คน
- มณฑาทิพย์ ชินวัตร อดีตประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล อดีตกรรมการองค์การเภสัชกรรม มีบุตรธิดา 2 คนคือ
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย สมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนกับอนุสรณ์ อมรฉัตร มีบุตรชาย 1 คน
- ทัศนีย์ ชินวัตร (เสียชีวิตแล้ว)
สายพันเอก (พิเศษ) วีระ ชินวัตร
[แก้]- ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร อดีตคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อดีตกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
- วีระเกียรติ ชินวัตร กรรมการในคณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่านวลนรดิศ
สายสุรพันธ์ ชินวัตร
[แก้]- ศรุดา ชินวัตร นายกสมาคมไหมไทย บุตรีสุรพันธ์ ชินวัตร
รุ่นที่ 5
[แก้]สายเยาวลักษณ์ ชินวัตร
[แก้]เยาวลักษณ์ ชินวัตร สมรส กับ พ.อ.(พิเศษ) ศุภฤกษ์ คล่องคำนวณการ มีบุตรธิดา 2 คน คือ
- ดร.ปณิตา ชินวัตร รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- นัทธฤทัย คล่องคำนวณการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แคปสโตนดิจิตอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
สายทักษิณ ชินวัตร
[แก้]ทักษิณ สมรสและหย่ากับ คุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) มีบุตรธิดา 3 คนคือ
- พานทองแท้ ชินวัตร อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด
สมรสกับ ณัฐฐิญา ปวงคำ มีบุตรธิดา 2 คน
- พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อัลไพน์กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ จำกัด, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเรนด์ ดีเวลอปเมนต์ จำกัด และบริษัท เดอะซิสเตอร์ส'เนลส์ จำกัด, กรรมการมูลนิธิไทยคม สมรสกับณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ มีบุตรธิดารวม 3 คน ได้แก่
- พิณธารา คุณากรวงศ์
- พิณนารา คุณากรวงศ์
- ชินวาคิณ คุณากรวงศ์
- แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย, หัวหน้าพรรคเพื่อไทย, รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เรนด์ ดีเวลอปเมนต์ จำกัด และบริษัท เดอะซิสเตอร์ส'เนลส์ จำกัด, กรรมการมูลนิธิไทยคม, และรองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ สมรสกับปิฎก สุขสวัสดิ์ มีบุตรธิดา 2 คน ได้แก่
- ธิธาร สุขสวัสดิ์
- พฤจ์ธาษิณ สุขสวัสดิ์
สายพายัพ ชินวัตร
[แก้]- ฤภพ ชินวัตร อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ สมรสกับณัฐาภรณ์ เจริญสวัสดิ์
- พิรุณ ชินวัตร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับที่ 7 ของบริษัท ไพร์ม โรด เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
- พอพงษ์ ชินวัตร ผู้ร่วมก่อตั้ง End of waste co.ltd.
- พีรพัฒน์ ชินวัตร
สายเยาวเรศ ชินวัตร
[แก้]เยาวเรศสมรส และแยกทางกับวีรชัย วงศ์นภาจันทร์ มีบุตรธิดา 3 คนคือ
- ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ ข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- รัตนะ วงศ์นภาจันทร์ รักษาการประธานกรรมการบริษัท พีเออี (ประเทศไทย)[19]
- ธนวัฒน์ วงศ์นภาจันทร์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่บริษัท พีเออี (ประเทศไทย) สมรสกับวิชชุลดา ปรีชม
สายมณฑาทิพย์ ชินวัตร
[แก้]มณฑาทิพย์สมรสกับ นพ.สมชัย โกวิทเจริญกุล อดีตกรรมการองค์การเภสัชกรรม มีบุตรธิดา 2 คนคือ
- นาควรี โกวิทเจริญกุล
- ณัฏฐธิดา โกวิทเจริญกุล
สายเยาวภา วงศ์สวัสดิ์
[แก้]เยาวภาสมรสกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตรธิดารวม 3 คนคือ
- ศ.ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล[20]
- ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย
- ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (เชอร์รี่) อดีตนักร้อง ปัจจุบันสมรสกับนัม ลีนาล สามีชาวกัมพูชาเชื้อสายจีน
สายยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
[แก้]ยิ่งลักษณ์สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร มีบุตรชาย 1 คน คือ
- ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือไปป์ เรียนอยู่โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์
สายบุญสม ชินวัตร (ปู่)
[แก้]บุญสมมีหลานชายคือ
- พ.อ.(พิเศษ) สราวุธ ชินวัตร ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา, อดีตผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 (ผบ.พัน.ปตอ.7) สมรสกับณิชชา อภิญญารัตนภาคิน ประธานกรรมการ บริษัท Royal Le Nich จำกัด
สายเข็มทอง ชินวัตร (ย่า)
[แก้]เข็มทองมีหลาน 4 คนคือ
- เข็มชาย โอสถาพันธุ์ ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าฯ บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน)
- รศ.เขมรัฐ โอสถาพันธุ์ กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เขมาวดี โอสถาพันธุ์ นักการทูตชำนาญการพิเศษ สำนักงานเลขานุการกรม กรมอาเซียน
- เขมธิดา โอสถาพันธุ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลำดับที่ 10 ของบริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)
สายศรุดา ชินวัตร
[แก้]- โชติวัฒน์ หล่อวิจิตร สังกัด บริษัท ทิฟฟ่า อีดีไอ เซอร์วิสเซส จำกัด
- ปธัญญา หล่อวิจิตร อดีตนักกีฬาขี่ม้าในกีฬามหาวิทยาลัย[21]
สกุลดามาพงศ์
[แก้]สกุลชินวัตรดองกับสกุลดามาพงศ์ ผ่านทางการสมรสของทักษิณ กับคุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) บุตรสาวของ พล.ต.ท.เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ โดยพล.ต.ท.เสมอ มีบุตรธิดารวม 4 คนคือ
- พงศ์เพชร ดามาพงศ์ มีบุตรชาย ได้แก่ พ.ต.อ.พัดทงธิว ดามาพงศ์ ผู้กํากับสถานีตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
- พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
- พล.ต.ท.พีระพงศ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
- คุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) อดีตกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์
- พล.ร.อ.เกียรติศักดิ์ ดามาพงศ์ (พี่ชายต่างมารดาคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร) อดีตกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย
และยังมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คนคือ
- บรรณพจน์ ดามาพงศ์ ประธานกรรมการบริษัทโรงพยาบาลพระราม 9 จำกัด (มหาชน), อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า
สมาชิกในตระกูลที่ไม่ทราบรุ่น
[แก้]- บวร ชินวัตร เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองตรี[22] อดีตนายอำเภอหนองสูง[23]
- ชาติชาย ชินวัตร อุปนายกสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บุตรชายนาง สลวย ชินวัตร อาสะใภ้อดีตนายกรัฐมนตรี [24]
- พ.อ.(พิเศษ) จิโรตม์ ชินวัตร [25]นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- ผศ.ดร.เบญจพรรณ ชินวัตร อาจารย์ประจําคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วรุณพันธ์ ชินวัตร คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร[26]
- เกตุสุดา ชินวัตร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลสวนปรุง
- พิชชา ชินวัตร อดีตนักแสดงเด็ก
ความสัมพันธ์กับสกุลอื่น
[แก้]- ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นับเป็นญาติห่างๆ ของทักษิณ โดยอาหญิงของสุรพงษ์ คือสุมาลี สมรสกับเสถียร ชินวัตร[27]
- ยินดี ชินวัตร (ระมิงค์วงศ์) มารดาของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีศักดิ์เป็นหลานน้าของเจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรี และอดีตแกนนำพรรคความหวังใหม่ (ยินดีจึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าธวัชวงศ์)
- ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน[28] และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[29] สะใภ้ตระกูลชินวัตร
- สุวรีย์ ณ ลำพูน เป็นลูกสะใภ้ของเจ้าพัฒนา ณ ลำพูน
- พล.ต.อ.วินัย ทองสอง อดีตรองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่งงานกับหลานคุณหญิงพจมาน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Company Profile Shinawatra Thai Silk
- ↑ "เบื้องลึก 'ตระกูลชินวัตร' ผู้สร้างนายกรัฐมนตรีไทยถึง 3 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-11. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
- ↑ ตระกูลชินวัตรทำบุญใหญ่แก้เคล็ด
- ↑ มติชน, ′พล.อ.จงศักดิ์ พานิชกุล′ ไขรหัส ′แลนด์สไลด์′ จาก ′ทักษิณ′ สู่ ′ยิ่งลักษณ์′ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ อนุสรณ์งานศพ เลิศ ชินวัตร
- ↑ หนังสืองานศพนาย สวัสดิ์ ชินวัตร (การพัฒนาจิต ภาคหนึ่ง)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวสด, ให้แม้วเข้าปท.ได้ ญี่ปุ่นโอเค โอบามาโทร.ตรงปู
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, ปลุกกระแส 'นายกฯหญิง' ในบ้านเกิด เก็บถาวร 2011-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "'ยิ่งลักษณ์' ร่วมงานศพคุณอา 'วิไล คงประยูร'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-18. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พ.อ.(พิเศษ) วีระ ชินวัตร
- ↑ "คำสั่งกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง [พลเอกอุทัย ชินวัตร]" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-01. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
- ↑ ไทยโพสต์, หยุดก่อนทักษิณ : พล.อ.อุทัย ชินวัตร เก็บถาวร 2010-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ทหารเรือ ประวิตร ชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
- ↑ อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่อศิษย์เก่าเตรียมทหารที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีทรัพย์สินนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ปิยนุช ลิ้มพัฒนาชาติ
- ↑ อุดร ชินวัตร
- ↑ ผู้รักษาการประธานกรรมการบริษัท พีเออี (ประเทศไทย)[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดอก"ยศชนัน"พี่ชาย"ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์" ชี้การเมืองไม่ใช่เรื่อง"สืบทอด" ไม่ใช่ฝึกงาน ต้องมืออาชีพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
- ↑ "การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 40 พลบดีเกมส์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-03-01. สืบค้นเมื่อ 2024-03-01.
- ↑ บวร ชินวัตร เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน ยศนายกองตรี
- ↑ บวร ชินวัตร อดีตนายอำเภอ[ลิงก์เสีย]
- ↑ คุณชาติชาย ชินวัตร มอบเงินบริจาคสมทบทุนมูลนิธิ รพ.สวนดอก
- ↑ "คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-02. สืบค้นเมื่อ 2023-11-02.
- ↑ ประกาศเรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, สุรพงษ์ นับญาติ-อาทักษิณร่วมลงชื่อฎีกา โวเข้าเกณฑ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ [https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/11420.pdf ประกาศสภาผู้แทนราษฎรเรื่อง ตั้งกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แทนตำแหน่งที่ว่าง]
- ↑ "ทพญ.ศรีญาดา ชินวัตร เครือญาติทักษิณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.