จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์
จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 มีนาคม พ.ศ. 2515 |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2542–2548) พลังประชาชน (2548–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ (เกิด 28 มีนาคม พ.ศ. 2515) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม กรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[1] และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
ประวัติ
[แก้]ดร.จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ มีชื่อเล่นว่า อ๊อด เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีตรัฐมนตรี นักการเมืองจังหวัดมหาสารคาม กับนางพัฒนวดี ศิริพานิชย์ มีพี่น้อง 3 คน สำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, MBA (FINANCE) จาก MERCER UNIVERSITY ประเทศสหรัฐอเมริกา และรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม สมรสกับนางนริศรา ศิริพานิชย์ มีบุตรชาย 1 คน
งานการเมือง
[แก้]อดีตเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหัวขวาง (พ.ศ. 2542-2546) และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม (พ.ศ. 2547-2550) ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก โดยได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 2 ของเขต (มี ส.ส. ได้ 3 คน) ต่อมา พ.ศ. 2554 ได้รับลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 และต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้เข้ารับตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย[1]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดมหาสารคาม สังกัด พรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "นาย จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์". พรรคเพื่อไทย (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายจิรวัฒน์ ศิริพานิชย์) เก็บถาวร 2011-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2515
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดมหาสารคาม
- นักการเมืองไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
- นายกเทศมนตรีในจังหวัดมหาสารคาม
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.