สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |||||||||
ทรงฉายใน พ.ศ. 2485 | |||||||||
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2435[1] – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2458[2] | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ก่อนหน้า | เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (ในฐานะสมุหนายก) | ||||||||
ถัดไป | เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ | ||||||||
เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2466[3] – 23 มีนาคม พ.ศ. 2468[4] | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ | ||||||||
ถัดไป | ยุบกระทรวง | ||||||||
อภิรัฐมนตรี[5] | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[6] | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
องคมนตรี[7][8][9][10] | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[11] | |||||||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง เมษายน พ.ศ. 2430 – เมษายน พ.ศ. 2433 | |||||||||
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) | ||||||||
ถัดไป | เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) (ในฐานะเจ้ากรมทหารบก) | ||||||||
ประสูติ | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 กรุงเทพพระมหานคร ประเทศสยาม (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย) | ||||||||
สิ้นพระชนม์ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี) วังวรดิศ จังหวัดพระนคร ประเทศไทย (ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร) | ||||||||
หม่อม (สะใภ้หลวง) | เฉื่อย ยมาภัย | ||||||||
หม่อม | 10 ท่าน | ||||||||
| |||||||||
พระบุตร | 37 องค์ | ||||||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||||||
ราชสกุล | ดิศกุล | ||||||||
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||||||
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาชุ่ม | ||||||||
ศาสนา | เถรวาท | ||||||||
อาชีพ | ทหาร นักการเมือง นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ | ||||||||
ลายพระอภิไธย | |||||||||
การศึกษา | |||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||
รับใช้ | สยาม | ||||||||
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า | ||||||||
ชั้นยศ | พลเอก นายกองเอก | ||||||||
บังคับบัญชา | เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก | ||||||||
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. และเป็นองค์ต้นราชสกุลดิศกุล[12] ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดระบบการศึกษาไทยและการปกครองส่วนท้องถิ่นสมัยใหม่ พระองค์ทรงเป็นนักประวัติศาสตร์ผู้เรียนรู้ด้วยพระองค์เอง และเป็นปัญญาชนชาวไทยที่ทรงอิทธิพลที่สุดพระองค์หนึ่ง[13]
นอกจากนี้ ยังทรงพระปรีชาสามารถในด้านการศึกษา การปกครอง การต่างประเทศ การสาธารณสุข หลักรัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรม ทรงได้รับพระสมัญญานามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทย" และ "พระบิดาแห่งมัคคุเทศก์ไทย" ทรงเป็นองค์ผู้อำนวยการก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ที่ประชุมใหญ่ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศถวายสดุดีให้พระองค์ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย[14] และวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็นวันดำรงราชานุภาพ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการถวายความรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และบุคคลสำคัญของโลกคนแรกของประเทศไทย[15]
พระประวัติ
[แก้]ประสูติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (อ่านว่า ดิด-สะ-วอ-ระ-กุ-มาร) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์เดียวที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ท.จ.ว. ณ พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 ชาววังออกพระนามโดยลำลองว่า "พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร หรือ เสด็จพระองค์ดิศ" พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบิดาในวันสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีรายละเอียดว่า[16]
"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไปเทอญ"
โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเอานามของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมาตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง[17]
ทรงศึกษา
[แก้]พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์
- พ.ศ. 2418 ขณะพระชันษา 13 ปี ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2420 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง ขณะพระชันษา 15 ปี
รับราชการ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเชษฐา ถึงขนาดตรัสชมว่า ทรงเป็นเสมือน "เพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ"
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนคำนำพระนามเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ[18] และในวันต่อมาพระองค์ท่านได้เข้าถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[19] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ได้สนองพระเดชพระคุณตลอดมา ตราบจนทรงพระชราภาพ ไม่สามารถทำราชการหนักในตำแหน่งต่อไปอีก จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นเสนาบดีที่ปรึกษา[20][21]
สิ้นพระชนม์
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เริ่มประชวรด้วยโรคพระหทัยพิการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 พระอาการทรงและทรุดเรื่อยมา แต่ก็ไม่มีพระอาการประชวรหนักถึงลงบรรทม แต่ทรงเหนื่อยเพลียและพระบาทบวมบ่อยขึ้น กระทั่งวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ทรงรู้สึกเหนื่อยมากหลังจากทรงพระนิพนธ์คำนำและคำอธิบาย (ยังไม่จบ) หนังสือเรื่องเจ้านายพระชันษายืน เพื่อจะประทานให้แจกในงานฉลองพระชันษาครบ 60 ปี ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ในวันที่ 5 ธันวาคมที่จะถึงนั้น แพทย์มาตรวจพระอาการเห็นว่าทรงอ่อนเพลีย ถวายยาฉีดแล้วทรงสบายขึ้น วันที่ 28 พฤศจิกายน มีพระอาการบรรทมไม่ค่อยหลับสนิท วันที่ 29 พฤศจิกายน ทรงพระอาเจียนในเวลาเสวยกลางวันครั้งเดียว แล้วทรงพักตามเคย วันที่ 30 พฤศจิกายน บรรทมตอนกลางวัน ตื่นบรรทมตอนบ่าย ตรัสสั่งให้ไปนิมนต์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร)มาสนทนาธรรม เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์กลับแล้ว ตรัสว่าคุยกับพระสบาย เป็นสุข เสวยเย็นอยู่ที่เฉลียงตามเคย ถึงเวลาย่ำค่ำตรัสว่าวันนี้สบายจะนอนแต่หัวค่ำ แล้วก็เข้าบรรทม จนเวลา 01.00 น. ของวันที่ 1 ธันวาคม บรรทมไม่หลับจนสว่าง แล้วทรงอ่อนเพลียลง หายพระทัยแรง หอบเป็นพัก ๆ เวลา 06.00 น. ประทับบนพระที่ ตรัสว่า "ร่างกายมันลงทุกที" และตรัสต่อไปอีกว่า "ไม่ใช่แต่ที่นี่เท่านั้น ทุกแฟมิลี่, ทุกบ้าน, ทุกเมือง ต้องเป็นอย่างนี้" แพทย์มาถึงแล้วยังตรัสบอกแพทย์ว่า "I passed a very bad night" แพทย์ถวายยาฉีดแล้วตรัสเรียกนมและกาแฟเสวยอย่างเคย แต่ไม่หมดถ้วย แล้วบรรทมหลับไปนานจนถึงเวลา 13.30 น. ตรัสเรียกนมกับกาแฟที่เสวยค้างไว้ เสวยได้ 2 ช้อน กำลังจะถวายช้อนที่ 3 ก็ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นบิดนิดหนึ่ง แล้วหลับพระเนตรสนิทพร้อมกับวางพระหัตถ์ลงเป็นปกติ ในเวลา 13.40 น. พระศพยังมีสีพระโลหิตและอุ่นอยู่ช้านาน แพทย์บอกว่าสิ้นพระชนม์ด้วยพระหทัยหยุดทำงานเท่านั้น[22]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ที่วังวรดิศ ถนนหลานหลวง จังหวัดพระนคร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สิริพระชันษา 81 ปี[20][21]
อนึ่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระโอรสพระองค์ใหญ่ คือ หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล นายทหารม้าราชองครักษ์และองคมนตรีในรัชกาลที่ 7, พระนัดดาคนใหญ่ คือ หม่อมราชวงศ์สังขดิศ ดิศกุล อดีตเอกอัครราชทูต ณ ประเทศมาเลเซีย ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนครรัฐวาติกัน, พระปนัดดาคนใหญ่ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสืบตระกูล (ต.อ.จ.) และดำรงรักษาวังวรดิศ คือ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และจังหวัดเชียงใหม่ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล มีบุตรชายสืบตระกูลคนเดียว คือ วรดิศ ดิศกุล ณ อยุธยา ปัจจุบันศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาการจัดการนวัตกรรม
พระกรณียกิจ
[แก้]- พ.ศ. 2422 ได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายร้อยโท ผู้บังคับการทหารม้า ในกรมทหารมหาดเล็กและในปีเดียวกันนี้ได้รับพระราชทานพระยศเป็น นายร้อยเอก ราชองค์รักษ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะพระชันษา 17 ปี
- พ.ศ. 2423 ได้รับพระราชทานเลื่อนพระยศเป็นนายพันตรี ผู้สนองพระบรมราชโองการ ว่าการกรมทหารมหาดเล็ก
- พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปสังกัดกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า "กรมกองแก้วจินดา" ทรงจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
- พ.ศ. 2425 ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2428 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายพันโท[23]
- พ.ศ. 2430 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2430 เป็นองคมนตรี[24][25]
- พ.ศ. 2431 ได้รับพระราชทานพระยศนายพลตรี[26]
- 5 เมษายน พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากงานฝ่ายทหารไปปฏิบัติงานทางพลเรือน ทรงเป็นผู้กำกับการ กรมธรรมการ[27]
- พ.ศ. 2433 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ[28]
- พ.ศ. 2435 - 2458 โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2437 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสภา[29]
- 29 สิงหาคม พ.ศ. 2444 ได้รับพระราชทานพระยศนายพลโท[30]
- พ.ศ. 2448 ตั้งการสุขาภิบาลหัวเมือง
- พ.ศ. 2458 ดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร
- พ.ศ. 2466 ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอก
- พ.ศ. 2468 ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2469 ดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ต้นราชสกุลดิศกุล มีหม่อม 11 คน ได้แก่
- หม่อมเฉื่อย (สกุลเดิม ยมาภัย)
- หม่อมนวม (สกุลเดิม โรจนดิศ)
- หม่อมลำดวน (สกุลเดิม วสันตสิงห์) ธิดาหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (สิงโต วสันตสิงห์)
- หม่อมแสง (สกุลเดิม ศตะรัตน์) ธิดาพระดำรงราชานุภาพ
- หม่อมเจิม (สกุลเดิม สนธิรัตน์) ธิดาพระยาอุไทยมนตรี (ทิม สนธิรัตน์)
- หม่อมอบ (สกุลเดิม สุขไพบูลย์)
- หม่อมหลวงใหญ่ (เดิม หม่อมหลวงลำดวน อิศรเสนา) ธิดาหม่อมเทวาธิราช (หม่อมราชวงศ์แดง อิศรเสนา)
- หม่อมหยาด (สกุลเดิม กลัมพากร) ธิดาพระจำนงค์อักษร (เปลี่ยน กลัมพากร)
- หม่อมเป๋า
- หม่อมเยื้อน
- หม่อมเพิ่ม (สกุลเดิม สุขไพบูลย์)
โดยมีพระโอรสและพระธิดารวมทั้งหมด 37 องค์ เป็นชาย 14 องค์ เป็นหญิง 23 องค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. พันโท หม่อมเจ้าจุลดิศ (ท่านชายใหญ่) ท.จ. (องคมนตรี) | ที่ 1 ในหม่อมเฉื่อย | 27 ธันวาคม พ.ศ. 2424 | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 | หม่อมแช่ม (เปาโรหิตย์) | |
2. หม่อมเจ้าอิทธิดำรง (ท่านชายกลาง) | ที่ 2 ในหม่อมเฉื่อย | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 | 12 เมษายน พ.ศ. 2436 | ||
3. หม่อมเจ้าหญิงจงจิตรถนอม (ท่านหญิงใหญ่) | ที่ 1 ในหม่อมนวม | 3 สิงหาคม พ.ศ. 2429 | 23 กันยายน พ.ศ. 2521 | ||
4. หม่อมเจ้าหญิงพร้อมเพราพรรณ (ท่านหญิงกลาง) | ที่ 2 ในหม่อมนวม | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2431 | 4 กันยายน พ.ศ. 2467 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร | |
5. อำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าทรงวุฒิภาพ (ท่านชายเล็ก) | ที่ 3 ในหม่อมเฉื่อย | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 | หม่อมราชวงศ์หญิงสอิ้ง (สนิทวงศ์) หม่อมราชวงศ์หญิงสุทธิสอาด (สนิทวงศ์) | |
6. หม่อมเจ้าหญิง (แฝด) | ที่ 4 ในหม่อมเฉื่อย | ไม่ทราบปี | ราว 3 ชั่วโมงหลังประสูติ[31] | ||
7. หม่อมเจ้าหญิง (แฝด) | ที่ 5 ในหม่อมเฉื่อย | ไม่ทราบปี | ราว 3 ชั่วโมงหลังประสูติ | ||
8. หม่อมเจ้ารัชลาภจิรธิษฐ (ท่านชายอี๊ด) | ที่ 6 ในหม่อมเฉื่อย | มิถุนายน พ.ศ. 2436 | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2443 | ||
9. หม่อมเจ้าหญิงสรรพสมบูรณ์ (ท่านหญิงกลัด) | ที่ 3 ในหม่อมนวม | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2436 | 15 มกราคม พ.ศ. 2463 | ||
10. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 | ในวันประสูติ | |||
11. หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย (ท่านหญิงพูน) | ที่ 7 ในหม่อมเฉื่อย | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | ||
12. หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา (ท่านหญิงพิไลย) | ที่ 8 ในหม่อมเฉื่อย | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2440 | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2528 | ||
13. หม่อมเจ้าหญิง (แฝด) | ที่ 1 ในหม่อมลำดวน | 8 มกราคม พ.ศ. 2440 | 22 เมษายน พ.ศ. 2455 | ||
ไฟล์:หม่อมเจ้าพัฒนายุ.JPG | 14. หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ หรือ หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุคุณวรรณ (แฝด) (ท่านหญิงเหลือ) |
ที่ 2 ในหม่อมลำดวน | 8 มกราคม พ.ศ. 2440 | 3 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | |
15. หม่อมเจ้าหญิงบันลุศิริศานต์ (ท่านหญิงเภา) | ที่ 1 ในหม่อมเจิม | กันยายน พ.ศ. 2441 | 22 เมษายน พ.ศ. 2455 | ||
16. หม่อมเจ้าหญิงบันดาลสวัสดี (ท่านหญิงน้อย) | ที่ 9 ในหม่อมเฉื่อย | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 | หม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล | |
17. หม่อมเจ้าหญิงสิวลีวิลาศ (ท่านหญิงแดง) | ที่ 3 ในหม่อมลำดวน | 11 มกราคม พ.ศ. 2443 | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 | ||
18. หม่อมเจ้าหญิงมารยาตรกัญญา (ท่านหญิงแย้ม) | ที่ 1 ในหม่อมแสง | 8 เมษายน พ.ศ. 2445 | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2549 | ||
19. หม่อมเจ้าดิศศานุวัติ (ท่านชายน้อย) | ที่ 10 ในหม่อมเฉื่อย | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2445 | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 | หม่อมเจ้าหญิงลุอิสาณ์ (จักรพันธุ์) | |
20. หม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา (ท่านหญิงแก้ว) | ที่ 2 ในหม่อมเจิม | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2447 | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 | หม่อมเจ้าอนันตนรชัย เทวกุล | |
21. หม่อมเจ้าหญิงทักษิณาธร (ท่านหญิงโหล) | ที่ 4 ในหม่อมลำดวน | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2446 | 17 เมษายน พ.ศ. 2515 | ||
22. หม่อมเจ้าหญิงพรพิลาศ (ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงพร) |
ที่ 2 ในหม่อมแสง | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2447 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2519 | ชวน บุนนาค | |
ไฟล์:หม่อมเจ้านิพัทธ์พันธุดิศ.JPG | 23. หม่อมเจ้านิพัทธ์พันธุ์ดิศ (ท่านชายนิพัทธ์หรือท่านชายเจ็ด) | ที่ 3 ในหม่อมเจิม | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2448 | 4 เมษายน พ.ศ. 2514 | หม่อมรำไพ (กันตามระ) |
24. หม่อมเจ้าพิสิษฐ์ดิศพงศ์ (ท่านชายแอ๊ว) | ที่ 5 ในหม่อมลำดวน | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 | 31 มีนาคม พ.ศ. 2509 | หม่อมสวาสดิ์ (เกตุทัต) | |
25. หม่อมเจ้าหญิงพวงมาศผกา | ที่ 3 ในหม่อมแสง | 3 กันยายน พ.ศ. 2450 | 12 มิถุนายน พ.ศ. 2526 | ||
26. หม่อมเจ้าหญิงรัชมาลินี (ท่านหญิงนิด) | ที่ 4 ในหม่อมเจิม | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2451 | 30 มกราคม พ.ศ. 2528 | หม่อมเจ้าธัญญลักษณ์ ศุขสวัสดิ์ | |
27. หม่อมเจ้าหญิงสุมณีนงเยาว์ (ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงโสฬส) |
ที่ 6 ในหม่อมลำดวน | 16 มีนาคม พ.ศ. 2451 | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | พันเอกสุวัฒน์ วินิจฉัยกุล | |
28. หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ (ท่านชายขาว) | ที่ 4 ในหม่อมแสง | 14 มกราคม พ.ศ. 2452 | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 | หม่อมลดา (อินทรกำแหง) | |
29. หม่อมเจ้ากาฬวรรณดิศ ดิศกุล (ท่านชายดำ) | หม่อมอบ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2453 | 25 มกราคม พ.ศ. 2527 | หม่อมฉวีทิพย์ (หงสนันท์) | |
30. หม่อมเจ้าวีรดิศ
(ท่านชายหนู) |
ที่ 1 ในหม่อมหลวงใหญ่ | 23 มีนาคม พ.ศ. 2454 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2489 | ||
31. หม่อมเจ้าหญิงเราหิณาวดี (ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงเป้า) |
ที่ 5 ในหม่อมแสง | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 | 1 มีนาคม พ.ศ. 2527 | หม่อมหลวงฉายชื่น กำภู | |
32. หม่อมเจ้าอาชวดิศ (ท่านชายใหม่) | ที่ 5 ในหม่อมเจิม | 23 มีนาคม พ.ศ. 2456 | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2518 | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงศิริรัตนบุษบง | |
33. หม่อมเจ้าหญิงกุมารีเฉลิมลักษณ์ | ที่ 6 ในหม่อมเจิม | 3 มกราคม พ.ศ. 2458 | 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 | หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ | |
34. หม่อมเจ้าหญิงกฤษณาพักตรพิมล
(ท่านหญิงเพียน) |
ที่ 6 ในหม่อมแสง | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2460 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | หม่อมเจ้าประสพสุข ศุขสวัสดิ์ | |
35. หม่อมเจ้าพิริยดิศ (ท่านชายนิด) | ที่ 2 ในหม่อมหลวงใหญ่ | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2543 | หม่อมเจ้าหญิงภัทรลดา (ฉัตรชัย) | |
36. หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ (ท่านชายปาน) | ที่ 7 ในหม่อมเจิม | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | หม่อมอรพินทร์ (อินทรทูต) | |
37. หม่อมเจ้ากุมารดิศ (ท่านชายหยด) | หม่อมหยาด | 15 เมษายน พ.ศ. 2471 | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2532 | หม่อมอุบลวรรณ (เก่งธัญการ) |
พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- พ.ศ. 2405 พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
- พ.ศ. 2411 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร
- พ.ศ. 2429 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000)[32]
- เจ้ากรม-หมื่นดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600)
- ปลัดกรม-หมื่นปราบบรพล (ศักดินา 400)
- สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)
- พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (ทรงศักดินา 15000)[33]
- เจ้ากรม-หลวงดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 600)
- ปลัดกรม-ขุนปราบบรพล (ศักดินา 400)
- สมุห์บาญชี-หมื่นสกลคณารักษ์ (ศักดินา 300)
- พ.ศ. 2454 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร์ สยามพิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุสร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาพิเศษ นรินทราธิเบศบรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร (ทรงศักดินา 15000)[34]
- เจ้ากรม-พระดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 800)
- ปลัดกรม-หลวงปราบบรพล (ศักดินา 600)
- สมุห์บาญชี-ขุนสกลคณารักษ์ (ศักดินา 400)
- พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชนรานุศิษย์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัธปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร (ทรงศักดินา 35000)[35]
- เจ้ากรม-พระยาดำรงราชานุภาพ (ศักดินา 1000)
- ปลัดกรม-พระปราบบรพล (ศักดินา 800)
- สมุห์บาญชี-หลวงสกลคณารักษ์ (ศักดินา 500)
พระยศ
[แก้]พลเอก นายกองเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พลเอก นายกองเอก |
พระยศทหาร
[แก้]พระยศพลเรือน
[แก้]พระยศเสือป่า
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ[44] ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2429 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[45]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[46]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[47] (สังวาลจุลจอมเกล้าทองคำลงยาราชาวดี)[48]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[49]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[50]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[51]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[52]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[53]
- พ.ศ. 2433 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[54]
- พ.ศ. 2441 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[55]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[56]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[57]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)[58]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[59]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[60]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[61]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[62]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[63]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- รัสเซีย :
- ปรัสเซีย :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นกอินทรีแดง ชั้นที่ 1[64]
- จักรวรรดิออตโตมัน :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอสมาเนห์ ชั้นที่ 1[64]
- อิตาลี :
- กรีซ :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญผู้ไถ่บาป ชั้นที่ 1[64]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[64]
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา[66]
- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2435 – เครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์ม อาคาเดมิค ชั้นที่ 2[67]
- พ.ศ. 2450 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[68]
- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นสูงสุดประดับดอกคิริ[69]
- เบราน์ชไวค์ :
- พ.ศ. 2452 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 1[70]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วาซา ชั้นที่ 1[71]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[72]
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ ชั้นที่ 1[73]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2473 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นที่ 1[66]
พระราชานุสรณ์
[แก้]พระราชานุสาวรีย์
[แก้]กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในลักษณะประทับนั่ง บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิตร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วันดำรงราชานุภาพ
[แก้]วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สืบเนื่องจากการที่พระองค์เป็นบุคคลไทยพระองค์แรกที่ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 และทรงได้รับการถวายพระนามเป็น "พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย"
สถานที่เนื่องด้วยพระนาม
[แก้]- สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
- อาคารดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย
- อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย
- หอสมุดดำรงราชานุภาพ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
- อาคารดำรงราชานุภาพ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย
- ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- โรงเรียนอนุบาลดำรงราชานุสรณ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- ถนนดำรงสถิต อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- ห้องกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
พระนิพนธ์
[แก้]ผลงานนิพนธ์ทั้งหมดของพระองค์มีงานเขียนเป็นจำนวนมาก เช่น หนังสือเรื่องความทรงจำ ไทยรบพม่า เป็นต้น สามารถแบ่งผลงานได้เป็น
- พงศาวดาร 134 เรื่อง
- โคลงกลอน 92 เรื่อง
- ศาสนา 79 เรื่อง
- อธิบายแทรก 19 เรื่อง
- ประวัติ 160 เรื่อง
- ตำนาน 130 เรื่อง
- นิตยสารสยามสมาคม 10 เรื่อง
- ข้อวินิจฉัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
พงศาวลี
[แก้]พงศาวดีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ[74] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ประกาศตั้งตำแหน่งเสนาบดี (หน้า 27)
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีที่ปรึกษา และผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ก): 143. 8 สิงหาคม 2458. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (0 ก): 41. 1 กรกฎาคม 2466. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศ เรื่อง เลิกกระทรวงมุรธาธร
- ↑ "พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ง): 2618. 28 พฤศจิกายน 2468. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลิกอภิรัฐมนตรีสภา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ก): 2618. 17 กรกฎาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2019.
- ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ แต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
- ↑ "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 137. 18 เมษายน 2458. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2019.
- ↑ Thongchai Winichakul, "The Quest for 'Siwilai': A Geographical Discourse of Civilizational Thinking in the Late Nineteenth and Early Twentieth-Century Siam," The Journal of Asian Studies 59, no. 3 (2000): 536.
- ↑ UNESCO ยกย่อง "กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] เก็บถาวร 2019-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2560. สืบค้น 8 มีนาคม 2562.
- ↑ 2544. ขอให้กำหนดวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดำรงราชานุภาพ" สืบค้น 8 มีนาคม 2562.
- ↑ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, คาถาพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระนามพระราชโอรสธิดา, โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2472
- ↑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, หน้า 2-3
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 1 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2274
- ↑ 20.0 20.1 "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ : สนเทศน่ารู้". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 29 มีนาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 21.0 21.1 H.R.H. Prince Damrong Rajanupab[ลิงก์เสีย]
- ↑ พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ., 2438-2533. พระประวัติสมเด็ดพระเจ้าบรมวงส์เทอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พ.ส. 2405-2486. [ม.ป.ท.]:บริษัทโสภณพิพัธนากร, 2487. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:310449.
- ↑ ได้รับพระราชทานพระยศเป็นนายพันโท
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ ตั้งผู้กำกับการกรมธรรมการ
- ↑ ตำแหน่งพนักงาน
- ↑ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสภา
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ หนังสือ สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น หน้า 249-250 โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงค์ราชานุภาพ, เล่ม 3, ตอน 9, 22 มิถุนายน พ.ศ. 1886, หน้า 69
- ↑ ทรงศักดินา 15000
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา เก็บถาวร 2011-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454, หน้า 1735-1737
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 46, 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472, หน้า 174-180
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก เล่ม 40 หน้า 1269 วันที่ 22 กรกฎาคม 2466
- ↑ ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการในกระทรวงวัง เล่ม 29 หน้า 1405 วันที่ 22 กันยายน 2455
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานยศนายกองตรี
- ↑ พระราชทานยศนายกองโท
- ↑ พระราชทานยศนายกองเอก
- ↑ "พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-24.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งกรม, เล่ม ๓ ตอนที่ ๙ หน้า ๖๙, ๒๑ มิถุนายน ๑๒๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และ ฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๒, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๙, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๑๖๖, ๓ กันยายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๒, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๒๐, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตราวชิรมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๘, ๔ มิถุนายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๐๔, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๓๙๒, ๒๕ มกราคม ๑๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มราชการในพระองค์, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๔๖๘, ๒๙ มกราคม ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๔๕๖, ๗ มกราคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๒๕๖๗, ๑๔ กรกฎาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ 64.0 64.1 64.2 64.3 64.4 64.5 64.6 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๒ หน้า ๑๒, ๑๐ เมษายน ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๒๘, ๘ ธันวาคม ๑๑๔
- ↑ 66.0 66.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๑, ๒ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๑๔ หน้า ๘๖, ๓ กรกฎาคม ๑๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๘๑๖, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๖, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๔, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๔๕๕, ๒๙ กันยายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๘๘, ๖ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๗๖, ๕ กันยายน ๒๔๖๙
- ↑ "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2015-07-18.
- ↑ ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113
- บรรณานุกรม
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. จดหมายถึงหญิงใหญ่ (ฉบับชำระใหม่). กรุงเทพ : สถาพรบุ๊คส์, 2551. ISBN 978-974-16-6535-8
- สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ความทรงจำ, สำนักพิมพ์สมาคมสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, 12 พฤศจิกายน 2505
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 70-71. ISBN 978-974-417-594-6
ดูเพิ่ม
[แก้]ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป | กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี (28 มกราคม พ.ศ. 2479 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) |
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า | ||
พระองค์แรก | เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก (8 เมษายน พ.ศ. 2430 - เมษายน พ.ศ. 2433) |
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) | ||
พระองค์แรก | เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (1 เมษายน พ.ศ. 2435 - สิงหาคม พ.ศ. 2458) |
เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) | ||
พระองค์แรก | นายกราชบัณฑิตยสภา (19 เมษายน พ.ศ. 2469 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) |
พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่พฤศจิกายน 2024
- ชาวไทยที่ได้รับการฉลองวาระครบรอบโดยยูเนสโก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2405
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2486
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระยา
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ราชสกุลดิศกุล
- สกุลโรจนดิศ
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- อภิรัฐมนตรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- นายกราชบัณฑิตยสภาไทย
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- นักประวัติศาสตร์ชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- นายพลชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ว.ม.ล.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(พ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- ผู้ได้รับเหรียญศารทูลมาลา
- ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
- สมาชิกกองเสือป่า
- พระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 1
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- นักประวัติศาสตร์ประเทศไทย
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 5