ข้ามไปเนื้อหา

ประยุทธ์ ศิริพานิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้าสง่า สรรพศรี
ถัดไปไพจิตร เอื้อทวีกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ดำรงตำแหน่ง
11 เมษายน 2543 – 6 มกราคม 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
เลขาธิการพรรคกิจสังคม
ดำรงตำแหน่ง
9 มิถุนายน พ.ศ. 2534 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
ก่อนหน้ามนตรี พงษ์พานิช
ถัดไปพลโท เขษม ไกรสรรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2488 (79 ปี)
อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองกิจสังคม (2522–2535)
ชาติไทย (2538–2549)
ไทยรักไทย (2549–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพัฒนวดี ศิริพานิชย์ (2513–2565) (เสียชีวิต)

ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย จังหวัดมหาสารคาม 8 สมัย และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553[1] และเป็นอดีตที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ปลอดประสพ สุรัสวดี)

ประวัติ

[แก้]

ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2488 ที่ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม[2] เป็นบุตรคนที่สองของนายประจวบ กับนางหนูทอง ศิริพานิชย์ มีพี่น้อง 8 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางพัฒนวดี ศิริพานิชย์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2513 มีบุตรธิดา 3 คน คือนายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ นางรชดาวัลย์​ ศิริพานิชย์ และ นางสุรางค์ จันทรสถาพร

งานการเมือง

[แก้]

นายประยุทธ์ เป็นสมาชิกสภาจังหวัดมหาสารคามหลายสมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา และเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคกิจสังคม ในช่วงที่มีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[3] และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[5] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย

ในปี พ.ศ. 2553 นายประยุทธ์ ได้รับเลือกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 นายประยุทธ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคพร้อมกับคณะกรรมการบริหารพรรคอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบอันจะเป็นเหตุให้มีการยุบพรรคได้[6]

ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (ปลอดประสพ สุรัสวดี) ต่อมาเขาได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 56[8]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 20[9] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 17[10] และได้รับการเลือกตั้ง เนื่องจากผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้ 29 ที่นั่ง คือผู้สมัครของพรรคในลำดับที่ 1-29

การเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม

[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาในฐานะรองประธานกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ได้เสนอให้มีการแก้ไขให้มีการนิรโทษกรรมทุกฝ่าย หรือฉบับที่สื่อมวลชนเรียกว่า "นิรโทษกรรมสุดซอย" จนมีการคัดค้านจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ว่าเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[11]

ผลการกระทำของนายประยุทธ์ในครั้งนี้ลุกลามใหญ่โต เกิดความไม่พอใจของหลายฝ่าย ในที่สุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต้องประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 อย่างไรก็ตาม การจะโทษว่าเป็นความผิดของนายประยุทธ์ อาจไม่เป็นธรรม เนื่องจาก ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย ได้ก่อตัวสะสมมาอย่างยาวนาน "การเสนอแก้ไขนิรโทษกรรมสุดซอย" ดังกล่าว เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาให้ความขัดแย้งกระจายตัวและมีความรุนแรงขึ้นมากขึ้น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "คณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-27. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-19.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  6. "กก.บริหาร พท.แห่ลาออก หวั่นถูกยุบพรรค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-20. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการการเมืองลาออกจากตำแหน่ง (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์)
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  10. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ประกาศ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566
  11. คม ชัด ลึก ออนไลน์ 'ปชป.'เป่านกหวีดชุมนุมค้าน'นิรโทษกรรม' เก็บถาวร 2013-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 1-11-2556
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
ก่อนหน้า ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ถัดไป
สง่า สรรพศรี
(กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
(17 เมษายน – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2535)
ไพจิตร เอื้อทวีกุล