ข้ามไปเนื้อหา

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พิกัด: 13°43′36″N 100°46′48″E / 13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
King Mongkut's Institute of Technology Laskrabang
ตราพระมหาพิชัยมงกุฏ
สัญลักษณ์ประจำสถาบัน
ชื่อเดิมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ชื่อย่อสจล. / KMITL
คติพจน์การศึกษา วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา24 สิงหาคม พ.ศ. 2503; 64 ปีก่อน (2503-08-24)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ2,208,127,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาสถาบันศาสตราจารย์พิเศษ กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
อธิการบดีรองศาสตราจารย์ คมสัน มาลีสี
อาจารย์1,211 คน (พ.ศ. 2566)
บุคลากรทั้งหมด2,500 คน (พ.ศ. 2566)
ผู้ศึกษา29,030 คน (พ.ศ. 2567)
ที่ตั้ง
วิทยาเขตพื้นที่และวิทยาเขต
สี   สีแสด-สีขาว
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสถาบัน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (อังกฤษ: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang; อักษรย่อ: สจล. – KMITL) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น (มหาวิทยาลัยโตไก) โดยเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2551[2] โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้า ทางอุตสาหกรรม และ เศรษฐกิจของประเทศเดิมที สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ด้วยการรวม วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เข้าด้วยกัน โดยแต่ละแห่งมีฐานะเป็นวิทยาเขต วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี เป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตนนทบุรี และในปีเดียวกันนั้นได้ย้ายไปที่ อำเภอลาดกระบัง เป็นวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วยพระนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันฯ ด้วย นับเป็นสิ่งอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมหามงคลยิ่งส่วนคำว่า "เจ้าคุณทหาร" นั้น มีไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าคุณทหาร" ตามที่ ท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต ทายาทของท่านได้แจ้งความประสงค์ไว้ในการบริจาคที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของสถาบันฯ ในปัจจุบัน

การบริจาคที่ดิน 1,041 ไร่ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นปลัดกระทรวง เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยเจ้าคุณทหารเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าคุณทหาร และเพื่อสร้างสถาบันฯ นั้น มี เขียน ขำปัญญา ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนพรตพิทยพยัต เป็นผู้ประสานงาน[3]

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]
ลานกิจกรรมภายในอาคารเจ้าคุณทหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" มีประวัติความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญ ดังนี้

  • พ.ศ. 2503 - ก่อตั้ง ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัด กองโรงเรียนพาณิชย์ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2507 - ศูนย์ฝึกโทรคมนนทบุรี ได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี
  • พ.ศ. 2510 - วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี รับนักศึกษาจาก การสอบคัดเลือกร่วมกับ สภาการศึกษาแห่งชาติ วิธีสอบคัดเลือกรวมเพื่อรับนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ (การสอบเอนทรานซ์) เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2513 - โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐม ได้ย้ายมาดำเนินการที่โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระนคร
  • พ.ศ. 2514 - วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้มีสถานะเป็น วิทยาเขตนนทบุรี ของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และย้ายที่ตั้งจาก นนทบุรี มาอยู่ ลาดกระบัง
  • พ.ศ. 2515 - วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ยกฐานะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ สังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง โอนมาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และยกฐานะเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2517 - โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการสถาปนาเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร
  • พ.ศ. 2517 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้โอนสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2518 - ก่อสร้างอาคารหอประชุมใหญ่ อาคารอนุสรณ์ อาคารห้องสมุด อาคารปฏิบัติการโทรคมนาคม และอาคารยิมเนเซี่ยม ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2520 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้จัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ขึ้น เพื่อผลิตบัญฑิตทางด้านครูอาชีวศึกษา สำหรับวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาต่างๆ และให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2522 - วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร ได้โอนจากกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบังและยกฐานะเป็น คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  • พ.ศ. 2524 - ได้จัดตั้งสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2527 - ก่อสร้างศูนย์เรียน "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ" อันประกอบด้วยอาคารบรรยายรวม อาคารเรียนและ ปฏิบัติการ อาคารศูนย์สารสนเทศ อาคารสันทนาการ อาคารสำนักอธิการบดี หอพักนักศึกษา ชาย-หญิง และสระว่ายน้ำ ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น มูลค่า 480 ล้านบาท และเปิดใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529
  • พ.ศ. 2528 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2528 และมีชื่อเต็มว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "พระจอมเกล้าลาดกระบัง"
- ได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย

รายชื่ออธิการบดี

[แก้]
ลำดับ รูป ชื่ออธิการบดี เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 รองศาสตราจารย์ โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2535
2 ศาสตราจารย์ ไพรัช ธัชยพงษ์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2541
3 รองศาสตราจารย์ ประกิจ ตังติสานนท์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2547
- ศาสตราจารย์ ภาวิช ทองโรจน์
(รักษาราชการแทน)
พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548
4 รองศาสตราจารย์ กิตติ ตีรเศรษฐ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
5 ศาสตราจารย์ ถวิล พึ่งมา 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[4]
- ศาสตราจารย์ โมไนย ไกรฤกษ์
(รักษาราชการแทน)
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 30 เมษายน พ.ศ. 2558
- ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
(รักษาราชการแทน)
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558
6 ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558[5] 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[6] 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564
- รองศาสตราจารย์ อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ
(รักษาราชการแทน)
13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
7 รองศาสตราจารย์ คมสัน มาลีสี 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[7] ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

[แก้]
ดอกแคแสด ดอกไม้ประจำสถาบันฯ
  • พระมหามงกุฎ มีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันฯ ตามนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิ คุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ดอกไม้ประจำสถาบัน คือ ดอกแคแสด[8]
  • สีประจำสถาบัน คือ สีแสด (ซึ่งเป็นสีประจำรัชกาลที่ 4) [8]

การศึกษา

[แก้]

ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มีทั้งหลักสูตรทั่วไป หลักสูตรภาคสมทบ และหลักสูตรนานาชาติ ประกอบด้วยคณะทั้งหมด 8 คณะ 4 วิทยาลัย ได้แก่

คณะ ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • SE: Software Engineering - วิศวกรรมซอฟแวร์
  • Dual Bachelor’s Degree Program
    • Bachelor of Engineering (Civil Engineering) & Bachelor of Science (Architecture)
    • Bachelor of Engineering in Smart Materials Technology & Bachelor of Engineering in Robotics and AI Engineering
    • B.Eng.(Biomedical Engineering) & Doctor of Medicine วิศวกรรมชีวการแพทย & แพทยศาสตรบัณฑิต
    • B.Eng.(Biomedical Engineering) & Doctor of Dental Surgery วิศวกรรมชีวการแพทย & ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (coming soon)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวิศวกรรมอัตโนมัติ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงานและความยั่งยืน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมป้องกันประเทศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจีสติกส์และซัพพลายเชน(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาระบบอัจฉริยะเชิงคำนวณ(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะ(หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์(หลักสูตรนานาชาติ)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  • สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ
  • สาขาวิชานิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาภาพยนตร์ และ ดิจิทัลมีเดีย
  • สาขาวิชาการถ่ายภาพ
  • สาขาวิชาจิตรกรรม
  • สาขาวิชาประติมากรรม
  • สาขาวิชาภาพพิมพ์
  • หลักสูตรนานาชาติ
    • 1. Bachelor of Science in Architecture สาขาวิชาสถาปัตยกรรมดิจิตัลและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ(หลักสูตรนานาชาติ)
    • 2. BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAM IN CREATIVE ARTS AND CURATORIAL STUDIES (INTERNATIONAL PROGRAM) NEW PROGRAM 2022 หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะสร้างสรรค์และภัณฑารักษ์ศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
    • 3. Bachelor of Design Program in Design Intelligence for Creative Economy (International Program) (New Program year 2024) หลักสูตรการออกแบบบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาออกแบบเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หลักสูตรนานาชาติ) (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2567)
  • หลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา (Dual Bachelor’s Degree Program)
    • Bachelor of Engineering (Civil Engineering) & Bachelor of Science (Architecture)
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  • สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
  • สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชานวัตกรรมและการออกแบบดิจิทัลมีเดีย
  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ
  • หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาการบริหารจัดการเมือง(หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชานวัตกรรมและการออกแบบดิจิทัลมีเดีย
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ
    • หลักสูตรครุศาสตร์สถาปัตยกรรม (5 ปี)
    • หลักสูตรครุศาสตร์สภาพแวดล้อมภายใน (5 ปี)
    • หลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ (5 ปี)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม
    • หลักสูตรครุศาสตร์วิศวกรรม (5 ปี)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร
    • หลักสูตรครุศาสตร์เกษตร (5 ปี)

1. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

  • Master of Industrial Education (M.I.Ed.) มี 3 หลักสูตร
    • ค.อ.ม. (สถาปัตยกรรม)
    • ค.อ.ม. (การบริหารการศึกษา)
    • ค.อ.ม. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม) มี 4 วิชาเอก
      • เทคโนโลยีทางการศึกษา
      • หลักสูตรและการสอน
      • หลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา
      • การวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา
  • Master of Science in Industrial Education (M.S.I.Ed.) มี 1 หลักสูตร
    • ค.อ.ม. (เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
  • Master of Science in Industrial Education (M.Sc.I.Ed.) มี 2 หลักสูตร
    • ค.อ.ม. (วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร)
    • ค.อ.ม. (อิเล็กทรอนิกส์)

2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 3 หลักสูตร

  • Master of Science (M.S.)
    • วท.ม.(ครุศาสตร์เกษตร)
  • Master of Science (M.Sc.)
    • วท.ม. (การศึกษาวิทยาศาสตร์)
  • Master of Science (Computer Education)
    • วท.ม. (คอมพิวเตอร์ศึกษา)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
1. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต มี 2 หลักสูตร
  • ค.อ.ด. (การบริหารอาชีวะศึกษา)
  • ค.อ.ด. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม) มี 3 วิชาเอก
    • เทคโนโลยีการศึกษา
    • การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
    • การศึกษาสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มี 3 หลักสูตร

  • ปร.ด. สาขาวิชาการศึกษาเกษตร
  • ปร.ด. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์เกษตร
  • ปร.ด. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • ปร.ด. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาปิโตรเคมีและเคมีของไฮโดรคาร์บอน
  • สาขาวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์อุตสาหการ หลักสูตรใหม่ 2561
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล และการวิเคราะห์
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาเคมีประยุกต์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
    • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต
    • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม
  • สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
  • สาขาวิชาการจัดการบริการการบิน

หลักสูตรในอนาคต

  • โครงการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สาขาวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
  • โครงการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
โครงการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
คณะเทคโนโลยีการเกษตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต[9]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์
  • สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรประมง
  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
  • สาขาวิชาการจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด
  • สาขาวิชาภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมพืชสวน (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๘)
  • สาขาวิชาการพยาบาลสัตว์และการจัดการธุรกิจสัตว์เลี้ยง (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๘)
วิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
  • สาขาวิชาพืชสวน
  • สาขาวิชาพืชไร่
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชากีฏวิทยาและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาปฐพีวิทยา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางโรคพืช
  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการหมัก
  • สาขาวิชาวิศวกรรมแปรรูปอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและเทคโนโลยีการบริการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ 2561)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดและบริการอาหาร
  • สาขาวิชาสุขาภิบาลอาหาร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การอาหาร
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะบริหารธุรกิจ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    • นวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
    • การจัดการและการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาเศรษฐศาสตรธุรกิจและการจัดการ
  • Bachelor of Business Administration (International Program)
    • Innovation & Technological Marketing
    • Global Business & Financial Management
    • Digital Logistics & Supply Chain Management
    • Global Entrepreneurship
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  • Master of Business Administration in Industrial Business Administration (International Program)
  • Doctor of Philosophy in Industrial Business Administration (International Program)
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

Bachelor of Engineering Program in Manufacturing System Engineering

  • B.Eng. Manufacturing System Engineering
  • B.Eng. Manufacturing System Engineering(หลักสูตรต่อเนื่อง3ปี)

Master degree program:

  • Master of Engineering Program in Advanced Manufacturing System Engineering
    • M.Eng. (Advanced Manufacturing System Engineering)

Doctor of Philosophy Program in Advanced Manufacturing System Engineering (International Program)

  • Ph.D. (Advanced Manufacturing System Engineering)
วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุนาโน
  • Bachelor of Engineering Program in Smart Materials Technology and Bachelor of Engineering Program in Robotics and AI (Dual Degree) (International Program)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชานาโนวิทยา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชานาโนเทคโนโลยี
[[]]
  • โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า

-

-

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม
วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)[10]

  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์(Aeronautical Engineering and Commercial Pilot)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ(Aerospace Engineering)
    • สาขาวิศวกรรมวิทยาการข้อมูลการบินและอวกาศ (Aviation Data Analysis and AeroSpace Engineering) เปิดรับปีการศึกษา 2565
    • วิศวกรรมระบบอากาศยานไร้คนขับ(Unmanned Aircraft Systems Engineering) เปิดรับปีการศึกษา 2565
    • วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน(Aviation Maintenance Engineering) เปิดรับปีการศึกษา 2565
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต(นานาชาติ)
    • สาขาวิชาการจัดการลอจิสติกส์
วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต (Institute of Music Science and Engineering : IMSE) สาขาวิชาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม[11]

-

วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม( College of Innovation and Industrial Management )
  • 1.
  • 2.

-

คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ

-

คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ

-

คณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต
  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๘)

-

โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีนวัตกรรมบูรณาการ xxxxxxx
  • xxxxxxxxxxx

-

สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN - KMITL) หลักสูตรอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ 5 ปี (รับผู้สำเร็จ ม.3) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ-ญิปุ่น)[12]
  1. Mechatronics Engineering (2019)
  2. Computer Engineering (2021)
  3. Electrical and Electronics Engineering (2023)

Advanced course[12]

  1. Production Engineering (2024)

-

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2526 ทางสถาบันฯ ได้มีความเห็นว่าควรจะได้มีการขยายงานการศึกษา การวิจัย และบริการสังคมของสถาบันไป สู่ภูมิภาค จึงจัดตั้งวิทยาเขตชุมพรขึ้นในปี พ.ศ. 2533 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวม พร้อมเปิดป้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2541 วิทยาเขตชุมพรเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2539[13]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ 3,500 ไร่ ประกอบไปด้วย 4 ภาควิชา 15 สาขาวิชาดังนี้

ภาควิชา ปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา

วิศวกรรมศาสตร์

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

เทคโนโลยีการเกษตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาพืชสวน

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตรบัณฑิต

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์

บริหารธุรกิจ

บริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
    • แขนงบริหารธุรกิจเกษตร
    • แขนงบริหารเทคโนโลยี
    • แขนงบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

พื้นที่มหาวิทยาลัย

[แก้]
ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แบ่งโดยถนนฉลองกรุงและทางรถไฟสายตะวันออก

  • ส่วนที่หนึ่ง อยู่ทางทิศเหนือ ประกอบไปด้วยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะการบริหารและจัดการ คณะศิลปศาสตร์ สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 อุทยานพระจอมเกล้า อาคารกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ศูนย์เรียนรวมสมเด็จพระเทพฯ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง วิทยาลัยนานานาชาติ วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์2 รวมถึงบางส่วนของภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ หอพักสถาบัน สมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และศูนย์กีฬาพระจอมเกล้าลาดกระบัง
  • ส่วนที่สอง อยู่ทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วย อาคารบุนนาคของคณะเทคโนโลยีการเกษตร อาคารเรียนและปฏิบัติการพิเศษจอมไตรของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และอาคารพระจอมเกล้า หอประชุมจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อาคารจุฬาภรณวลัยลักษณ์1 อาคารจุฬาภรณวลัยลักษณ์2 อาคารวิทยาศาสตร์ ของคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงอาคารกิจกรรมนักศึกษา
  • ส่วนที่สาม อยู่ทางทิศตะวันตก ประกอบไปด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และหอประชุมใหญ่สถาบัน
  • ส่วนที่สี่ อยู่ทางทิศใต้ ประกอบไปด้วย สำนักหอสมุดกลาง โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) แปลงเกษตรสาธิตของคณะเทคโนโลยีการเกษตร อาคารเจ้าคุณทหารซึ่งเป็นอาคารเรียนของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะอุตสาหกรรมเกษตร และอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการคณะอุตสาหกรรมเกษตร
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
[แก้]

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของสถาบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรนั้น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดที่ KMITL Convention Hall หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

การเดินทาง

[แก้]
สถานีรถไฟพระจอมเกล้า ผ่านกลางสถาบัน

1. รถไฟสายตะวันออก

2. รถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารประจำทางสาย 143 วิ่งระหว่างนิคมอุตสาหกรรมนำไกรถึงมีนบุรี
รถโดยสารประจำทางสาย 152 วิ่งระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถึงแฮปปี้แลนด์
รถโดยสารประจำทางสาย 517 วิ่งระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
รถโดยสารประจำทางสาย 1-56 วิ่งระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถึงหมอชิต 2
  • รถโดยสารประจำทางสาย 143 (ของไทยสมายล์บัส) ต้นทางจากนิคมอุตสาหกรรมนำไกร ปลายทางมีนบุรี
  • รถโดยสารประจำทางสาย 152 (ของไทยสมายล์บัส) ต้นทางจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปลายทางแฮปปี้แลนด์
  • รถโดยสารประจำทางสาย 517 (ของไทยสมายล์บัส) ต้นทางจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปลายทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถโดยสารประจำทางสาย 1-56 (ของไทยสมายล์บัส) ต้นทางจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปลายทางหมอชิต 2

3. รถสองแถว

  • รถสองแถวสาย 1013 (555) ต้นทางวัดราชโกษา ปลายทางเคหะร่มเกล้า
  • รถสองแถวสาย 1013 (777) (วงกลม) ต้นทาง ARL ลาดกระบัง ปลายทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • รถสองแถวสาย 1269 ต้นทางหัวตะเข้ ปลายทางลำผักชี
  • รถสองแถวสาย 1269 ต้นทางหัวตะเข้ ปลายทางวัดทิพพาวาส
  • รถสองแถวสาย 1517 ต้นทางหัวตะเข้ ปลายทางบึงบัว

4. รถยนต์ส่วนตัว

  • ใช้ทางด่วนพิเศษมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพ-ชลบุรี) ออกจากทางด่วนที่ถนนร่มเกล้า เลี้ยวขวาเข้าถนนร่มเกล้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอ่อนนุชและเลี้ยวซ้ายเข้าถนนฉลองกรุง
  • จากถนนศรีนครินทร์ เข้าถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) ระยะทางประมาณ 16 กม. และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนฉลองกรุง

5. รถตู้ปรับอากาศ

  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • เดอะมอลล์บางกะปิ - หัวตะเข้
  • มีนบุรี - ลาดกระบัง (ตลาดหัวตะเข้)
  • มีนบุรี - บึงบัว - หัวตะเข้
  • ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • แฟชั่นไอส์แลนด์ - ลาดกระบัง
  • เมกาบางนา - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

6. อากาศยาน

อยู่ห่างสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 5 กิโลเมตร

ชื่อเสียงและการจัดอันดับสถาบัน

[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย และหนังสือพิมพ์ชั้นนำของอเมริกายกย่องให้เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียน สจล. มีศักยภาพสูงเป็นที่ยอมรับทางด้านสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ (อันดับ 2 (ร่วม)) วิทยาศาสตร์ (อันดับ 2 (ร่วม)) คอมพิวเตอร์ (อันดับ 1 (ร่วม)) เทคโนโลยี (อันดับ 2 (ร่วม)) และนวัตกรรม มาอย่างยาวนานทั้งในประเทศและนานาชาติ ได้รับการจัดอันดับจากองค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกมากมาย เช่น Times Higher Education (THE) , QS University Rankings , Webometrics Ranking เป็นต้น ซึ่งสถาบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง และมีผลงานด้านการวิจัย ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จนทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก อาทิ เช่น

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

[แก้]

ประจำปี 2016

[แก้]
  • อันดับที่ 9 ของประเทศ จากการจัดอันดับของ QS University Rankings: Asia 2016

ประจำปี 2017

[แก้]
  • อันดับที่ 5 ของประเทศไทย (อันดับที่ 181-190 ของเอเชีย) จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2017 (Times Higher Education Asia University Rankings 2017)
  • อันดับที่ 11 ของประเทศ จากการจัดอันดับ Webometrics Ranking January 2017 รอบที่ 1

ประจำปี 2016-2017

[แก้]
  • อันดับที่ 8 ของไทย ติด อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำปี 2016-2017 (Times Higher Education World University Rankings 2016-2017) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ติดเข้ามาใน อันดับ 801+ นับเป็นครั้งแรก ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ติดอันดับเข้ามาใน อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (Times Higher Education World University Rankings) นับตั้งแต่ปี 2004 ที่ได้มีการจัดอันดับ โดยใน 2016 นี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ยังติดอันดับ 67 ในด้าน Industry income รายได้ทางอุตสาหกรรม โดยวัดจาก นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

ประจำปี 2019-2020

[แก้]
โดย Times Higher Education (THE)
[แก้]
  • อันดับที่ 1 ของประเทศไทย ด้านงานวิจัย ประจำปี 2019 (อันดับที่ 251–300 ของโลก) จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด ด้านงานวิจัย (World University Rankings 2019  : Research[14])
  • อันดับที่ 1 ของประเทศไทย ด้านรายได้จากภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2019 และ 2020 จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด (World University Rankings 2019 And 2020  : Industry Income[15])
  • อันดับที่ 1 (ร่วม) ของประเทศไทย ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ประจำปี 2020 จาก Times Higher Education (THE) ด้วยช่วงคะแนน 11.2-23.4 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด (World University Rankings 2020 by subject: Computer Science[16])
  • อันดับที่ 2 (ร่วม) ของประเทศไทย ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2019[17] และ 2020 (อันดับที่ 601-800 ของโลก) จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (World University Rankings 2019 and 2020 by Subject : Engineering and Technology[18])
  • อันดับที่ 2 (ร่วม) ของประเทศไทย ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ประจำปี 2020 จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (World University Rankings 2020 by Subject : Physical Sciences
  • อันดับที่ 4 ของประเทศไทย ประจำปี 2019 จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในประเทศไทย (World University Rankings 2019)
โดย QS World University Rankings
[แก้]

ระดับประเทศ

  • อันดับที่ 2 ของประเทศไทย ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (QS World University Rankings 2019 by Subject Engineering - Electrical & Electronic)

ระดับนานาชาติและระดับโลก

  • อันดับที่ 271 - 280 ของภูมิภาคเอเชีย (Asian University Rankings 2020)
  • อันดับที่ 301 - 350 ของโลก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (World University Rankings 2019 by Subject Engineering - Electrical & Electronic)
  • อันดับที่ 451 - 500 ของโลก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเกี่ยวกับเครื่องกล การบินและการผลิต (World University Rankings 2019 by Subject Engineering - Mechanical, Aeronautical & Manufacturing)

บุคคลสำคัญ

[แก้]
  • รายชื่อบุคคลสำคัญและศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ
รายชื่อศิษย์เก่า ศิษย์เก่าคณะ ผลงาน
สมศักดิ์ เทพสุทิน วิศวกรรมศาสตร์
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงคมนาคม เป็นต้น
ศรีเมือง เจริญศิริ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม
สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ วิศวกรรมศาสตร์
ก่อแก้ว พิกุลทอง วิศวกรรมศาสตร์
สงกรานต์ จิตสุทธิภากร วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ภิมุข สิมะโรจน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • รองประธานกรรมการ บริษัท ซักโก้ จำกัด(มหาชน)
ศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร วิศวกรรมศาสตร์
  • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปวัฒนธรรม
สันติ พร้อมพัฒน์ บริหารธุรกิจ
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน บริหารธุรกิจ
  • รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 และ คนที่ 1
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเพื่อไทย
พิชิต ชื่นบาน บริหารธุรกิจ
  • อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ บริหารธุรกิจ
  • ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย
ปรีชาพล พงษ์พานิช บริหารธุรกิจ
อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด บริหารธุรกิจ
  • อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • โฆษกพรรคเพื่อไทย
  • ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคเพื่อไทย
ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ บริหารธุรกิจ
  • รองประธานกรรมการอาวุโส กลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท
กฤชนนท์ อัยยปัญญา บริหารธุรกิจ
  • นักการเมืองและอาจารย์พิเศษระดับมหาวิทยาลัย
วัลลภ สุระกำพลธร วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา
  • ราชบัณฑิต นักวิทยาศาตร์ดีเด่น และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
เหรียญชัย เรียววิไลสุข วิศวกรรมศาสตร์
อมรเทพ จิรัฐิติเจริญ วิศวกรรมศาสตร์
นงลักษณ์ วัชระเกียรติพงษ์ วิศวกรรมศาสตร์
พล.ต.ต อาคม ไตรพยัคฆ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้บัญชาการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ผู้บังคับการกองตำรวจสื่อสาร
พล.ต.อ.กวี สุภานันท์ บริหารธุรกิจ
  • ตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
ปกรณ์ อาภาพันธุ์ วิศวกรรมศาสตร์
สิทธิพร ชาญนำสิน วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ
อดิสร เตือนตรานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
สุธี ผู้เจริญชนะชัย วิศวกรรมศาสตร์
ยุทธนา ตันติวิวัฒน์ วิศวกรรมศาสตร์
สุชาติ สุชาติเวชภูมิ วิศวกรรมศาสตร์
ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล วิศวกรรมศาสตร์
สุเจตน์ จันทรังษ์ วิศวกรรมศาสตร์
อธิคม ฤกษบุตร วิศวกรรมศาสตร์
จิรยุทธ์ มหัทธนกุล วิศวกรรมศาสตร์
เผ่าภัค ศิริสุข วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารระดับสูงในหลายรัฐวิสาหกิจ เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), การยางแห่งประเทศไทย และ บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
ประภาษ ไพรสุวรรณา วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • อดีตประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
  • ประธานกรรมการบริษัทและกรรมการอิสระ บริษัท ซีพีที ไดร์ แอนด์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
พิชญะ จันทรานุวัฒน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • วิศวกรรมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารของในและต่างประเทศ
  • นายกสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารและ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
อารดา เฟื่องทอง วิศวกรรมศาสตร์
สมศักดิ์ ตริยานุรักษ์ วิศวกรรมศาสตร์
กิตติ เพ็ชรสันทัด วิศวกรรมศาสตร์
ชินนาฎ คุณเจริญ วิศวกรรมศาสตร์
ปนิธิ เสมอวงษ์ เทคโนโลยีการเกษตร
  • รองอธิบดี กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
กิตติ ตีรเศรษฐ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ถวิล พึ่งมา วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
  • อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • อดีตนายกสภาวิศวกร
  • อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
  • อดีตประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ
  • ประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
  • ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สจล.
ประกิจ ตังติสานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ประธาน มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปิติ สุคนธสุขกุล วิศวกรรมศาสตร์
พิชิต ลำยอง วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการสภาวิศวกร
  • คณะกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บริษัท คัมเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • อาจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ปรมินทร์ อินโสม วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้พัฒนาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี FIRO
พิรดา เตชะวิจิตร์ วิศวกรรมศาสตร์
นิพนธ์ เจริญกิจการ วิศวกรรมศาสตร์
ธนภัทร์ วานิชานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา วิศวกรรมศาสตร์
เวคิน ปิยรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
วันชัย ไพจิตโรจนา วิศวกรรมศาสตร์
สัญญา มิตรเอม วิศวกรรมศาสตร์
เอกจิตต์ จึงเจริญ วิศวกรรมศาสตร์
วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการสำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE) และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดนัย วันทนาการ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ร่วมก่อตั้งผลักดันโครงการหลักสูตรภาควิชา TEP-TEPE
วันประชา เชาวลิตวงศ์ วิศวกรรมศาสตร์
ภากร ปีตธวัชชัย วิศวกรรมศาสตร์
ประสพสุข ดำรงชิตานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
วศิน วณิชย์วรนันต์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหารหลักทรัพย์จัดการกองทุน(Kasset)และรองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย
วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด
  • รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม
จิรายุทธ รุ่งศรีทอง วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
อานนท์ ทับเที่ยง วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
มนต์ชัย หนูสง วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ศักดิ์ชัย บัวมูล วิศวกรรมศาสตร์
มนัสส์ มานะวุฒิเวช วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ดูแลธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจมีเดีย ระบบงานปฏิบัติการและเครือข่าย งานบริหารจัดการระดับภูมิภาคทั่วประเทศ
ประสิทธิ์ เลาหวิรภาพ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า(EGCO) จำกัด (มหาชน)
สุระ เกนทะนะศิล วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
สฤษดิ์ จิณสิทธิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ผู้สร้างรถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออก)
  • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเทศ ตันกุรานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
พิชิต ธันโยดม วิศวกรรมศาสตร์
  • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้บริหารระดับสูงกลุ่มทรู
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่คนแรกของ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด
สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
จิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล วิศวกรรมศาสตร์
ชินวัชร์ สุรัสวดี วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.worldmeteorology.com กับ WMApp
  • นักวิจัยเทคโนโลยีรุ่นใหม่
วันฉัตร ผดุงรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
สราวุฒิ อยู่วิทยา วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เรดบูล จำกัด
ชวลิต ทิพพาวนิช วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการจัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมชั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
วุฒิกร สติฐิต วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน)
ปิติพันธ์ เทพปฏิมากร วิศวกรรมศาสตร์
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
  • อดีตประธานเจ้าหน้าที่ธุรกิจกลุ่มปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติและที่ปรึกษา ปตท.
  • กรรมการอิสระ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
วศิน สุนทราจารย์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการ บริษัท Brighter PTT Oil and Retail Business Company Limited
  • รองประธานเจ้าหน้าที่และกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร นวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
สุนทร เชื้อสุข อุตสาหกรรม
  • ประธานกรรมการ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการคลังปิโตรเลียม บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)
รัฐพล ชื่นสมจิตต์ วิศวกรรมศาสตร์
นพพร วิฑูรชาติ วิศวกรรมศาสตร์
ณัฐ วงศ์พานิช วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด
พงษ์ชัย อมตานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการ CISCO ประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
  • ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จำกัด (AWS)
ทวีวัฒน์ จันทรเสโน วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและพม่า
สุภัทร จำปาทอง สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • อดีตปลัดกระทรวงศึกษาและเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วุฒิ ด่านกิตติกุล สถาปัตยกรรมศาสตร์
ทรงพล ยมนาค สถาปัตยกรรมศาสตร์
ทวีเกียรติ ศรีสกุลเมฆี สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • สถาปนิกใหญ่ สังกัดกรมโยธาธิการและผังเมือง
ทรงศักดิ์ เปรมสุข สถาปัตยกรรมศาสตร์
คืนสิทธิ์ สุวรรณวัฒกี สถาปัตยกรรมศาสตร์
ธนญชัย ศรศรีวิชัย สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา บริษัท ฟีโนมีน่า จำกัด
ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักออกแบบและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Qualy
จีรเวช หงสกุล สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • founder IDIN Architecture
คทาทิพย์ เอี่ยมกมลา สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง
  • สถาปนิกใหญ่และผู้ตรวจราชการกรม โยธาธิการและผังเมือง
วิรัตน์ รัตตากร สถาปัตยกรรมศาสตร์
วิเชษฐ์ สุวิสิทฐ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
สิทธิพงศ์ ณ เชียงใหม่ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • ประธานสมาพันธ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย, เจ้านายฝ่ายเหนือ
คงเดช จาตุรันต์รัศมี สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ผู้เขียนบทภาพยนตร์ (ต้มยำกุ้ง, เดอะเลตเตอร์จดหมายรัก, แฮ๊ปปี้เบิร์ดเดย์) กำกับภาพยนตร์ (ตั้งวง), นักร้องวงสี่เต่าเธอ
ภาณุพล รัตนกาญจนภัทร วิทยาศาสตร์
สยาม เจริญเสียง วิทยาศาสตร์
พิชัยยุทธ์ เตชะพงษ์ วิทยาศาสตร์
  • ผู้บริหารอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ในประเทศอินเดีย
  • อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สุวัฒน์ สูงเลิศส่งฟ้า วิทยาศาสตร์
  • นักวิจัย ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ธวัชชัย พีชะพัฒน์ วิทยาศาสตร์
  • รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
ปรอง กองทรัพย์โต วิทยาศาสตร์
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านคุณภาพและวิจัย บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
  • วิทยากรด้านการพัฒนาองค์กรด้านเทคโนโลยีและด้านการจัดการ
สุนทรียา วงศ์ศิริกุล วิทยาศาสตร์
  • รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน)
ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ วิทยาศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ จำกัด
  • ผู้เชี่ยวชาญด้าน blockchain และ Crptocurrency
ปิยดา เจริญสิริสมบูรณ์ วิทยาศาสตร์
  • Vice president Global Development Pesonal Care Solutions,BASF personal care and Nutrition GmbH in Germany
  • Vice president research Innovative campus Asia pacific BASF Auxillaly chemicals co, ltd
จิรยุทธ์ กาญจนมยูร วิทยาศาสตร์
  • Vice president information technology at The Mall Group
วีระ อารีรัตนศักดิ์ วิทยาศาสตร์
  • Managing director,Malaysia,Indonesia,Thailand and Indochina at Netapp Inc.
ธารา บัวคำศรี วิทยาศาสตร์
  • ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรกรีนพีช (greenpeace) ในภูมิภาคเอเชีย
มนตรี วิบูลยรัตน์ วิทยาศาสตร์
  • นายกสมาคม สมาคมการค้าพลังงานขยะ (Waste to Energy Trade Association), Thailand.
  • ประธานคณะกรรมการ มาตรฐานดาตาเซนเตอร์ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)
  • ประธานคณะกรรมการ มาตรฐานเมืองอัฉริยะ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)  
  • ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท พีพีพี กรีน คอมเพล็กซ์ จำกัด (มหาชน)
  • รองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • รองประธาน คณะกรรมการวิชาการด้านมาตรฐานสถาบันประเมินและรับรองเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย วิทยาศาสตร์
กิตติชัย วัชรเวชศฤงคาร วิทยาศาสตร์
  • Associate Professor and Director of Graduate studies Consumer,Apparel ,and Retail studies -Byan school of business and Economic at University of north carolina
ภราดร จินขุนทอง เทคโนโลยีการเกษตร
  • กรรมการผู้จัดการ CPF TURKEY
ศรุต ทับลอย สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
  • ผู้สร้างสรรค์ในเกมระบบคอมพิวเตอร์ "home sweet home"
ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ศิลปินนักวิจัยละที่ปรึกษาอิสระด้านการออกแบบและศิลปะ
  • อดีตผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด้านศิลปะและการออกแบบ San Diego State University เมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
  • อดีตอาจารย์ ด้านการออกแบบเครื่องประดับและงานโลหะ Savannah College of Art and design เมืองซาวาน่า รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • อดีตผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ด้านศิลปะและการออกแบบ Northern Illinois University เมืองดีเคลบ์ รัฐอิลอนยล์
พิชพิมพ์  ปัทมสัตยาสนธิ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • กรรมการบริหาร บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด
วีรพันธ์ อังสุมาลี  วิศวกรรมศาสตร์
รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท QueQ (ประเทศไทย) จำกัด
สุรเชษฐ์ ภาณุพัฒนา วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการบริหาร และรองผู้อำนวยการ สายงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บริษัท ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
ชาติฉกาจ ไวกวี สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ช่างภาพศิลปินแถวหน้าของประเทศไทย
  • ผู้ก่อตั้งแบรนด์ TRULY
ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ สถาปัตยกรรมศาสตร์
ทศพร อาชวานันทกุล สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักร้องวง Singular,นักแต่งเพลง
อนุสรณ์ มณีเทศ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักร้องนำและมือกีตาร้ วงอาร์มแชร์
เจตมนต์ มละโยธา สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักร้องนำ วงpenguin Villa และอดีตมือกีต้าร์ วงพราว
ชาราฎา อิมราพร สถาปัตยกรรมศาสตร์
สิทธิ ภาณุพัฒนพงศ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สินแพทย์ จำกัด
  • กรรมการบริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิภาราม จำกัด
  • กรรมการบริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน)
ศรีฟ้า จันทร์ทองวัฒนา เทคโนโลยีการเกษตร
  • ผู้ประกาศข่าว ผู้สื่อข่าว ช่องเอ็นบีที 2 เอชดี (สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย)
นภ หอยสังข์ อุตสาหกรรมเกษตร
  • ศิลปินนักร้องแรปเปอร์ AKA nil lhohitz
  • อาจารย์วิชา สุนทรียะเพลงแรป
ศากุน บุญอิต อุตสาหกรรมเกษตร
จิระ ด่านบวรเกียรติ วิศวกรรมศาสตร์
  • นักร้อง, นักแสดง, อดีตสมาชิกวง ซีควินท์ (C-Quint)
จรณ โสรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ วิศวกรรมศาสตร์
กฤตพร มณฑีรรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
เทพกิจ ฉัตรสุริยาวงศ์ บริหารธุรกิจ
กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล วิทยาศาสตร์
วิชญ วัฒนศัพท์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ศิลปิน นักดนตรี โปรดิวเซอร์ นักประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ หัวหน้าวง Hualampong Riddim
ดุลยพล ศรีจันทร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักออกแบบและผู้ก่อตั้ง PDM Brand
อารียา ศิลปนาวา ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
ชลากรณ์ ปัญญาโฉม วิศวกรรมศาสตร์
สุทัศน์ คงดำรงเกียรติ วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทยกัมพูชา เมียนมา และลาวบริษัท เอ็นทีที จำกัด
สุรศักดิ์ เอิบสิริสุข วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน)
วิทวัส เรืองปัญญาวุฒิ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท วิทวี จำกัด
สมบูรณ์ ทรงพิพัฒน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ทีมผู้บริหารและรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)
จิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ วิศวกรรศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี บริษัท สิริ เวนเจอร์ส จำกัด บริษัทในเครือแสนสิริ
ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท จิตตะ ดอตคอม จำกัด เจ้าของแบรนด์ Jitta
ธีระชัย รัตนกมลพร วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ทีม คอนชัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน)
วรเดช เปี่ยมสุวรรณ วิศวกรรศาสตร์
  • กรรมการบริหาร บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
บุญศักดิ์ เกียรติจรูญ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คัมเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย (TEMCA)
  • กรรมการมูลนิธิอุตสาหกรรมก่อสร้างไฟฟ้าและเครื่องกล
  • กรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
  • อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ
สุรวีย์ ชัยธำรงค์กุล วิศวกรรมศาสตร์
บุญธรรม หาญพาณิชย์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์ จำกัด
วิชัย สุขประเสริฐกุล วิศวกรรมศาสตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๑, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๕ ก ๗ มีนาคม ๒๕๕๑ หน้า ๙๕-๑๒๔
  3. "ประวัติการบริจาคที่ดินของท่านเลี่ยม เพื่อสร้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2010-12-29.
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/011/3.PDF
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์)
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์)
  7. แต่งตั้ง ผู้รักษาการแทนอธิการบดี สจล.
  8. 8.0 8.1 สัญลักษณ์ของสถาบัน KMITL
  9. ประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี แบบ Portfolio รอบที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร ประจำปีการศึกษา 2564
  10. "International Academy of Aviation Industry, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang – Aviation | วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบิน" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  11. "Dean Message – IMSE".
  12. 12.0 12.1 "Kosen-Kmitl". www.kosen.kmitl.ac.th.
  13. ประวัติวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เก็บถาวร 2014-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร
  14. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2019/regional-ranking#!/page/0/length/25/locations/TH/sort_by/scores_research/sort_order/asc/cols/stats
  15. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2020/world-ranking#!/page/0/length/25/locations/TH/sort_by/scores_industry_income/sort_order/asc/cols/scores
  16. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2020/subject-ranking/computer-science#!/page/0/length/50/locations/TH/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/scores
  17. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2019/subject-ranking/engineering-and-IT#!/page/0/length/25/locations/TH/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/stats
  18. https://www.timeshighereducation.com/world-university-rankings/2020/subject-ranking/engineering-and-IT#!/page/0/length/25/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/stats
  19. https://www.workpoint.co.th/th/leadership/management-team คณะผู้บริหาร เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′36″N 100°46′48″E / 13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125