คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
School of Industrial Education and Technology
King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
สถาปนา10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520
คณบดีรศ.ดร.กิติพงค์ มะโน
ที่อยู่
เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพ 10520
วารสารวารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สี███ Palevioletred
เว็บไซต์www.inded.kmitl.ac.th

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 เดิมชื่อว่าคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ตอนมาได้เปลี่ยนเป็นคณะครุศาสตร์อุตสหกรรม และก่อนตั้งขึ้นเป็นคณะที่ 3 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบันเป็น 1 ใน 7 คณะของสถาบัน เปิดสอนทั้งสิ้น 5 ภาควิชา ประกอบไปด้วยสาขาวิชา ระดับปริญญาเอก 2 สาขาวิชา ปริญญาโท 13 สาขาวิชา ปริญญาตรี 7 สาขาวิชา

ประวัติ[แก้]

  • วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 จัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ โดยรวมภาควิชาทางสาขาวิทยาศาสตร์, ภาษาศาสตร์, มนุษย์ศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ ซึ่งสังกัดอยู่ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ในขณะนั้น เข้าด้วยกันจัดตั้งเป็นคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ [1]
  • วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2531 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยแยกภาควิชาและบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ออกมาจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ส่วนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อจาก คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ เป็น คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม[2]
  • พ.ศ.ปี 2554 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ยกเลิกหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินการการเรียนสอนเฉพาะหลักสูตร 5 ปี และ 4 ปี
  • วันที่ 13 มีนาคม 2560 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมได้เปลี่ยนชื่อจาก “คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม” เป็น “คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี” [3] โดย ภาควิชาศิลปศาสตร์ประยุกต์ ได้ดำเนินการแยกออกและจัดตั้งเป็น “คณะศิลปศาสตร์” นอกจากนี้คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ได้ดำเนินการเปิดหลักสูตร หลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง “เทคโนโลยีบัณฑิต” ในปี 2560 เช่นกัน

หน่วยงานและหลักสูตร[แก้]

สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (5ปี)

หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2550 (เข้าศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2551-2554 ) ผ่านการรับรองโดยสภาสถาปนิก (หลักสูตรอื่นๆ ยังไม่ผ่านการรับรองจากสภา)

ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต

  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (5 ปี)
  • สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน (5 ปี)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์การออกแบบ (4 ปี)

วิชาเอก

- การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

- การออกแบบบรรจุภัณฑ์

- การออกแบบกราฟิก

- การออกแบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดีย

- การออกแบบเฟอร์นิเจอร์

- การออกแบบเซรามิกส์

- การออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ


หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต 2 ปี

  • สาขาวิชาบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสินค้าและบริการ (ต่อเนื่อง)

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

-

ครุศาสตร์เกษตร

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต

  • สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร (4 ปี)

วิชาเอก

- เทคโนโลยีการเกษตร-การผลิตสัตว์

- เทคโนโลยีการเกษตร-การผลิตพืช

- อุตสาหกรรมเกษตร

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต 2 ปี[แก้]

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร (ต่อเนื่อง)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการศึกษาเกษตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการศึกษาเกษตร
  • สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์เกษตร
ครุศาสตร์วิศวกรรม

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต

  • สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม (4 ปี)

วิชาเอก

- วิศวกรรมโทรคมนาคม

- วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต 2 ปี[แก้]

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง)

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร
  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา
ครุศาสตร์อุตสาหกรรม -

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์

วิชาเอก

- วิทยาศาสตร์ทั่วไป

- ชีววิทยา

- เคมี

- คอมพิวเตอร์

- สิ่งแวดล้อม

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม

วิชาเอก

- หลักสูตรและกาสอน

- เทคโนโลยีทางการศึกษา

- การวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา

หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม

วิชาเอก

- เทคโนโลยีทางการศึกษา

- การวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร

สัญลักษณ์ประจำคณะ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติความเป็นมาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เก็บถาวร 2009-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สจล.
  2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 44 เล่ม 105 ตอนที่ 206 วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2531
  3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 16 เล่ม 134 ตอนพิเศษ 77 ง วันที่ 13 มีนาคม 2560