สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ | |
---|---|
อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ (รักษาการ) |
นายกสภาวิศวกร | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 19 มีนาคม พ.ศ. 2562[1] | |
ก่อนหน้า | ดร.กมล ตรรกบุตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2515 (48 ปี 362 วัน) ชลบุรี |
วิชาชีพ | อาจารย์ |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ประธานคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กรรมการอิสระ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กรรรมการในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา[2]กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ [3]นายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2558[4][5] ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ระหว่างปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2562 และประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560
อดีตคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อดีตนายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และอดีตประธานคณะกรรมการยุววิศวกรแห่งประเทศไทย
ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ในสาขาวิชา วิศวกรรมโยธา สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2553[6] เป็นศาสตราจารย์ ทางด้านการก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ คนแรกของประเทศไทย เมื่ออายุเพียง 37 ปี
ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ไอเซนฮาวร์ เฟลโลว์ชิพ ประจำปี 2012 (Eisenhower Fellowships) ในฐานะผู้นำยุคใหม่ด้านวิศวกรรมเทคโนโลยี จากมูลนิธิประธานาธิบดี ดไวท์ ไอเซนฮาวร์ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา จากการที่ ได้อุทิศตนในการวิจัยองค์ความรู้และพัฒนาวิชาการเทคโนโลยีก่อสร้างใต้ดินและอุโมงค์ เพื่อยกระดับระบบสาธารณูปโภค การบริหารจัดการน้ำ และคมนาคมโลจิสติกส์ของไทยที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน เขาได้คิดค้นทฤษฎีการคำนวณขุดเจาะอุโมงค์ที่ก้าวหน้าด้วยประสิทธิภาพและความปลอดภัยซึ่งได้รับการอ้างอิงและนำไปใช้ประโยชน์มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และยังได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่นเข็มทองคำที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย
ทั้งนี้ดำรงตำแหน่งในฐานะนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[7] ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการอื่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[8] ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย
การศึกษา[แก้]
ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนระยองวิทยาคม แล้วได้เข้าศึกษาต่อสาขาวิศวกรรมก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในส่วนของโควต้าช้างเผือก ปี 2533 และได้เป็นประธานวิศวะรุ่นที่ 29
- ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมก่อสร้าง) (เกียรตินิยม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2537
- ปริญญาโท M.Sc. (Geotechnical Engineering) The University of Wisconsin-Madison สหรัฐอเมริกา ปี 2540
- ปริญญาโท M.Sc. (Technology and Policy) Massachusetts Institute of Technology (MIT) สหรัฐอเมริกา ปี 2544
- ปริญญาเอก Sc.D. (Geotechnical Engineering) Massachusetts Institute of Technology (MIT) สหรัฐอเมริกา ปี 2545
ประวัติการทำงาน[แก้]
- ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ
- กรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย[9]
- กรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง[10]
- ประธานมูลนิธิอาคารเขียว
- กรรมการบริหารอุโมงค์โลก
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ที่ปรึกษาประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- กรรมการอื่นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และกรรมการในคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
- นายกสภาวิศวกร และ กรรมการในคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
- นายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย
รางวัล[แก้]
- Eisenhower Fellow 2012 สหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้นำยุคใหม่
- รางวัลเกียรติคุณเข็มทองคำ “นักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น 2557” สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย
- รางวัลเกียรติยศบุคคลตัวอย่าง "คนดี คิดดี สังคมดี ตามรอยพระยุคลบาท" 2556 จาก สว.นท
- รางวัลเกียรติยศนักบริหารดีเด่นแห่งปี 2555 จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย
- วิศวกรอาเซียนดีเด่นประจำปี 2555 จากสมาพันธ์วิศวกรรมแห่งอาเซียน
- รางวัลธรรมาภิบาล “สิงห์ทอง” รางวัลผู้บริหารและนักพัฒนาองค์กรดีเด่นแห่งปี 2555
- ได้รับรางวัล Top 100 Engineers 2009 in Civil Engineering (International Geographical Center)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2560 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[11]
- พ.ศ. 2558 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[12]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/095/T_0005.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0102.PDF
- ↑ ครม.ตั้ง เสรี-ทวิดา-สุชัชวีร์ กก.ผู้ทรงคุณวุฒิ บอร์ดสาธารณภัยแห่งชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่ม 132 ตอน 241 ง พิเศษ หน้า 2 6 ตุลาคม 2558
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์ เล่ม 129 ตอน 166 ง พิเศษ หน้า 9
- ↑ http://conference.sci.dusit.ac.th/sdnc2018/documents/Dr_Suchatchawee_Suwansawat.pdf
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/310/9.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/007/6.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/142/9.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๔๖ เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข, ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๘๒ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข, ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
</ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/241/2.PDF
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ศาสตราจารย์
- วิศวกรชาวไทย
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- บุคคลจากจังหวัดระยอง
- อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- บุคคลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.