คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

พิกัด: 13°43′36″N 100°46′48″E / 13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Faculty of Engineering,
King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang
ตราพระมหาพิชัยมงกุฏ
สัญลักษณ์ประจำสถาบัน
สถาปนาพ.ศ. 2507 (1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507)
วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี
พ.ศ. 2514
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณบดีรศ.ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล
ที่อยู่
วารสารวิศวสารลาดกระบัง
สี███ สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.curriculum.kmitl.ac.th/faculty/eng/

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แต่เดิมเป็น"ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี" ก่อนจะยกฐานะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 7 คณะของสถาบัน มีทั้งสิ้น 13 ภาควิชา ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามสำนักหอสมุดกลาง และมีพื้นที่ติดกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แบ่งเป็น 2 ยุค คือ ยุคแรก นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และยุคที่ 2 นับจากวันที่ได้รับอนุมัติ จนถึงปัจจุบัน

ยุคต้น[แก้]

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2503 รัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีพิธีการลงนาม ร่วมมือกัน จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี” สังกัด กองโรงเรียนพาณิชย์ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ได้เริ่มดำเนินการสอนครั้งแรกใน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร 6 เดือน สำหรับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และพนักงานองค์กรในสายงานโทรคมนาคม และ หลักสูตร 1 ปี สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือจบปีที่ 2 จากโรงเรียนอาชีวศึกษาชั้นสูง แผนกวิทยุโทรคมนาคม ในตอนนั้น มีอาจารย์ชาวไทย จำนวน 10 คน และอาจารย์ชาวญี่ปุ่น จำนวน 8 คน โดยมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 23 คน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 มีการปรับปรุงหลักสูตร 1 ปี เป็นหลักสูตร 3 ปีให้เทียบเท่าวิทยาลัยเทคนิคทั่วไป ซึ่งมีคุณวุฒิระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยโทรคมนาคม นนทบุรี[1]

ปี พ.ศ. 2511 และได้ปรับปรุงหลักสูตรปวส. จากหลักสูตร 3 ปี เป็นหลักสูตร 5 ปี ในสาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม และมีนักศึกษารุ่นแรกจำนวน 49 คน ในปี พ.ศ. 2512[1] ปีถัดมาเกิดมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อ สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยี โดยให้ใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยี” และมีฐานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ ในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2513

ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ใช้พระนาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบันทั้ง 3 วิทยาเขต ภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า โดยมีฐานะเป็นกรม สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในปีเดียวกันนั้นได้ย้ายวิทยาเขตมาอยู่ที่ลาดกระบัง ซึ่งเป็นที่ดินของทายาท ท่านเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์(วร บุนนาค หรือ เจ้าคุณทหาร) มีเนื้อที่กว่า 1000 ไร่ เรียกว่า "วิทยาเขตนนทบุรี-ลาดกระบัง"[2] และได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกว่า 70 ล้านบาทเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและอื่นๆ และในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ได้รับรอง "ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม"[3]

ยุคที่ 2[แก้]

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2515 วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนสถานภาพเป็น “คณะวิศวกรรมศาสตร์[3] ต่อมาอีก 2 ปีในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 มีการโอนสังกัดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ปีถัดมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า” โดยได้รับความเห็นชอบหลักสูตรในวันที่ 19 มิถุนายนในปีเดียวกันนั้น และในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2519 นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จมาทำการเปิดวิทยาเขตลาดกระบังและได้มีการจัดงานนิทรรศการ "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" ขึ้นในระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน พ.ศ. 2519

พ.ศ. 2521 คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับกรมวิเทศสหการและรัฐบาลญี่ปุ่น จัดการอบรมนานาชาติ หลักสูตรเทคโนโลยีโทรคมนาคมขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งยังมีการจัดต่อมาในทุกๆปี นอกจากนี้ยังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ โซลิดสเตท(ศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์) และอิเล็กทรอนิกส์ และอีกก้าวที่นับเป็นจุดสูงสุดของการศึกษาคือเปิดสอนในระดับปริญญาเอก “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า” เป็นแห่งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2525และมีนักศึกษาจบหลักสูตร เป็นคนแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2529[1] ในปี พ.ศ. 2528 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ตามพระราชบัญญัติ มีชื่อเต็มว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง"[1]

จากจุดเริ่มต้นของศูนย์ฝึกโทรคมนาคม ในปีพ.ศ. 2503 ซึ่งมีนักศึกษารุ่นแรก 23 คน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิต ทางวิศวกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ เปิดการเรียนการสอนให้สาขาวิชาที่หลากหลาย โดยมีการดำเนินการจัดตั้งเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้

พ.ศ. 2503 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2519 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พ.ศ. 2521 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2525 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม พ.ศ. 2525 จัดตั้งศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2530 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร พ.ศ. 2533 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมโยธา (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง เมื่อพ.ศ. 2529) พ.ศ. 2537 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเคมี พ.ศ. 2538 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอาหาร พ.ศ. 2540 จัดตั้งโครงการภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ พ.ศ. 2543 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม (ชื่อเดิมภาควิชาเทคโนโลยีการวัดคุมทางอุตสาหกรรม เมื่อพ.ศ. 2526) พ.ศ. 2544 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศ (ชื่อเดิม ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม เมื่อพุทธศักราช 2517)

ในปัจจุบัน คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับแนวหน้าของประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในหลายสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ มีศูนย์วิจัยทางวิศวกรรมศาสตร์จำนวน 2 ศูนย์ โดยในปัจจุบัน มีคณาจารย์จำนวน 296 คน และบุคลากรที่สนับสนุนงานด้านวิชาการจำนวน 246 คน[4]

ตราคณะรูปแบบต่างๆ[แก้]

ไฟล์:Logo real.gif ไฟล์:Kmitl (2).gif
ตราพื้นกำมะหยี่ ตราลายเส้นสีดำ(ภาษาอังกฤษ) ตราลายเส้นสีดำ(ภาษาไทย) ตราลายเส้นสีแสด(ภาษาไทย)

ภาควิชาและหลักสูตร[แก้]

คณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย เรียงลำดับตามการก่อตั้งดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยมีภาควิชาและหลักสูตรที่เปิดสอนดังนี้

ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดคุม

-

ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • วิศวกรรมเกษตร 4 ปี
  • วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร 3 ปี (หลักสูตรต่อเนื่อง)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร แผน ก1 และ ก2

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร แผน ก1 และ ก2
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แผน ก1 และ ก2
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี แผน ก1 และ ก2

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • กลุ่มวิชาวิศวกรรมความร้อนและของไหล
    • กลุ่มวิชาการออกแบบทางเครื่องกล & แมคาทรอนิกส์
    • กลุ่มวิชากลศาสตร์วิศวกรรม
    • กลุ่มวิชาวิศวกรรมยานยนต์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและเครือข่าย

-

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ
  • สาขาวิศวกรรมโยธา
    • แขนงวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง
    • แขนงวิชาวิศวกรรมธรณีเทคนิค
    • แขนงวิชาวิศวกรรมขนส่ง
    • แขนงวิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ
    • แขนงวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

-

ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุม

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุม

-

ภาควิชาวิศวกรรมไอโอทีและสารสนเทศ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
  • วิศวกรรมไอโอทีและสารสนเทศ หลักสูตร 2 ปี
    • แผน ก แบบ ก1
    • แผน ก แบบ ก2
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • -
ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

-

ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

-

วิศวกรรมอุตสาหการ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตรอื่น ๆ

-

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

-

ศูนย์วิจัยอิเล็กทรอนิกส์

-

-

-

สำนักงานคณบดี

-

-

-

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลายกระทรวง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น
  • ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม
  • สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี
  • ก่อแก้ว พิกุลทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • สงกรานต์ จิตสุทธิภากร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ภิมุข สิมะโรจน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานกรรมการ ซัสโก้
  • ศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • วัลลภ สุระกำพลธร ประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิต นักวิทยาศาตร์ดีเด่น
  • อมรเทพ จิรัฐิติเจริญ อดีตคณะกรรมการซุปเปอร์บอร์ด กสทช
  • นงลักษณ์ วัชระเกียรติพงษ์ เลขานุการประธานกสทช
  • พล.ต.ต อาคม ไตรพยัคฆ์ รองผู้บัญชาการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผู้บังคับการกองตำรวจสื่อสาร
  • เหรียญชัย เรียววิไลสุข อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
  • สุชาติ สุชาติเวชภูมิ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม
  • จิรายุทธ รุ่งศรีทอง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
  • อานนท์ ทับเที่ยง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)
  • มนต์ชัย หนูสง อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
  • ถวิล พึ่งมา อดีตอธิการบดี สจล. ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สจล.
  • สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นักการเมือง อดีตอธิการบดี สจล.อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและสภาวิศวกร
  • Sujate Jantarang อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ รองประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
  • สิทธิพร ชาญนำสิน นักวิจัยชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์วงโคจร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
  • สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานผู้บริหาร tcp(Red bullกระทิงแดง)
  • ชวลิต ทิพพาวนิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการจัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • รัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)และกรรมการ บริษัท ไทยคม จำกัด
  • นพพร วิฑูรชาติ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  • ณัฐ วงศ์พานิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซนทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด
  • พงษ์ชัย อมตานนท์ ประธานผู้บริหารและกรรมการผู้จัดการผู้ก่อตั้ง บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (ตู้เต่าบิน,ตู้บุญเติม)
  • ภากร ปีตธวัชชัย ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • ปรมินทร์ อินโสม ผู้พัฒนาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี FIRO
  • วันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้ก่อตั้ง pantip.com
  • ชินวัชร์ สุรัสวดี อดีตวิศวกรMICROSOFT ศิษย์เก่า MIT,ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.worldmeteorology.com ,WMApp , นักวิจัยเทคโนโลยีรุ่นใหม่
  • ประภาษ ไพรสุวรรณา อดีตคณะกรรมการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อดีตประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)และผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริษัทและกรรมการอิสระ บมจ.ซีพีที ไดร์ แอนด์ เพาเวอร์
  • ทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้(CISCO) ประเทศไทยและพม่า
  • วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส หรือ เอดับบลิวเอส (AWS)
  • พิรดา เตชะวิจิตร์ ว่าที่นักบินอวกาศหญิง 1 ใน 23 ผู้ชนะ axe apollo space academy
  • ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
  • สุธี ผู้เจริญชนะชัย รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(สวทช)
  • สุระ เกนทะนะศิล อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด
  • สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย
  • สฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด(รถไฟความเร็วสูง)
  • วศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด
  • วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ธนาคารแห่งประเทศไทย
  • จิระ ด่านบวรเกียรติ นักร้อง,นักแสดง,สมาชิกวง ซีควินท์ (C-Quint)
  • จรณ โสรัตน์ นักแสดง
  • ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ นักแสดง สังกัด สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
  • กฤตพร มณฑีรรัตน์ สมาชิกวง โอลีฟส์
  • โสฬส ปุณกะบุตร นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ระดับตำนาน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°43′36″N 100°46′48″E / 13.726725°N 100.780125°E / 13.726725; 100.780125

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ประวัติงานบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ เก็บถาวร 2008-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สจล.
  2. แนะนำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม เก็บถาวร 2008-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ลาดกระบัง เก็บถาวร 2008-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 ประวัติความเป็นมา เก็บถาวร 2008-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เก็บถาวร 2008-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. โครงสร้างองค์กรและบุคลากร พ.ศ. 2548 เก็บถาวร 2008-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เก็บถาวร 2008-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน