สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นเอก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย | |
ประสูติ | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 พระจุฑาธุชราชฐาน อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี |
สิ้นพระชนม์ | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 (31 ปี) พระราชวังปทุมวัน อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร |
พระราชทานเพลิง | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2466 พระเมรุ ท้องสนามหลวง |
ภรรยา | ชายา หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช หม่อม
|
พระบุตร | |
ราชสกุล | จุฑาธุช |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ศาสตราจารย์ จางวางตรี นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 มีพระนามลำลองว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเสด็จกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์โปรดงานทางด้านศิลปะ ดนตรี และการละคร โดยทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ พระองค์สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชันษา 31 ปี
พระประวัติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย พระราชโอรสองค์ที่ 90 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 8 ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง จัตวาศก จ.ศ. 1254 ตรงกับวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 ณ พระตำหนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเขตพระราชฐานว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนาม "สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก" ซึ่งประสูติ ณ ที่แห่งนั้น [1] เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร" พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี, พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
- จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
- พลเรือเอก สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันที่ 18 มกราคม ร.ศ. 123 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2448) ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทร จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายณุตตมศักดิ์ วิบูลยลักษณวิลาศ มหามกุฎราชพงษานุพัทธ์ วิวรรฒผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย[2]
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชยทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธและเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาใน Magdalene College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] ทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2461 และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อ พ.ศ. 2461
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย มีพระทัยใฝ่งานศิลปะ โปรดการทรงแกรนด์เปียโน ฮาร์พ และไวโอลิน โปรดศิลปะการละคร ได้ทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินบริเวณพระราชวังปทุมวันเดิมแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ทรงสร้างวังเพ็ชรบูรณ์เป็นที่ประทับ ซึ่งหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว วังเพ็ชรบูรณ์ก็ปล่อยร้างและไม่มีคนดูแล แม้แต่พระญาติของพระองค์ จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรในปี 2475 คณะราษฎรเห็นว่าวังแห่งนี้ร้างไม่มีคนดูแลแต่ยังทรงคุณค่าอยู่ จึงได้โอนกรรมสิทธิ์วังแห่งนี้มาดูแลต่อ โดยให้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525 บริษัท วังเพ็ชรบูรณ์ จำกัด โดยอุเทน เตชะไพบูลย์ ได้เช่าที่ดินสร้างเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลได้เข้ามาปรับปรุงใหม่เป็นเซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนพระตำหนักเดิมถูกย้ายมาอยู่ที่ซอยอัคนี (ซอยงามวงศ์วาน ๒) ชื่อว่า ตำหนักประถม อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี [1]
สิ้นพระชนม์
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย มีพระวรกายไม่แข็งแรง ประชวรพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการเรื้อรัง ประกอบกับเกิดเป็นพระโรคบิดและพระหทัยอ่อนล้า แพทย์ได้ถวายพระโอสถประคับประคองอย่างเต็มที่ พระอาการทรงบ้างทรุดบ้างและพระอาการอ่อนเพลียลงตามลำดับ สิ้นพระชนม์ ณ วังปทุมวัน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชนมายุได้ 31 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพมาประดิษฐานบนแว่นฟ้า ๓ ชั้น ประกอบพระโกศทองน้อย ณ ตำหนักปารุสกวัน[4]และมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[5]
ครอบครัว
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เป็นต้นราชสกุล "จุฑาธุช" อภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2465 ซึ่งก่อนจะอภิเษกสมรสพระองค์ทรงมีหม่อมอยู่ก่อนแล้วสองท่านคือหม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริสัมพันธ์) ธิดาพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ กับระวี จาตุรจินดา (สกุลเดิม ไกยานนท์) นางละครจากคณะละครวังสวนกุหลาบ[6]
ส่วนพระโอรสและพระธิดามีอย่างละพระองค์ ประสูติแต่หม่อมทั้งสองท่านหาได้ประสูติแต่หม่อมเจ้าบุญจิราธร ผู้เป็นชายาเลย พระบุตรทั้งสองพระองค์จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้า เมื่อแรกประสูติ แต่ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2470 ทั้งนี้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา ประสูติแต่หม่อมลออ ส่วนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ประสูติแต่หม่อมระวี[7]
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร มีธิดาสองคนคือ หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร และหม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 15 กันยายน พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับแพเมลา สมี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ และศรีไศล สุชาตวุฒิ มีบุตรและธิดาจากการสมรสครั้งแรกคือ หม่อมราชวงศ์ดิลก จุฑาธุช และหม่อมราชวงศ์ดารา จุฑาธุช
ด้วยความที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช มีหม่อมมารดาเป็นนางละครมาก่อนจึงทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชจากการสืบราชบัลลังก์ ด้วยทรงมองว่ามีมารดาเป็นสตรีที่ไร้สกุลรุนชาติ ดังปรากฏในพระบรมราชโองการตอนหนึ่ง ความว่า "…ให้ข้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชยนั้นเสียเถิด เพราะหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีแม่ที่ไม่มีชาติสกุล เกรงว่าจะไม่เป็นที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์…"[8] ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชผู้เป็นทายาทในสายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมิได้สืบราชสมบัติ เช่นเดียวกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ที่มีหม่อมมารดาเป็นนางต่างด้าว[9]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 – 18 มกราคม พ.ศ. 2448)
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย[2] (18 มกราคม พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466)
- สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
พระยศในราชสำนัก
[แก้]- 31 ธันวาคม พ.ศ. 2461: หัวหมื่น[10]
ตำแหน่ง
[แก้]- 2 มิถุนายน พ.ศ. 2462: ที่ปรึกษาโรงเรียนเพาะช่าง[11]
- 15 มกราคม พ.ศ. 2464: กรรมการพิเศษโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[4]
- พ.ศ. 2448 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[15]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2464 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[18]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[19]
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระประวัติเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-08. สืบค้นเมื่อ 2007-02-24.
- ↑ 2.0 2.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (44): 801–802. 29 มกราคม ร.ศ. 123. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เสด็จเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ง, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๔๘๐
- ↑ 4.0 4.1 "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง). 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ การพระเมรุท้องสนามหลวง (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 4000–4011. 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
- ↑ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย". พิพิธภัณฑ์จุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ สุพจน์ ด่านตระกูล. "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต". ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-16. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สุพจน์ ด่านตระกูล. "ปรีดี พนมยงค์ กับสถาบันกษัตริย์และกรณีสวรรคต". สถาบันปรีดี พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ ประกาศกระทรวงธรรมการ
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ "พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ และพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 21 (ตอน 44): หน้า 799. 29 มกราคม ร.ศ. 123. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 48. 9 เมษายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 35 (ตอน 0 ง): หน้า 2926. 26 มกราคม พ.ศ. 2461. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 39 (ตอน 0 ง): หน้า 2772. 7 มกราคม พ.ศ. 2465. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37 (ตอน 0 ง): หน้า 3710. 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 50. 9 เมษายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 3094. 19 มีนาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2435
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2466
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- เจ้าฟ้าชาย
- กรมขุน
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลจุฑาธุช
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- บุคคลจากอำเภอเกาะสีชัง
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เสียชีวิตจากโรคไต
- เสียชีวิตจากโรคบิด
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์